ธ.ก.ส. เร่งแก้หนี้ NPL 12 จังหวัดอีสานตอนบนพุ่ง 12% ตั้งเป้าสิ้นปีเหลือ 4%

ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคอีสานตอนบนเผย NPL 12 จังหวัดอีสานตอนบนพุ่ง 12% ตั้งเป้าสิ้นเดือนกันยายนกดเหลือ 9% และคาดสิ้นปีผลผลิตทางการเกษตรออกลดลงเหลือ 4%

วันที่ 6 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดอุดรธานีว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ฝอบ.) เดินหน้าโครงการ “มหกรรมแก้หนี้ และฟื้นฟูศักยภาพลูกค้า ธ.ก.ส.” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ มีผลทำให้ลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่มีรายได้ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้

เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้ของลูกหนี้โดยลดภาระการชำระดอกเบี้ยให้บางส่วน และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วย การขยายระยะเวลาชำระหนี้ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพตามความสมัครใจ ภายหลังการปรับปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566

วานนี้ (5 ก.ย. 65) นายวุฒิชัย ข่าขันมะลี ผู้อานวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ฝอบ.) เดินทางไปวัดศรีบุญเรือง ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี เพื่อร่วมงาน “มหกรรมแก้หนี้และฟื้นฟูศักยภาพลูกค้า” โดยเปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดให้ปี พ.ศ. 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการแก้ไขปัญหาหนี้สินและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

โดยมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด กระทรวงการคลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจ แก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนเป็นภารกิจหลัก ฝอบ.จึงเดินหน้า โครงการ “มหกรรมแก้หนี้ และฟื้นฟูศักยภาพลูกค้า ธ.ก.ส.” ในพื้นที่ดำเนินงานของ ฝอบ. ทั้ง 12 จังหวัด รวม 195 สาขา ภายใต้ กรอบการดำเนินงาน “หมู่บ้านสีขาวมั่นยืน ปีบัญชี 2565” ซึ่งมุ่งเน้น การแก้ไขปัญหา 4 มิติ คือ

มิติที่ 1 การแก้ไขหนี้ภาคครัวเรือน (คลายความกังวล), มิติที่ 2 การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (ลดต้นทุน), มิติที่ 3 การเพิ่มภูมิคุ้มกัน (ลดความเสี่ยง) และมิติที่ 4 การพัฒนาอาชีพและการผลิต (ลดความสูญเสีย)

สำหรับจุดบริการ ณ วัดศรีบุญเรือง บ้านบุญมี หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นเขตดำเนินงาน ธ.ก.ส.สาขาทุ่งฝน ในสังกัดสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดอุดรธานี เป็นชุมชนใหญ่ อยู่ห่างจากที่ตั้งของธนาคารประมาณ 20 กิโลเมตร มีประชากร จำนวน 599 ครัวเรือน เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. 538 ครัวเรือน เป็นจุดเปิดโครงการ และมีกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

1.คลินิกแก้หนี้ บริการให้คาปรึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้กับลูกค้าเกษตรกร ธ.ก.ส. โดยใน ปีบัญชี 2565 ธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา (COVID-19) เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินแก่ลูกค้าในการลดภาระหนี้และดอกเบี้ยเงินกู้ ประกอบด้วย

1.1 โครงการชำระดีมีคืน Plus ปีบัญชี 2565 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินของลูกค้าจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าเกษตรกรตามข้อบังคับฉบับที่ 44 และ 45 ที่มีหนี้ปกติ หรือชั้น กล่าวถึงเป็นพิเศษ ธนาคารจะโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้าในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระ จริงแต่ไม่เกิน3,000 บาท/ราย

สำหรับลูกค้าที่ชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นไม่มีบิลค้างชำระ (ดอกเบี้ยเป็น 0) สำหรับ ลูกค้าที่ชำระดอกเบี้ยบางส่วน ธนาคารจะโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้ให้ในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 1,000 บาท/ราย (ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 มีนาคม 2565)

