ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 6 รัฐบาล 4 นายกฯ จาก 133 บาท สู่เพื่อไทย 600 บาท

ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง เมื่อพรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 600 บาท ภายในปี 2570

“ประชาชาติธุรกิจ” พลิกปูม 6 รัฐบาล 4 นายกรัฐมนตรีในอดีตมีการขึ้นค่าแรงกี่ครั้ง-กี่หนบ้าง

รัฐบาลทักษิณ 1 – ทักษิณ 2

เริ่มต้นจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร นับเป็นรัฐบาลที่ขึ้นค่าแรงถี่ที่สุด คือ ทั้งหมด 6 ครั้ง

ครั้งแรก วันที่ 15 มกราคม 2545 ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 133 บาท ดังนี้ จังหวัดภูเก็ต วันละ 168 บาท

กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร วันละ 165 บาท ชลบุรี วันละ 146 บาท เชียงใหม่ นครราชสีมา พังงา ระนอง และสระบุรี วันละ 143 บาท อ่างทอง วันละ 138 บาท ฉะเชิงเทรา วันละ 137 บาท นราธิวาส และสิงห์บุรี วันละ 135 บาท

ครั้งที่ 2 วันที่ 24 ธันวาคม 2545 ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 โดยให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานไว้ที่อัตราวันละ 133 บาท

ครั้งที่ 3 วันที่ 5 สิงหาคม 2546 ครม.มีมติเห็นชอบปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะจังหวัดสมุทรสาคร เป็นอัตราวันละ 169 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546

ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ธันวาคม 2546 ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 โดยให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานไว้ที่อัตราวันละ 133 บาท ดังนี้

วันละ 170 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร วันละ 168 บาท 1 จังหวัด คือ ภูเก็ต วันละ 153 บาท 1 จังหวัด คือ ชลบุรี วันละ 151 บาท 1 จังหวัด คือ สระบุรี

วันละ 145 บาท 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พังงา และนครราชสีมา วันละ 143 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ ระนอง และระยอง วันละ 142 บาท 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา วันละ 140 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ กระบี่และฉะเชิงเทรา

วันละ 138 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี จันทบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงครามและอ่างทอง วันละ 137 บาท 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ลำพูน สระแก้วและสุโขทัย

วันละ 136 บาท 8 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ขอนแก่น ตรัง ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ลพบุรี สิงห์บุรีและสุพรรณบุรี

วันละ 135 บาท 30 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชัยภูมิ ตาก ตราด นครพนม นราธิวาส นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พัทลุง มุกดาหาร ยะลา ร้อยเอ็ด ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอำนาจเจริญ

วันละ 134 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ นครนายก และพิจิตร และวันละ 133 บาท 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยโสธร สุรินทร์และอุบลราชธานี

ครั้งที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม 2547 ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2548 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 โดยให้มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานในอัตราวันละ 137 บาท (เพิ่มขึ้น 4 บาท) ดังนี้

วันละ 175 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาครและสมุทรปราการ วันละ 173 บาท 1 จังหวัด คือ ภูเก็ต วันละ 157 บาท 1 จังหวัด คือ ชลบุรี วันละ 155 บาท 1 จังหวัด คือ สระบุรี

วันละ 150 บาท 1 จังหวัด คือ นครราชสีมา วันละ 149 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่และพังงา วันละ 147 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ ระนองและระยอง วันละ 146 บาท 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา

วันละ 144 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ กระบี่และฉะเชิงเทรา วันละ 142 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี จันทบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงครามและอ่างทอง

วันละ 141 บาท 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ลำพูน สระแก้วและสุโขทัย วันละ 140 บาท 8 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ขอนแก่น ตรัง บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ลพบุรี สิงห์บุรีและสุพรรณบุรี

วันละ 139 บาท 30 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชัยภูมิ ตราด ตาก นครพนม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง พิษณุโลก

เพชรบูรณ์ มุกดาหาร ยะลา ร้อยเอ็ด ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานีและอำนาจเจริญ

