เปิดประวัติ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ภาพจาก thaipoliticwiki

ประวัติ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ 1 ใน 10 อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 

วันที่ 9 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี ทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ทนายความชื่อดังออกมากล่าวอ้างมีลูกความ ขอให้ช่วยปกป้องหลังจากมีคดีฟ้องร้องกรณีภรรยาเป็นชู้กับอดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นที่โจษจันของสังคมค้นหาบุคคลคนนั้น คือใคร เพราะนอกจากประเด็นเรื่องชู้สาว ยังมีเรื่องการข่มขู่ให้ลูกความทนายตั้มเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย

ปัจจุบันยังไม่มีข้อเท็จจริงและข้อมูลที่จะพิสูจน์ว่า ใครคืออดีตรองนายกรัฐมนตรี คนดังกล่าว แต่ในการแถลงข่าวของ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรค และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เมื่อวานนี้ (8 ม.ค.) กล่าวถึง กรณีทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายความชื่อดังออกมากล่าวอ้างมีอดีตรองนายกฯรัฐมนตรี อาจเป็นชู้กับภรรยาคนอื่นว่า ได้โทรศัพท์หานายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกฯ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สอบถามใช่รูปท่านหรือไม่ ท่านปฏิเสธ ไม่ใช่พี่แน่นอน

นายยุทธพงศ์ระบุว่า มีนักข่าวกระซิบบอกว่า บุคคลดังกล่าวที่ถูกอ้างว่าเป็นรองนายกฯ ใส่เสื้อสีแดง อาจจะใกล้ชิดกับพรรคเพื่อไทย ส่วนตัวติดต่อไปยังเจ๊ช่อที่ได้ติดต่อกับทนายตั้ม บอกผ่านมาว่าเป็นรองนายกฯ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

สำหรับบุคคลที่เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกอบด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก นายปลอดประสบ สุรัสวดี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา

ประวัติ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ

  • อายุ 80 ปี
  • จบการศึกษา ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมานิตานุเคราะห์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จบประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จบ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จบ มัธยมศึกษาปีที่ 2-6 โรงเรียนอินทรพิสัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จบมัธยมศึกษาปีที่ 7-8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • จบปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2507
  • จบปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2513
  • ประกาศนียบัตรการปกครองระดับท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครอง ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2517
  • ประกาศนียบัตรหลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2522
  • ประกาศนียบัตรวางแผนและจัดรูปเมือง สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2528

รับราชการ

  • เริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในตำแหน่งปลัดอำเภอชั้นตรี ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้โอนไปรับตำแหน่ง ปลัดเทศบาลเมืองภูเก็ต
  • พ.ศ. 2510 ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ปลัดเทศบาลในหลายจังหวัด สูงสุดเป็นที่ปลัดเทศบาลชั้นพิเศษ
  • ปี พ.ศ. 2533 ขึ้นเป็นปลัดจังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรก
  • ปี พ.ศ. 2534 ย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
  • ปี พ.ศ. 2535 กลับไปดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการ ที่จังหวัดสงขลาอีกครั้ง
  • ปี พ.ศ. 2536 ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการ ที่จังหวัดตรังเป็นแห่งแรก แล้วย้ายไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (นักปกครอง ระดับ 10) แล้วเข้าสู่ส่วนกลาง ขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ปี พ.ศ. 2541 ขึ้นเป็นอธิบดีกรมที่ดิน
  • ปีพ.ศ. 2543 กลับมาเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง
  • ในปี พ.ศ. 2544 ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นเวลา 8 เดือน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปีเดียวกัน

งานการเมือง

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ยงยุทธเริ่มเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2546 และวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 จากนั้นเป็นประธานกรรมการ การไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และประธานกรรมการ กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต่อมาในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคเพื่อไทยจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ลงมติเลือกยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 เขาประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้ โดยให้เหตุผลเพื่อปรับโครงสร้างพรรค ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป แต่ภายหลังสมาชิกพรรคลงคะแนนให้ยงยุทธกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

ยงยุทธได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเภทบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเวลาต่อมา ระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่นั้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเลื่อนยศแก่ยงยุทธจาก “นายกองเอก” ให้เป็นที่ “นายกองใหญ่” ประจำกองอาสารักษาดินแดน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 ยงยุทธประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจาก อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย ลงมติให้ไล่ออกจากราชการ จึงมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางการเมืองส่วนบุคคลของยงยุทธ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาล ทั้งอาจส่งผลทางการเมืองต่อพรรคเพื่อไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ยงยุทธเริ่มเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2546 และวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 จากนั้นเป็นประธานกรรมการ การไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และประธานกรรมการ กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต่อมาในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคเพื่อไทยจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ลงมติเลือกยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 เขาประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้ โดยให้เหตุผลเพื่อปรับโครงสร้างพรรค ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป แต่ภายหลังสมาชิกพรรคลงคะแนนให้ยงยุทธกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

