
“เจมาร์ท” เร่งเกมโตไม่หยุด ประกาศรุกลงทุนธุรกิจใหม่ “โลจิสติกส์-อินชัวร์เทค” ผสานความร่วมมือธุรกิจในเครือ ดึงศักยภาพพันธมิตรข้ามชาติ ต่อจิ๊กซอว์-สร้างอีโคซิสครบวงจร เติมแต้มต่อธุรกิจตั้งเป้าอัพรายได้เพิ่ม 50% สวนวิกฤตโควิด-19 พร้อมเปิด “เจมาร์ท โมบาย”เพิ่มรวดเดียว 85 แห่ง
นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่าในปี 2564 ทิศทางดำเนินธุรกิจของกลุ่มเจมาร์ทจะยังคงมุ่งไปที่การสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในเครือ
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- กรุงไทย-ออมสิน ระเบิดโปรฯ เงินฝาก “ดอกเบี้ยพิเศษ” เช็กเงื่อนไขที่นี่
โดยตั้งเป้าโตไว้ที่ 50% จากปี 2563 ที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 11,204 ล้านบาท จากการขยายธุรกิจของบริษัทในเครือ และการปรับโครงสร้างการบริหารที่จะเกิดขึ้นในต้นเดือน เม.ย. เพื่อสร้างธุรกิจใหม่
ภายหลังการปิดดีลร่วมทุนกับพันธมิตรระดับโลก ทั้งเคบี คุกมินการ์ด บริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิตจากเกาหลีใต้ และ TIS Inc จากญี่ปุ่น
โดยเตรียมขยายการลงทุนใน 2 ธุรกิจใหม่ ได้แก่
1.ธุรกิจโลจิสติกส์ โดยใช้หน้าร้านของบริษัทในกลุ่มเจมาร์ททั้งหมด เช่น เจมาร์ทโมบาย, ซิงเกอร์ และเจเอ็มที เป็นจุดรับส่งสินค้า และคาดว่าภายในสิ้นปีจะมีสาขารวมกัน 7,300 แห่ง
2.ธุรกิจนายหน้าประกันภัย (centralized insurance and finance broker) ที่ใช้จุดแข็งของเจมาร์ทที่มีฐานข้อมูลลูกค้าในระบบ 6.7 ล้านคน และธุรกิจประกันภัยในเครือ ได้แก่ บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ามาเสริมแกร่ง
พร้อมด้วยเทคโนโลยีจากบริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด และ TIS Inc. เพื่อผลักดันให้กลุ่มเจมาร์ทรุกเข้าสู่ตลาด InsurTech คาดว่าจะเริ่มได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ และเชื่อว่าจะทำให้อีโคซิสเต็มของบริษัทมีความสมบูรณ์มากขึ้น
“ธุรกิจด้านการเงิน เรามีเจเอ็มที และซิงเกอร์ บริษัทตัวชูโรงในแง่กำไร รวมถึงมีเจ แอสเส็ทที่จะกลับมารุกธุรกิจอสังหาฯ ส่วนเจมาร์ทโมบายมีปัจจัยบวกจาก 5G เชื่อว่าด้วยศักยภาพและความแข็งแกร่งที่มี
บริษัทจะสามารถสร้างการเติบโตในตลาดโลจิสติกส์ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ได้ แม้จะเข้ามาทีหลัง และมั่นใจมากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือ market cap ของบริษัทในเครือรวมกันจะสูงถึง 1.3 แสนล้านบาทสิ้นปีนี้ จากปีที่แล้วอยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านบาท”
นายอดิศักดิ์ย้ำว่า ทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเจมาร์ทมีความชัดเจน คือจะเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจรีเทลมากขึ้น ทั้งเจมาร์ท โมบาย, เจเอ็มที และซิงเกอร์ รวมไปถึงการขยับมายังธุรกิจโลจิสติกส์ และการเป็นโบรกเกอร์ประกันภัย
ธุรกิจเหล่านี้จะทำให้บริษัทมีข้อมูลและฐานลูกค้าเพิ่ม ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่ดีที่สุดในยุคนี้ เพราะธุรกิจที่มีข้อมูล รู้พฤติกรรมผู้บริโภค และสามารถตอบโจทย์ได้จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้
ด้านนายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด กล่าวว่า เจมาร์ทโมบายเดินหน้า 4 กลยุทธ์ได้แก่ 1. gadget destination เพิ่มสินค้าไอโอที แก็ดเจตต่าง ๆ 2. finacial destination เพิ่มบริการทางการเงิน
ทั้งซิงเกอร์, เคบี เจ แคปปิตอล ตั้งเป้าสร้างยอดขายมือถือให้เจมาร์ทโมบาย 800 ล้านบาท 3. digital transformation หนึ่งในนั้นคือการนำ J Fin เงินดิจิทัลมาแลกสินค้าต่าง ๆ รวมถึงสมาร์ทโฟนในเครือเจมาร์ท ทำให้ภาพของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของเจมาร์ทชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้จะเพิ่มน้ำหนักการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยมีการซื้อขายสินค้าออนไลน์รูปแบบเสมือนจริง (virtual reality) มากขึ้น สุดท้าย 4. power of synergy การปรับช่องทางใหม่
ทั้งการปรับโฉมและการขยายสาขาใหม่ โดยในปีนี้จะมี 85 สาขา แบ่งเป็นเจมาร์ท ช้อป 35 สาขา และซินเนอร์ยี่ช้อป50 สาขา ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ที่รวมธุรกิจในเครือ ทั้งเจมาร์ท โมบาย,ซิงเกอร์, เจเอ็มที และร้านกาแฟ White Cafe By Casa Lapin เข้าด้วยกัน เชื่อว่าด้วยกลยุทธ์ที่วางไว้จะทำให้เจมาร์ท โมบายเติบโตขึ้น 35% จากปีก่อน