คอลัมน์ : สัมภาษณ์
อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล (ADL) บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก มีความเชี่ยวชาญและคลุกคลีอยู่ในแวดวงงานวิจัย เคยมีผลงานวิเคราะห์ตลาดยานยนต์ปัจจุบันในประเทศไทยและนำเสนอแนวทางในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่การเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
“ประชาชาติธุรกิจ” มีโอกาสสัมภาษณ์ “ฮิโรทากะ อุชิตะ” ประธานบริหารและผู้อำนวยการ อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ประเทศไทย หรือ ADL และหัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคการผลิต ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมาเคยเก็บงานวิจัยและข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้าและโมบิลิตี้ รวมถึงเคยทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยให้กับ General Motor ตั้งแต่ปี 1911
จากนั้นได้ขยายมาโฟกัสอุตฯ EV และอุตฯที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบตเตอรี่ EV, แบตเตอรี่ 2 วัตต์ และ 3 วัตต์ ให้กับมอเตอร์ไซค์และตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และการทำ Energy Storage โดย อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล มีสำนักงานใหญ่ในในบรัสเซลส์ เบลเยียม นอกจากนี้ยังมีทีมยานยนต์ เฮลท์แคร์ และปัจจุบันยังมีโปรเจ็กต์ด้านโมบิลิตี้มากกว่า 150 โครงการ เช่นกันเป็น Major OEM การทำแบตเตอรี่ การทำชิ้นส่วนต่าง ๆ
Q : ตอนนี้ ADL โฟกัสอุตฯไหนเป็นพิเศษ
สำหรับหน้าที่เราค่อนข้างหลากหลาย อย่างในอุตสาหกรรมยานยนต์และ EV เราก็ทำทั้งศึกษาตลาด มองสัดส่วนของตลาด EV ในอีก 10 ปีข้างหน้า, การเปรียบเทียบการแข่งขัน ศึกษากลยุทธ์ของแต่ละผู้ประกอบการ พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ให้ลูกค้าว่าต้องทำอะไรบ้าง ตัวอย่างในประเทศไทย ถ้าเปรียบเทียบระหว่างตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน จะเห็นว่าประเทศไทยมีการเติบโตของตลาด EV ค่อนข้างดี
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเป้าหมายของทางรัฐบาลไทยที่ตั้งเป้าหมายว่าจะมีสัดส่วนการใช้รถ EV ให้ได้ 30% ในปี 2030 แต่การจะถึงเป้าหมายดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย มีปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ราคาค่าใช้จ่ายโดยรวมของการเป็นเจ้าของและราคาขายต่อ, โครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จ และความหลากหลายของโมเดลรถ EV ซึ่งเรามองว่าจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว ปัจจัยในข้อแรก สำหรับรถยนต์นั่ง และรถแฮตช์แบ็กเทียบระหว่างราคาของรถ EV นั้นถือว่า เป็นราคาที่แข่งขันได้ถ้าเทียบกับราคารถญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าตลาดรถยนต์ 50% เป็นปิกอัพ
ซึ่งการจะพัฒนาตลาดรถกระบะ EV ทำราคาไม่ง่าย ที่จะทำให้ราคาออกมาให้ใกล้เคียงกับปิกอัพในปัจจุบัน ส่วนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จ ปัจจุบันก็ยังไม่เพียงพอ โดยในกรุงเทพฯคนจำนวนมากพักอาศัยในคอนโดฯ ถ้าเปรียบเทียบสัดส่วนแล้วสถานีชาร์จยังน้อยเกินไป ขณะที่ความหลากหลายของรุ่นรถ EV โดยผู้ผลิตจีนส่วนใหญ่เปิดตัวแต่ รถนั่งและเอสยูวี แต่ยังไม่มีรถปิกอัพ
Q : มองตลาด EV 5-7 ปีจากนี้อย่างไร
เชื่อว่ายังมีปัจจัยใหญ่ที่ทำให้ยังไปไม่ถึงเป้าหมายตามที่รัฐบาลคาดหวัง โดยส่วนตัวคาดว่าในปี 2030 น่าจะมีสัดส่วนตลาดรถ EV ประมาณ 10-15% เท่านั้น ไม่ถึง 20% เพราะตลาด EV ยังต้องอาศัยปิกอัพเป็นแรงหนุน และถ้ามีจริงราคาก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ อุปสรรคของตลาดรถ EV อีกอย่างหนึ่ง คือมือสอง เมื่อใช้งานไป 3-5 ปี หากอยากขายรถ แ
ต่ถึงตอนนั้นไม่รู้ว่าราคาลดจะอยู่ที่เท่าไหร่ ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของแบตเตอรี่ EV ดังนั้นลูกค้าจะเริ่มคิดถึงความคุ้มค่า ซื้อมาตอนแรกราคาใกล้เคียงรถสันดาป แต่ขายเป็นรถมือสองต่างกันเยอะ ดังนั้นเราจะเห็นผู้ผลิตจีนพยายามรับประกันแบตเตอรี่ 10 ปี เพื่อต้องการรักษาราคาของรถ EV ไว้ และหากผู้บริโภคสามารถที่จะยอมรับราคาตรงจุดนี้ได้นั้นก็คือปัจจัยที่ท้าทาย เท่าที่เราสำรวจและข้อมูลจากค่ายรถญี่ปุ่น ผู้บริโภคยอมรับได้แค่ 5-10% เท่านั้น โดยเป็นกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยอมจ่ายได้ ที่เหลือยังลังเลและกังวล
Q : ผู้ประกอบการค่ายจีนต้องปรับตัวอย่างไร
ราคามือสอง ถือเป็นอุปสรรคสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถน้ำมัน ดังนั้นในการพัฒนาเทคโนโลยี แบตเตอรี่จำเป็นต้องพัฒนาให้ดีขึ้น คือควรจะมีขนาดเล็กลงและสามารถวิ่งได้ในระยะทางที่เท่าเดิม หรือราคาแบตเตอรี่ควรจะลดลง แต่อย่างไรก็ดี สถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการทำแบตเตอรี่ ทำให้ราคาแบตเตอรี่สูงขึ้น ถ้าหากจะพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าได้ ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ค่ายรถญี่ปุ่นกำลังพัฒนา solid state อยู่ และคาดว่าจะสามารถออกสู่ตลาดได้ในปี 2027 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า
การที่จะทำให้ราคาลดลงค่อนข้างใช้เวลา และหากค่ายรถญี่ปุ่นทำสำเร็จจะทำให้ราคาแบตเตอรี่ EV ลดลง เพราะผู้ผลิตค่ายรถญี่ปุ่นเป็นค่ายที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในเมืองไทย ในกรณีนี้ก็สามารถที่จะเข้าถึงเป้าหมาย 30% ตามที่รัฐบาลคาดหวังได้
นอกจากนี้ ADL ยังมองลูกค้าชาวไทยที่ซื้อรถ EV เป็นพวกรักษ์โลกนั้น จริง ๆ แล้วเป็นกลุ่มเดียวกับที่ชื่นชอบเทคโนโลยี เขายกตัวอย่าง กลุ่มลูกค้าที่ซื้อตลาดรถ EV ตอนนี้มีประมาณ 8% คิดว่ากลุ่มที่เป็นกลุ่มรักษ์โลกประมาณ 50% เท่านั้น