ทรู ยืนยันผลคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไม่กระทบการควบรวมทรู ดีแทค เพียงส่งกลับให้ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัย ศาลปกครองชั้นต้นเคยมีคำสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว
วันที่ 31 ตุลาคม 2566 รายงานข่าวจาก บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ทรูได้ยืนยันว่าผลจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่กลับคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นให้ศาลปกครองเพิกถอนมติ “รับทราบ” การควบรวมกิจการระหว่างทรู-ดีแทค ของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้น
ทรูได้ชี้แจงว่า บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องครบถ้วน โดยคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นเพียงการเริ่มต้นกระบวนการจากการที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณา
อันเนื่องมาจากที่ผ่านมา ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะขาดอายุความ มูลนิธิจึงอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด ซึ่งต่อมา วานนี้ (30 ต.ค. 2566) ศาลปกครองสูงสุดยืนว่า มูลนิธิยื่นคำฟ้องขาดอายุความจริง แต่มีเหตุที่ศาลปกครองรับไว้พิจารณาได้ โดยศาลปกครองชั้นต้นจะต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเนื้อหาคดีโดยละเอียดต่อไป
ทั้งนี้ ศาลปกครองชั้นต้นได้เคยมีคำสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีลักษณะเดียวกันที่สภาองค์กรของผู้บริโภคและ AWN (บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทลูกของ AIS) ได้ฟ้องขอเพิกถอนมติการควบรวมไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยศาลเห็นว่ามติรับทราบของ กสทช.ได้อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว จีงไม่มีเหตุรับฟังว่าน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“นอกจากนี้ เชื่อมั่นว่าการควบรวมเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ไม่เพียงแค่ประโยชน์ของผู้ใช้บริการของทั้ง 2 แบรนด์ แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อวงการโทรคมนาคมไทย ลูกค้าผู้ใช้บริการ คนไทย และประเทศไทย อีกทั้งการควบรวมที่เกิดขึ้นก็ได้ปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้องครบถ้วน” รายงานจาก ทรูระบุ
นอกจากนี้ ทรู ยังได้ส่งหนังสือชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ โดยระบุว่า
บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า (1) การฟ้องคดีดังกล่าวเป็นข้อพิพาทระหว่างมูลนิธิเพือผู้บริโภคกับ กสทช. และไม่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจใดๆ ของบริษัทฯ
(2) การควบรวมของบริษัท ทรูคอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) (เดิม) และ บริษัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จํากัด (มหาชน) (เดิม) ได้เสร็จสิ้น โดยสมบูรณ์แล้ว และเป็นไปตามขันตอนของกฎหมายทีเกียวข้องทังหมดและเหมือนกับกระบวนการควบรวมธุรกิจ ที่ผ่านมาของบริษัทมหาชนซึ่งประกอบธุรกิจโทรคมนาคม และ
(3) คดีที่มูลนิธิเพือผู้บริโภคได้ยื่นฟ้อง กสทช. ดังกล่าวเป็นคดีทีมีประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลปกครองชันต้นได้เคยมีคําสังยกคําขอคุ้มครองชั่วคราว
โดยศาลเห็นว่า มติรับทราบการควบรวมบริษัทของ กสทช. ได้อาศัยอํานาจตามที่กฎหมายกําหนดไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุรับฟังได้ว่ามติรับทราบการควบรวมธุรกิจของ กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) (เดิม) และ บริษัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จํากัด (มหาชน) (เดิม)ได้เคยเปิดเผยกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566