เช็กทุกมาตรการ ครม. แจกเงิน ลดภาษี ยืดหนี้ ลดค่าครองชีพ

ครม.ประยุทธ์ ขนแพ็กเกจเยียวโควิด-19 บิ๊กล็อต แจกหัวละ 3,500 บาท 3 เดือน เก็บตกคนละครึ่ง 1 ล้านสิทธิ์ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ 2 เดือน ยืดพักชำระหนี้-ขยายระยะเวลาสินเชื่อ 7 แบงก์รัฐ-ซอฟโลนธปท.ถึง มิ.ย.64

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

คาดคุมระบาดระลอกสองมี.ค.64

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 รัฐบาลเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ เช่น มีการเสริมสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเงินเข้าระบบผ่านบสย. 150,000 ล้านบาท อีก 25,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี รวมถึงธนาคารออมสินให้ผู้ประกอบการนำที่ดินมาขายฝากวงเงิน 5,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจขณะนั้น 3 มาตรการ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และช้อปดีมีคืน

เรื่องวัคซีน ประชาชนจะได้รับการดูแบในเรื่องนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการจองวัคซีนที่มีคุณภาพดี จำนวน 60 ล้านโดสขึ้นไปและจะทยอยเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดรอบสอง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบกับพื้นควบคุมสูงสุด 5 จังหวัดสีแดงเข้ม และ 23 จังหวัดสีแดง เป็นผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงต้องควบคุมให้ดีและโดยเร็ว แต่ประชาชนยังเดือดร้อน ซึ่งครม.ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาหลายมาตรการ โดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม เช่น ยืดเวลาที่มีอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถคุมการระบาดได้ในเดือนมีนาคม

นายกรัฐมนตรีกำชับให้หน่วยงานราชการเร่งรัดการสอบคัดเลือกคนเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการให้เร็วที่สุด ทำให้มากที่สุด โครงการจ้างงานตามแผนการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงิน 4 แสนล้านให้เร่งรัดให้เร็วที่สุด เพื่อดึงดูดการจ้างงาน

ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ 2 เดือน 9 พันล้านบาท

นายดนุชา กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือลดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1.มาตรการที่ออกมาแล้วล่วงหน้าและการขยายเวลา ประกอบด้วย มาตรการแรงงาน ลดหย่อนเงินสบทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคมทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างเหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่มกราคม ถึงมีนาคม 2564 การเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากากรถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 200 วัน จากเดิมร้อยละ 50 ไม่เกิน 180 วัน
กรณีว่างงานจากการลาออก จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 45 ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 90 วัน จากเดิมร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัร กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศของทางราขการในการสั่งปิดพื้นที่หรือหยุดปฏิบัติงานชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 90 วัน หากปิดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมดนายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่เกินร้อยละ 75 ก่อนหยุดการจ้างงานชั่วคราว

สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานดำเนินการอยู่แล้วและมาตรการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตน ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้กรณีสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19 และการตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่โรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดประกันสังคมเข้าไปตรวจคัดกรองเชิงรุกร่วมกับสาธารณสุข

นายดนุชากล่าวว่า มาตรการบรรเทาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ค่าไฟและพลังงานในช่วงเดือนธันวาคม- 31 มีนาคม 2564 โดยคงราคาขาย LPG หน้าโรงกลั่น ทำให้ราคาขายปลีก 15 กิโลกรัม 315 บาท การปรับลดค่าผันแปร (FT) ทำให้ลดลง 2.89 สตางค์ต่อหน่วย ถึง โดยจะมีถึง 30 เมษายน 2564
การขยายเวลาการจัดเก็บค่าไฟฟ้าต่ำสุด (minimum) ให้กับผู้ประกอบการกิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง ออกไปอีก 3 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

นอกจากนี้ยังมีในส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว คือ การบรรเทาค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการช่วยเหลือให้ผู้ใช้ไฟไม่เกิน 50 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน สามารถได้สิทธิ์ใช้ไฟฟรี เกิน 50 หน่วย ใช้สิทธิ์ตามมาตรการได้วงเงินไม่เกิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ค่าน้ำประปาวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

