
“โนเกีย” คัมแบ็กตลาดอุปกรณ์เครือข่ายในประเทศไทย โชว์ศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านการสื่อสาร เจาะลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน แนะอุตสาหกรรมพลิกโฉมธุรกิจสู่ 4.0 ด้วยเทคโนโลยี 5G
วันที่ 8 มิถุนายน 2565 นายฐิติพันธ์ วรกุลลัฎฐานีย์ ผู้บริหารฝ่ายขายองค์กร (Enterprise Sales Leader) บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผู้บริโภคอาจคุ้นเคยกับโทรศัพท์มือถือแบรนด์โนเกีย แต่ธุรกิจของบริษัทมี 4 ส่วน คือ 1.เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนการบริการจัดการซอฟต์แวร์เครือข่ายอื่น ๆ
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
2.บริการคลาวด์ระดับแอปพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจ และโซลูชั่นคลาวด์องค์กรขนาดใหญ่ 3.โครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านเครือข่าย ทั้งการวางระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสง เคเบิลใต้น้ำสมุทร และFixed network และ 4.เทคโนโลยี ที่เป็นสิทธิบัตรของโนเกียที่นำมาปรับใช้ร่วมกับองค์กรธุรกิจได้
และที่ผ่านมามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G โดยดำเนินการจัดการเครือข่ายสำหรับลูกค้าองค์กรกว่า (Industry and Public Sector) กว่า 2,200 ราย ในธุรกิจขนส่ง, พลังงาน, องค์กรขนาดใหญ่, ภาคการผลิต และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก รวมไปถึงการสนับสนุเครือข่ายการสื่อสารไร้สารภายในองค์กร (Private wireless customers) กว่า 450 แห่งทั่วโลก
มีผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง กว่า 20,000 สิทธิบัตร โดย 4,000 สิทธิบัตร เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โดยเฉพาะจึงพร้อมนำประสบการณ์และเทคโนโลยีมาให้บริการกับองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
จากทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย และนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และเทคโนโลยี 5G มีส่วนสำคัญในการทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย
นายฐิติพันธ์กล่าวว่าวงจรในการทรานส์ฟอร์มมี 4 ขั้นตอน คือ 1.เริ่มจากการมองเห็นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมของตนอย่างไร 2.มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีนั้น ๆ 3.เริ่มวิเคราะห์มองอนาคต และนำเทคโนโลยีมาใช้ และ 4.เปลี่ยนการควบคุมอุตสาหกรรมทางกายภาพด้วย Autonomous Action ซึ่งในส่วนนี้เทคโนโลยีการสื่อสารภายในองค์กรทั้งในระดับเครือข่าย 4G และ 5G จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตในโรงงาน และงานที่มีความเสี่ยง
“การสื่อสารภายในด้วยเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีที่ดีจะทำให้โรงงานนั้น ๆ ใช้คนคุมเครื่องจักรน้อยลง และสื่อสารทำงานในระยะไกลได้แบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องมาที่ไซต์งาน หรืองานในเหมืองที่อันตราย ก็ใช้ระบบสื่อสารไร้สายภายในเหมืองส่งคำสั่งให้หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ เป็นต้น การวางระบบสื่อสารไร้สายในสถานที่แคบเป็นเรื่องยาก แต่โนเกียมีโซลูชั่นที่เข้าไปจัดการได้”
ปัจจุบันลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นบริษัทลูกสัญชาติอเมริกัน และญี่ปุ่น หรือเป็นลูกค้าของบริษัทแม่อีกที โดยบริษัทกำลังอยู่ในช่วงการขยายตลาดไปในกลุ่มลูกค้าองค์กรในไทยทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เข้าไปประมูลงานวางระบบสื่อสารไร้สายภายในระบบรถไฟฟ้า และเข้าไปเปลี่ยนระบบการสื่อสารภายในให้บริษัทต่าง ๆ คาดว่าในปีนี้จะเริ่มเห็นโครงการนำร่อง
โดยเฉพาะการสื่อสารไร้สายภายในองค์กรด้วยระบบปิด (Private Wireless) ด้วยคลื่นความถี่ 5G
อย่างไรก็ตาม การจัดบริการโซลูชั่นด้านการสื่อสารภายในองค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ซึ่งโนเกียพร้อมเข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกค่ายแต่จากประสบการณ์ในหลายประเทศพบว่า
ภาครัฐจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่แยกระหว่างค่ายมือถือ และความถี่สำหรับธุรกิจโดยเฉพาะคล้าย Unlicense band เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ทางธุรกิจ ถ้าทำได้จะทำให้องค์กรต่าง ๆ มีทางเลือกเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วย