Creativity เอาชนะ “อัลกอริทึม” ของโซเชียลมีเดียได้

สมาร์ทโฟน

ไวซ์ไซท์ เผย แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอัลกอริทึมตลอดเวลาเพื่อดึงผู้ใช้ ส่งผลต่อแบรนด์และครีเอเตอร์ ไม่มีทางรู้สูตรสำเร็จ แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ล้วนต้องการ Creativity ซึ่งสามารถชนะอัลกอริทึ่มได้

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นายกล้า ตั้งสุวรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ได้ประกาศความพร้อมจัดงาน “Thailand Social Awards” ครั้งที่ 11 มอบรางวัลเพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ รวมถึงได้มีการพูดถึง “ทิศทางการใช้งานโซเชียลมีเดีย”

นายกล้า กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่มีการจัดงาน Thailand Social Awards มักจะเกิดควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะการมาถึงของโซเชียลมีเดียรูปแบบใหม่ๆ ตั้งแต่อินสตาแกรม ทวิติเตอร์ จนถึงติ๊กตอก ในปัจจุบัน ที่มักเปลี่ยนพฤติกรรมและดึงดูดผู้ใช้งานเสมอ

การปรับ “อัลกอริทึม” หรือกระบวนการที่แพลตฟอร์มใช้ดึงดูดผู้คนไว้กับแพลตฟอร์มจึงเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยการมาถึงของแพลตฟอร์มใหม่ๆ หรือการปรับอัลกอริทึมเพื่อเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินในเชิงการตลาด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลถึงแบรนด์และเหล่าครีเอเตอร์ที่ต้องปรับตัวตามอย่างหนักเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม

“แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่าทั้งแบรนด์และครีเอเตอร์คือผู้ที่สื่อสารกับมนุษย์ที่มีชีวิต อัลกอริทึ่มมันไม่ได้มีชีวิต การที่แพลตฟอร์มปรับอัลกอริทึ่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดมันจึงเป็น “กล่องดำ” ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะทำอย่างถึงจะชนะอัลกอริทึ่ม ดังนั้นผมมองว่า Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งที่ทำให้เราทั้งแบรนด์และครีเอเตอร์สามารถเอาชนะอัลกอริทึ่มได้

เพราะถึงอย่างไรทุกแพลตฟอร์มก็ต้องปรับอัลกอริทึ่มเพื่อแย่งเวลาการใช้งานบนแพลตฟอร์มเพื่อจะนำไปสู่การขายแพกเกจ อย่างเช่น TikTok ที่เคยปล่อยอัลกอริทึ่มให้ผู้ใช้ทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงเอนเกจเมนต์จำนวนมากตลอดปีที่ผ่านมา แต่เราไม่อาจบอกได้ว่าปีนี้เขาจะปล่อยอัลกอริทึมแบบเดิมไหม หรือการเข้าถึงโพสต์ของเหล่าครีเอเตอร์ต้องมีการจ่ายเงินหรืออะไรหรือไม่ แพลตฟอร์มอื่นก็เช่นกัน ดังนั้นการโฟกัสกับความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ดี”

นอกจากนี้ นายกล้า ยังได้กล่าวถึง “Thailand Social Awards” ครั้งที่ 11 ด้วยว่างานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ รวมถึง ยกระดับและให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

และด้วยการเปลี่ยนแปลงของโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้น ทำให้รูปแบบการจัดงาน การคำนวนและเกณฑ์การให้รางวัลมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษร “Z” ในชื่องานเป็นตัวอักษร “S” เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวของงานประกาศรางวัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนโลโก้งานประกาศรางวัล โดยตัวอักษร “S” ถูกออกแบบให้แยกออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามชิ้นโดยแต่ละชิ้นมีทั้งเหลี่ยมมุม และความโค้งมน เรียงต่อกันในแนวตั้งให้สามารถมองเห็น และตีความได้ในหลากหลายมิติ เพื่อสื่อความหมายว่าบนโลกโซเชียลนั้นแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

การปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวง โดยได้แบ่งการวัดผลในครั้งนี้ออกเป็น ​3 เกณฑ์ด้วยกัน คือ BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์, CONTENT METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการ และ CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

BRAND METRIC

ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้

-Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Brand Reply, Views on YouTube, และ Social Voice

-Analytical Factors ประกอบด้วยสัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์, Sentiment, ค่าการ Tag Friend และ Intention to Buy บน Facebook

CONTENT METRIC

ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, ​รายการโทรทัศน์ โดยพิจารณาจากกระแสการพูดถึงของคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จึงจะทำการวัดผลการคนพูดถึงรายการนั้น ๆ ผ่าน Earn Channel บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้

-Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Views on YouTube , TikTok และ Social Voice

-Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์ และ Sentiment

CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์ โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel) บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้

-Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Views on YouTube, TikTok และ Social Voice

-Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์ และ Sentiment