กลุ่มลูกค้า วิสาหกิจชุมชน นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารจะโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝาก ของลูกค้าในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกิน 3,000 บาท/ราย ลูกค้ากลุ่ม สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ไม่เกิน 10,000 บาท/ราย (ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565-31 มีนาคม 2566

1.2 โครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือนปีบัญชี 2565 วัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ โดยลดภาระการจ่ายชำระดอกเบี้ยให้บางส่วน ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็น เกษตรกร บุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เงื่อนไขสัญญาเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) หรือสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีสถานะหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ย หรือรับรู้รายได้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นเกณฑ์เงินสด (NA) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565

อัตราการลดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด ณ วันที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นหรือเมื่อลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยได้ตามอัตราการลดดอกเบี้ยของโครงการ เป็นรายสัญญา ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565-31 มีนาคม 2566

1.3 การบริหารจัดการคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืน เป็นการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ ผลกระทบรุนแรงและมีความไม่แน่นอนสูง โดยธนาคารจะมีการจำแนกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและเข้าพบเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลลูกหนี้ และวิเคราะห์ศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริงของลูกค้า และบริหารจัดการหนี้ตาม ศักยภาพโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น การให้สินเชื่อตามวิธีปฏิบัติของธนาคาร, การปรับปรุงตารางกำหนด ชำระหนี้, การปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ทั้งนี้ ต้องสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และหารือร่วมกันกับลูกหนี้ อธิบายให้ชัดเจนเกี่ยวกับภาระหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับเป็นหลัก รวมถึงลูกหนี้จะได้รับการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพตามความสมัครใจผ่านโปรแกรม BAAC-Loan ซึ่งมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนลูกค้าจะได้รับสิทธิในการลดอัตราดอกเบี้ยและปรับตารางการชำระหนี้ใหม่ ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกหนี้ โดยสามารถขยายระยะเวลาชำระหนี้ได้ถึง 20 ปี

2.บริการรับลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 โดยเริ่มให้บริการรับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565-19 ตุลาคม 2565 โดยเปิดจุดให้บริการรับลงทะเบียนครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินการของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ ณ จุดให้บริการของสาขา และในพื้นที่ที่ ธ.ก.ส. กำหนดเป็นจุดให้บริการรับลงทะเบียนในพื้นที่ของลูกค้า โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียน มีดังนี้

เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป, ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ผู้ต้องขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานรัฐ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัด จากส่วนราชการข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา, รายได้ของผู้ลงทะเบียนต้องไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน/ต่อปี, ทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน

และหากครอบครัวมีทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน, ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง, ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ได้แก่ วงเงินกู้สาหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และ/หรือ วงเงินกู้สาหรับยานพาหนะรวม ไม่เกิน 1 ล้านบาท

3.บริการด้านการเงินและสินเชื่อ โดยจะมีพนักงานอานวยความสะดวกในการให้บริการทางด้านการเงิน อาทิเช่น ให้บริการด้านจัดทาบัตร ATM สมัครใช้บริการ A-mobile บริการแจ้งเตือนข้อความ เงินเข้า-ออก ผ่าน SMS Alert รวมถึงการให้คาปรึกษาให้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อ และการให้บริการด้านสินเชื่อ โดยอำนวยความ สะดวกให้กับลูกค้า

“อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ดำเนินงานของ ฝอบ. ทั้ง 12 จังหวัด รวม 195 สาขา มีฐานลูกค้าทั้งหมดกว่า 1.4 ล้านครัวเรือน มีการทำธุรกรรมกับทางธนาคาร 1.08 ล้านครัวเรือน มูลหนี้ 3.7 แสนล้านบาท NPL 12 จังหวัด ประมาณ 12% คาดว่าสิ้นเดือนกันยายน เหลือ 9% และในสิ้นปี คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ซึ่งจะมีผลผลิตออก คาดว่าจะเหลือ 4%”