วันละ 138 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ นครนายกและพิจิตร วันละ137 บาท 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยโสธร สุรินทร์และอุบลราชธานี

ครั้งที่ 6 วันที่ 6 ธันวาคม 2548 ครม.มีมติกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่ำสุด วันละ 140 บาท และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2549 ดังนี้

กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร วันละ 184 บาท ภูเก็ต วันละ 181 บาท ชลบุรี วันละ 166 บาท สระบุรี วันละ 163 บาท นครราชสีมา วันละ 158 บาท เชียงใหม่ พังงา พระนครศรีอยุธยา ระนอง และระยอง วันละ 155 บาท ฉะเชิงเทรา วันละ 153 บาท กาญจนบุรี กระบี่ และลพบุรี วันละ 151 บาท

เพชรบุรี จันทบุรีและสมุทรสงคราม วันละ 150 บาท ตรัง และอ่างทอง วันละ 148 บาท ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ราชบุรี สระแก้ว และสิงห์บุรี วันละ 147 บาท ชุมพร ตราด ลำปาง ลำพูน สุโขทัย สุพรรณบุรี และอุดรธานี วันละ 145 บาท

กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บุรีรัมย์ ปัตตานี ยะลา เลย สงขลา สตูล และหนองคาย วันละ 144 บาท กำแพงเพชร ตาก นครนายก นครสวรรค์ พัทลุง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุราษฏร์ธานี อุตรดิตถ์ วันละ 143 บาท

ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู และอุทัยธานี วันละ 142 บาท พิจิตร แม่ฮ่องสอน สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ วันละ 141 บาท น่าน พะเยา แพร่ วันละ 140 บาท

รัฐบาลขิงแก่-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

ขณะที่รัฐบาลขิงแก่-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 144 บาท

กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร วันละ 194 บาท ภูเก็ต วันละ 193 บาท ชลบุรี วันละ 175 บาท สระบุรี วันละ 170 บาท ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และระยอง วันละ 165 บาท

ระนอง วันละ 163 บาท พังงา วันละ 162 บาท กระบี่ และเพชรบุรี วันละ 160 บาท เชียงใหม่ วันละ 159 บาท จันทบุรีและลพบุรี วันละ 158 บาท กาญจนบุรี วันละ 157 บาท

ราชบุรี และสิงห์บุรี วันละ 156 บาท ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม และสระแก้ว วันละ 155 บาท ตรัง เลย และอ่างทอง วันละ 154 บาท ประจวบคีรีขันธ์ ลำพูนและสงขลา วันละ 152 บาท

ขอนแก่น ชุมพร ตราด นครนายก นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บุรีรัมย์ พัทลุง เพชรบูรณ์ สตูล สุราษฏร์ธานี หนองคาย อุดรธานี และอุทัยธานี วันละ 150 บาท

กำแพงเพชร ชัยนาท ลำปาง สุโขทัย และสุพรรณบุรี วันละ 149 บาท กาฬสินธุ์ นครพนม นราธิวาส ปัตตานี พิษณุโลก มุกดาหาร ยะลา สกลนคร และหนองบัวลำภู วันละ 148 บาท

ตาก มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และอุตรดิตถ์ วันละ 147 บาท ชัยภูมิ เชียงราย พิจิตร แพร่ และศรีสะเกษ วันละ 146 บาท อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี วันละ 145 บาท น่าน และพะเยา วันละ 144 บาท

หากแยกตามอัตราการที่ปรับเพิ่มเป็นรายจังหวัด ดังนี้ 1.ปรับเพิ่ม 1 บาท จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ตราด น่าน พิจิตร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด สมุทรสงคราม และสระแก้ว

2.ปรับเพิ่ม 2 บาท จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น ตรัง นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ราชบุรี สกลนคร สตูล สระบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู และอ่างทอง

3.ปรับเพิ่ม 3 บาท จำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ กทม. จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงาน พัทลุง เพชรบูรณ์ ระนอง ลพบุรี ลำพูน สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี

4.ปรับขึ้น 4 บาท จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ เพชรบุรี ระยอง เลย และสิงห์บุรี 5.ปรับขึ้น 7 บาท จำนวน 1 จังหวัด คือ ภูเก็ต และ 6.ไม่ปรับ จำนวน 22 จังหวัดที่เหลือ

รัฐบาลยิ่งลักษณ์

ขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เว้นว่างไปถึง 3 รัฐบาล ก่อนที่จะมีปรับขึ้นในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

โดยวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ครม.เห็นชอบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 70 จังหวัด เป็นวันละ 300 บาท ส่วน 7 จังหวัดที่มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทแล้วให้คงไว้ในอัตราเดิม และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556

รัฐบาลประยุทธ์ 1-2

สำหรับรัฐบาล คสช.-พล.อ.ประยุทธ์ 1 และรัฐบาลประยุทธ์ 2 มีการขึ้นแค่แรงทั้งหมด 4 ครั้ง

ครั้งแรก วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2560 โดยเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น 5-10 บาทต่อวัน 69 จังหวัด และคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท 8 จังหวัด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ดังนี้

วันละ 300 บาท 8 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ระนองและสิงห์บุรี

วันละ 305 บาท 49 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย ตราด ตาก นครนายก นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอุบลราชธานี

วันละ 308 บาท 13 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ขอยแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา ระยอง สงขลา สระบุรี และสุราษฎร์ธานี

วันละ 310 บาท 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

ครั้งที่สอง วันที่ 30 มกราคม 2561 ครม.เห็นชอบกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 8-20 บาทต่อวัน ในทุกจังหวัด แบ่งเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ระดับแรก 308 บาท/วัน 3 จังหวัด ระดับที่สอง 310 บาท/วัน 22 จังหวัด ระดับที่สาม 315 บาท/วัน 21 จังหวัด ระดับที่สี่ 318 บาท/วัน 7 จังหวัด ระดับที่ห้า 320 บาท/วัน 14 จังหวัด ระดับที่หก 325 บาท/วัน 7 จังหวัด และระดับที่เจ็ด 330 บาท/วัน 3 จังหวัด

ครั้งที่สาม วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2563 โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 5-6 บาท และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ดังนี้

1.วันละ 336 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรีและภูเก็ต 2.วันละ 335 บาท 1 จังหวัด คือ ระยอง 3.วันละ 331 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร 4.วันละ 330 บาท 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา

5.วันละ 325 บาท 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฏร์ธานี หนองคายและอุบลราชธานี 6.วันละ 324 บาท 1 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี

7.วันละ 323 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนครและสมุทรสงคราม 8.วันละ 320 บาท 21 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ พะเยา ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานีและอุตรดิตถ์

9.วันละ 315 บาท 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสาคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อุทัยธานีและอำนาจเจริญ และ 10.วันละ 313 บาท 3 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานีและยะลา

ครั้งที่สี่ วันที่ 13 กันยายน 2565 ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565-ปีล่าสุด อัตราวันละ 328-354 บาท หรือ ปรับค่าจ้างขึ้นต่ำเพิ่มวันละ 8-22 บาท และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

ทั้งนี้ จำแนกเป็น 9 อัตรา ดังนี้ 1.วันละ 354 บาท 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ตและระยอง 2.วันละ 353 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร 3.วันละ 345 บาท 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา

4.วันละ 343 บาท 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา 5.วันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี

6.วันละ 338 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนครและสมุทรสงคราม 7.วันละ 335 บาท 19 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง และอุตรดิตถ์

8.วันละ 332 บาท 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบังลำภู อำนาจเจริญและอุทัยธานี และ 9.วันละ 328 บาท 5 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส น่าน ปัตตานี ยะลา และอุดรธานี