ยงยุทธได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเภทบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเวลาต่อมา ระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่นั้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเลื่อนยศแก่ยงยุทธจาก “นายกองเอก” ให้เป็นที่ “นายกองใหญ่” ประจำกองอาสารักษาดินแดน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 ยงยุทธประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจาก อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย ลงมติให้ไล่ออกจากราชการ จึงมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางการเมืองส่วนบุคคลของยงยุทธ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาล ทั้งอาจส่งผลทางการเมืองต่อพรรคเพื่อไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ปี 2562 อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดิน สนามกอล์ฟ อัลไพน์

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ห้องพิจารณาคดี 4 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติชอบกลาง ถ.นครไชยศรี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ หมายเลขดำ อท.38/2559 ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อายุ 77 ปี อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

กรณีระหว่างที่นายยงยุทธ จำเลย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ในการพิจารณาอุทธรณ์ และสั่งเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน โดยมีเจตนาช่วยเหลือ บริษัท อัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด, บริษัท กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในเวลาต่อมา ให้ได้รับประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยปฏิเสธ

ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
แฟ้มภาพ

ศาลชั้นต้น มีศาลพิพากษาจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา

คดีนี้ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2559 เห็นว่า การที่นายยงยุทธ จำเลยพิจารณาอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งให้ยกเลิกโฉนดที่ดินที่จดทะเบียนในนาม ‘สนามกอล์ฟอัลไพน์’ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์จากการที่นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารนั้น

จำเลยออกคำสั่งโดยมิชอบ โดยจงใจละเลยข้อเท็จจริงต่างๆ และยังจงใจตีความกฎหมายให้ผิดเพี้ยนไปจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2482 ที่ระบุให้กระทรวงถือปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ดังนั้น คำสั่งของนายยงยุทธ จำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแก่ผู้อื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัดธรรมิการามวรวิหาร ทั้งยังทำลายศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมานายยงยุทธ จำเลยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์

โดยศาลตีราคาประกัน 5 แสนบาท ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ในวันนี้ นายยงยุทธ จำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษาโดยมีสีหน้าเรียบเฉย พร้อม ทนายความและบุคคลใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี “ศาลอุทธรณ์” พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า การที่จำเลยขณะดำรงตำแหน่งรักษาการปลัดมหาดไทย แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนมติอธิบดีกรมที่ดินเรื่องที่ดินอัลไพน์เป็นที่ธรณีสงฆ์นั้น โดยไม่นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งมีแนวทางวินิจฉัยไว้แล้วมาพิจารณาประกอบเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบและโดยทุจริต

ทั้งที่แนวทางปฏิบัติเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นมาแล้วฝ่ายบริหารจะให้หน่วยราชการยึดถือปฏิบัติธรรมเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินในมาตรฐานทางเดียวกัน เพราะมิเช่นนั้นในแต่ละยุคสมัยจะมีความเห็นต่างกันสร้างความเสียหายแก่ระบบบริหารราชการแผ่นดินได้

ส่วนที่จำเลยอ้างว่า คำสั่งของจำเลยนั้นได้ยึดถือตามแนวทางเสียงข้างมากของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของมหาดไทย ซึ่งเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่จำเลยในฐานะรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทยก็สามารถทำได้นั้น ศาลเห็นว่าคณะกรรมการดังกล่าวก็เกิดขึ้นโดยคำสั่งที่จำเลยแต่งตั้งเองขณะที่การบริหารราชการแผ่นดินนั้น ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะผูกพันหน่วยงานราชการด้วยตามแนวทางมติของ ครม.

และที่จำเลยอ้างว่า ไม่แน่ว่าถ้ายื่นข้อทักท้วงให้กฤษฎีกา การที่จำเลยอ้างว่าไม่ได้ส่งกฤษฎีกาแล้วจะรับไว้พิจารณาหรือไม่นั้นก็ยังไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยยื่นข้ออ้างดังกล่าว ทั้งที่ในทางปฏิบัติหากจำเลยเห็นว่าความเห็นของกฤษฎีกานั้นจะไม่ชอบ ก็สามารถที่จะยื่นให้ทบทวนได้ กรณีที่จำเลยอ้างจึงฟังไม่ขึ้นนั้นและขัดต่อหลักเหตุผล

ลงโทษสถานหนัก อาจจะถูกฟ้องเป็นหลายล้าน

ขณะที่ในช่วงปี 2545 ปรากฎข้อเท็จจริงว่าภายหลังนายทักษิณ ชินวัตร ได้ซื้อสนามกอลฟอัลไพน์ต่อจากนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งหลังจากนั้น ก็พบว่าจำเลยได้รับดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยจนเกษียณราชการ และยังได้รับตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ในยุครัฐบาลนายทักษิณ

ส่วนที่ ป.ป.ช. ขอให้ลงโทษสถานหนักเพราะการกระทำของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมที่ดินเป็นอย่างมาก และอาจจะทำให้ถูกฟ้องเป็นเงินหลายล้านนั้น ศาลเห็นว่าตามทางนำสืบขณะนี้ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีการฟ้องคดีเกิดขึ้น ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 2 ปีโดยไม่รอลงอาญานั้นเหมาะสมแล้วอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืน