รถจีนอ่วมสต๊อก ‘อีวี’ เคว้งรอ ‘ภาษีสรรพสามิต’ ใหม่

หลังมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการจะได้สิทธิลดภาษีทั้งสรรพสามิตจากเดิม 8% เหลือ 2% และนำเข้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดสูงสุด 40% ราคาเกิน 2 ล้าน ลดสูงสุด 20%

ส่วนผู้ซื้อรถจะได้รับเงินอุดหนุนกรณีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท 70,000-150,000 บาท (ตามขนาดแบตเตอรี่) โดยช่วงแรกสามารถนำเข้ามาขายก่อนแล้วค่อยผลิตชดเชย และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 สองค่ายยักษ์จากจีน ทั้งเอ็มจี และเกรท วอลล์ฯ ได้ทำเอ็มโอยูเข้าร่วมโครงการ

MOU EVพร้อมประกาศราคาใหม่ทันที เกรท วอลล์ฯ ลดราคา ORA GOOD CAT ทั้ง 3 รุ่นลงประมาณคันละ 1.6 แสนบาท ขณะที่MG EP อีวี ปรับลดราคาลง 227,000 บาท และตั้งราคาขาย MG ZS EV ไมเนอร์เชนจ์ 9.42 แสนบาท และทั้ง 2 ค่ายก็ตั้งหน้าตั้งตาขายรถในงานมอเตอร์โชว์กันอย่างสนุกสนาน สร้างยอดขายกันอย่างคึกคัก เกรท วอลล์ฯ กวาดยอดถึงวันนี้ 3,500 คัน ส่วนเอ็มจี ทะลุ 6,000 คัน

แต่สิ่งที่ไม่คาดคิด และตามมานั่นก็คือ จนถึงวันนี้ ค่ายรถยนต์จากจีน ยังไม่สามารถส่งมอบรถอีวีให้ลูกค้าได้สักราย

ด้วยเหตุผล ยังไม่มีประกาศราชกิจจาฯภาษีสรรพสามิตตัวใหม่

“ตอนที่เราประกาศหยุดรับจองรถยนต์ไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวนั้น ประจวบกับสถานการณ์ภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะชิปขาดพอดี แต่ถึงวันนี้ระยะเวลาทอดยาวล่วงเลยมาถึง 6 เดือน

รถยนต์ไฟฟ้า ORA Good Catหรือเกือบครึ่งปีมาแล้ว กลายเป็นว่ามาตรการลดภาษีนำเข้าและสรรพสามิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ประกาศแล้วกลับทำให้ตลาดรถอีวีหยุดชะงัก ประชาชนรับรู้ว่าซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วคุ้มค่า แต่การตอบสนองจากค่ายรถทำไม่ได้ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมีผลแล้วแต่ราชกิจจาฯเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตยังไม่ประกาศเป็นทางการ” แหล่งข่าวค่ายรถจีนกล่าว

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการได้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทแม่เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับลูกค้า แต่ต้องจอดนิ่ง ๆ ไว้ในฟรีโซนกว่า 1,000 คันไม่สามารถนำออกมาขายตอนนี้ได้ เพราะถ้านำออกมาก็ต้องเสียภาษีทั้งสรรพสามิตและภาษีนำเข้าอัตราเดิม

เอ็มจี มาแรงเผย 1 เดือน ยอดจองรถอีวีทะลุ 4.5 พันคัน

ZS EV ไมเนอร์เชนจ์ หัวใจใหม่…วิ่งไกลขึ้น

แหล่งข่าวระดับบริหารจากค่ายรถยนต์จีนกล่าวเพิ่มเติมว่า กว่า 6 เดือนแล้วนับจากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ดอีวี ประกาศนโยบายสนับสนุนครั้งนี้ตั้งแต่ 29 พ.ย. 2564 ถึงวันนี้ยังไม่พบว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ข้อบังคับ

บอกแต่เพียงสั้น ๆว่าเร็ว ๆ นี้ ซึ่งยังมองไม่ออกว่าเมื่อใด บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนที่จะได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมตรงนี้มีมูลค่ามหาศาล ประเทศไทยยังสูญเสียต่อภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากต่างประเทศที่ไม่อาจคำนวณเป็นมูลค่าได้ แม้ว่าลูกค้าบางรายอยากใช้รถจะยินยอมจ่ายตามราคาเดิมก็ตามแต่ก็เป็นจำนวนไม่มาก

“อย่าลืมว่าการแข่งขันในอุตฯยานยนต์อีวี ไม่ใช่เราประเทศเดียวเท่านั้นที่ต้องการเป็นฮับ ยังมีเพื่อนบ้านทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ ที่พร้อมเสนอตัวเป็นศูนย์กลางการผลิตรถอีวี คงเป็นเรื่องยากที่จะช่วงชิงความเป็นเจ้าตลาดหรือฮับรถอีวีท่ามกลางความไม่ชัดเจน”