ประวัติ ปฐมา จันทรักษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ปฐมา จันทรักษ์
อัพเดตข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ 2566

ปฐมา จันทรักษ์ อดีตรองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ชื่อเล่น : เจี๊ยบ

วัน เดือน ปี เกิด : 21 กันยายน 2510

ถิ่นกำเนิด : สงขลา

บิดา มารดา : คุณเจริญ จันทรักษ์ และคุณยุพา จันทรักษ์

ประเภทบุคคล : ผู้บริหาร/นักธุรกิจ

ประวัติการศึกษา :

ปริญญาตรี : วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และคณิตศาตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยาสงขลานครินทร์ปริญญาโท : MBA International Finance Washington State University

ประวัติการทำงาน :

  • 2550-2554 : กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • 2554-2561 : กรรมการผู้จัดการ Worldwide Corporate Accounts and Partner Sales and Software Asset Management and Compliance ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชัน
  • 2561-ปัจจุบัน : รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  • 2563-ปัจจุบัน : กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ธุรกิจ/ผลิตภัณฑ์ ผลงานที่โดดเด่น :

• การร่วมกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย กระทรวงสาธารณสุข และธนาคารกรุงไทย ในการนำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของไอบีเอ็มและหน่วยงานชั้นนำกว่า 50 แห่งของไทย อาทิ 7-11, AIS, SCG, TRUE ฯลฯ เข้าร่วมสนับสนุนระบบจองวัคซีนโควิด-19 และระบบดูแลศูนย์ฉีดวัคซีน 25 แห่ง สำหรับกับประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่นำไปใช้ได้ทั่วประเทศต่อไป

• การนำเทคโนโลยีเข้าช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยร่วมกับ สวทช. และกลุ่มมิตรผล พัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอ ข้อมูลสภาพอากาศ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟทิงส์ และอะนาไลติกส์

• การนำแพลตฟอร์ม “เทรดเลนส์” (TradeLens) ที่พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน เข้าสนับสนุนกรมกรมศุลกากร เพื่อพัฒนาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศของไทย ทำให้การตรวจสอบสินค้าผิดกฎหมายและสินค้าหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้การเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและโปร่งใส

• การสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในเวทีโลก ด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าสนับสนุนกระบวนการขายพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มพันธบัตรรัฐบาลแรกของโลกบนเทคโนโลยีบล็อกเชน ช่วยให้ ธปท.ออกพันธบัตรที่เร็วขึ้น จากเดิม 15 วันเหลือเพียง 2 วัน ลดประมาณงานและระยะเวลาในการดำเนินการ อีกทั้งยังเพิ่มความโปร่งใสและลดต้นทุนการดำเนินการตลอดกระบวนการ โดยโครงการดังกล่าวได้รับรางวัล ASOCIO ที่ประเทศญี่ปุ่น และรางวัล Open Government

• การร่วมกับ INET ในการนำเทคโนโลยีเอไอสำหรับการวิเคราะห์ภาพนิ่งและไฟล์วิดีโอเข้าช่วยรังสีแพทย์ในการตรวจหาวัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) ในการแปลผลภาพเอกซเรย์ทรวงอก ในสถานพยาบาลชุมชนและทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ถึง 75 แห่งทั่วประเทศ ตรวจหาอาการอื่น ๆ จากภาพเอกซเรย์ทรวงอกอีก 14 อาการ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และภาวะปอดรั่ว โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยหลายพันคนในโรงพยาบาล 300 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ภายในปีนี้

• การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษามะเร็ง หรือ AI Watson for Oncology เพื่อสนับสนุนแพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในการพัฒนาแนวทางการรักษามะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการศึกษาวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

• การนำความเชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนของไอบีเอ็ม เข้าร่วมสนับสนุนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ในการมาตรฐานและการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลายมือดิจิทัล และการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยของไทย พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ เชื่อมโยงรัฐ-เอกชน ใช้เทคโนโลยีอย่างมั่นคงและปลอดภัย

• การริเริ่มความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรชั้นนำของไทย อาทิ เอไอเอส ซีเกท กลุ่มไมเนอร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการนำโมเดลโรงเรียน P-TECH (Pathways in Technology Early College High School) ของไอบีเอ็ม เข้าลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์)

พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านวิชาการ ผ่านโปรแกรมการเรียน 5 ปี ระดับประกาศนียบัตรขั้นสูง ที่มีการแนะแนวจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและด้านธุรกิจจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาเยี่ยมชมสถานที่ทำงานจริง และการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานโดยได้รับค่าตอบแทน พร้อมหลักสูตรต่าง ๆ ที่ครอบคลุมถึงทักษะที่จะเป็นที่ต้องการในศตวรรษที่ 21

• การนำองค์ความรู้ด้าน Design Thinking เข้าสนับสนุนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของกรมสรรพากรและหน่วยงานสรรพากรทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและนำเทคโนโลยีเข้าเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านต่าง ๆ อาทิ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

• นำไอบีเอ็ม ประเทศไทย เข้ารับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สาขาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการโดยรวม (Corporate Management Excellence) ปี 2563 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล Top Businesswomen of the Year เป็น Finalist สาขา Lifetime Achievement Global ของรางวัลระดับโลก Women in Tech และได้รับรางวัล Stevie Awards 3 สาขา ประกอบด้วย สาขา Female Executive of the Year (Business Services-More Than 2,500 Employees) สาขา Mentor or Coach of the Year (Business) และสาขา Women Helping Women (Business) ในปี 2561

• การเข้าร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่กลุ่มผู้บริหารหญิงทั่วโลกใน Women’s Senior Leadership Program ที่ Kellogg School of Management, Global Summit of Women ที่ประเทศออสเตรเลียและสวิสเซอร์แลนด์ 2019 Women CEOs Summit และ ASEAN Women Entrepreneur Network (AWEN) และการร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้บริหารระดับสูงของไทยอย่างต่อเนื่องผ่านเวทีของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (CMA) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เป็นต้น

ลิงก์ข่าวที่เกี่ยวข้อง :