นายดนุชากล่าวว่า ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติมาตรการเสริมเพิ่มเติม ได้แก่ ลดค่าใช้จ่ายการใช้น้ำประปา ลดลงร้อยละ 10 ไม่เกิน 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 ครอบคลุมผู้ใช้น้ำ 6.76 ล้านราย ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยและกิจการขนาดเล็ก

ช่วยเหลือค่าไฟฟ้า 2 เดือน โดยขยายช่วงการจัดเก็บค่าไฟฟ้า หรือ คิดราคาค่าไฟเป็น 3 ช่วง จาก 1-500 หน่วย คิดราคา 3.24 บาทต่อหน่วย 500-1,000 คิดราคา 4.22 บาทต่อหน่วย และ ตั้งแต่ 1,001 ขึ้นไป คิดราคา 1.42 บาทต่อหน่วย กลุ่มที่ใช้ไฟน้อยกว่า 50 หน่วย จะได้ใช้ไฟฟรี 90 หน่วยทุกราย ส่วนกิจการขนาดเล็ก ใช้ฟรี 50 หน่วยแรกทุกราย ครอบคลุมที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก 23.70 ล้านราย ทั้งนี้มาตรการลดค่าน้ำและค่าไฟ 2 เดือนใช้งบประมาณ 9,000 ล้านบาท

นายดนุชากล่าวว่า สำหรับมาตรการอื่นได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโควิด -19 มอบหมายกระทรวงพาณิชย์ มหาดไทย อุตสาหกรรม พิจารณาไม่ขาดแคลน
มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ใช้โรงงานตัวเองในการกักตัวพนักงานเพื่อป้องกันการติดเชื้อและปนเปื้อนการผลิต มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน และมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เข้าไปสำรวจเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

ขยายระยะเวลา “เราเที่ยวด้วยกัน”

นายดนุชากล่าวว่า นอกจากนี้ครม.ยังเห็นชอบการปรับปรุงและผ่อนปรนเงื่อนไขโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่ผู้ใช้สิทธิ์จองสิทธิ์ไว้ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ได้มอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการให้ผู้ใช้สิทธิ์จองสามารถเลื่อนการใช้สิทธิ์ได้ถึงเดือนเมษายน 2564 และมอบหมายให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ปรับปรุงโครงการและขยายโครงการเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เข้าสู่ภาวะปกติ

สำหรับมาตรการช่วยเหลือด้านแรงงานเพิ่มเติม คือ โครงการจ้างบัณฑิตใหม่ให้กระทรวงแรงงานปรับโครงการเพื่อรักษาระดับการจ้างงาน

เก็บตก “คนละครึ่ง” 1 ล้านสิทธิ์

นายอาคมกล่าวว่า มาตรการการเพิ่มสภาพคล่องให้กับประชาชนและเอสเอ็มอี หรือ เล็กกว่า กระทรวงการคลังมีมาตาการการบรรเทาความเดือดร้อนประชานในช่วงโควิดระลอกใหม่ และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการและประชาชน และลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน 4 เรื่อง

เรื่องที่ 1 โครงการคนละครึ่ง นายกฯมอบกระทรวงการคลังเปิดลงทะเบียนใหม่ 1 ล้านสิทธิ์ ปลายเดือนมกราคม 2564 แบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 จำนวน 5 แสนสิทธิ์ และ ระยะที่ 2 จำนวน 5 แสนสิทธิ์ ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบเรื่องคุณสมบัติ โดยจะเสนอครม.ในวันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 ตามขั้นตอนการใช้เงินกู้ กำหนดลงทะเบียนวันที่ 20 มกราคม 2564 และสามารถใช้ได้ในวันที่ 25 มกราคม 2564

แจก 3,500 บาท 2 เดือน

เรื่องที่ 2 มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน หรือ มาตรการเยียวยาหรือโครงการ “เราชนะ” โดยกำหนดวงเงิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน จำนวน 2 เดือน จะเสนอครม.วันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 ประชาชนสามารถใช้กดเงินได้เร็วสุดภายในสิ้นเดือนมกราคม หรือ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โครงการเราชนะ

ขยาย 3 โครงการสินเชื่อถึง 30 มิ.ย.64

นายอาคมกล่าวว่า เรื่องที่ 3 มาตรการพักชำระหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสังกัดกระทรวงการคลัง 7 แห่ง โดยขยายระยะเวลาโครงการ 3 โครงการจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ได้แก่

โครงการที่ 1 ขยายเวลาโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินคงเหลือ 7,500 ล้านบาท ของธนาคารออมสิน สำหรับผู้มีรายได้ประจำ อาชีพอิสระ รายย่อย หรือ บุคคลในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ ภัยธรรมชาติหรือภัยเศรษฐกิจ วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี

โครงการที่ 2 ขยายเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือ เกษตรกรรายย่อย วงเงินคงเหลือ 1,1400 ล้านบาท วงเงินของ ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ธ.) ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน

โครงการที่ 3 ขยายโครงการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงินคงเหลือ 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สำหรับประกอบการผู้ส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าและแครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อพัฒนาธุรกิจ ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปีในปีที่ 1-2 อัตราไพร์เรทร้อยละ -2 ในปีที่ 3-5 และคิดอัตราไพร์มเรทต่อปีปีที่ 6-7 ร้อยละ 6

ทั้งนี้มาตรการทางการพักชำระหนี้ของธนาคารเฉพาะกิจรัฐทั้ง 7 แห่ง (มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย) ที่สิ้นสุดพักชำระหนี้ในวันที่ 22 ต.ค.63 ให้ขยายเวลาออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในทันที

7 แบงก์รัฐ-ธปท.สำรองเงินเพิ่มสภาคล่อง 6.38 แสนล้าน

นายอาคมกล่าวว่า โดยมาตรการเสริมสภาพคล่องและค้ำประกันสินเชื่อ และพักชำระหนี้ของธนาคารของรัฐ 7 แห่งยังดำเนินต่อเนื่องและเข้มข้นมากขึ้น ได้แก่ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเอสเอมอี และบสย. ซึ่งเดือนธันวาคมได้เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้ผู้ประกอบการที่กู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ หรือ ธนาคารของรัฐ สามารถใช้วงเงินค้ำประกันของ บสย. วเงิน 170,000 ล้านบาท ดำเนินการอยู่

การเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ (ซอฟโลนของธปท.) โดยกระทรวงการคลังจะหารือกับ ธปท.เพื่อผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การเสริมสภาพคล่องให้กับประชาชน 2 ธนาคาร ออมสิน ธ.ก.ส. ประกอบด้วย วงเงินสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย และไม่ฉุกเฉิน 50,000 บาทต่อราย

สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง เช่น ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน ธนาคารออมสินมีโครงการมีที่มีเงิน โดยนำที่ดินมาแลกเป็นเงินได้ โดยธนาคารออมสินจะประเมินอย่างรอบคอบเพื่อเสริมสภาคล่องในระยะสั้นเพื่อรักษาการจ้างงานและธุรกิจ ในส่วนของมาตรการพักชำระหนี้ แนวทางพักชำระหนี้ 4 ประเด็น

1.การพักชำระหนี้ ได้แก่ พักชำระเงินต้น และพักชำระเงินต้น-ดอกเบี้ย 2.ลดดอกเบี้ย 3.ยืดเวลาการชำระดอกเบี้ย และ 4.การปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากภาคธุรกิจท่องเที่ยว ยังมีพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 5 จังหวัด ได้มอบหมายให้สถาบันการเงินของรัฐ 7 แห่ง ได้ลงไปดูเป็นพิเศษ

สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่องนั้น ในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐวงเงินที่มีอยู่ขณะนี้ 268,000 ล้านบาท ส่วนซอฟโลนของธปท. มีวงเงินคงเหลือ 370,000 ล้านบาท ดังนั้น วงเงินสภาพคล่องที่มีรวมแล้วประมาณ 638,000 ล้านบาท

ลดภาษีที่ดิน 90 % – ค่าโอนอสังหาฯ 0.01 %

นายอาคมกล่าวว่า มาตรการลดภาระให้กับประชาชน คือ การภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยได้สรุปว่า จะลดให้ร้อยละ 90 % หรือ ชำระร้อยละ 10 และลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01 เปอร์เซ็นต์ จะเสนอครม.ในสองสัปดาห์