
บทความโดย “กิติชัย เตชะมโนกุล” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 หากมองไปรอบตัว จะพบว่ามีการสื่อสารการตลาดมากมาย ที่ตั้งใจดึงเงินออกจากกระเป๋าพวกเรา แต่จะมีสักกี่คนที่มีสติพอที่จะไม่หลงไปกับการโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้น
- หมอธีระวัฒน์ ชี้ งานวิจัยระบุ ชอบกินเนื้อสัตว์เสี่ยงตาย ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ไม่ช่วย
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- พระราชทานอภัยโทษ คดีทักษิณ ที่มาวาระอันเป็นมงคล วโรกาสสำคัญ
เมื่อช็อปปิ้งออนไลน์และเห็นข้าวของมาส่งแทบวันเว้นวัน หลายคนอาจเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริง ๆ แล้วข้าวของเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่อยากได้ตามกระแส
จากนั้นก็จะมีคำถามตามมาว่า เงินที่จ่ายซื้อข้าวของเป็น “รายจ่ายที่ต้องการจ่ายจริง ๆ หรือไม่” ซึ่งโดยส่วนตัวของผู้เขียน รายจ่ายมี 2 ประเภท คือ รายจ่ายเพื่อการลงทุนและรายจ่ายเพื่อการออม
รายจ่ายเพื่อการลงทุน
เป็นคำพูดที่ดูจะกว้างและลึกในหลายมิติและหลายคนก็รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่ารายจ่ายในส่วนนี้เป็นรายจ่ายที่จ่ายให้ตัวเองในอนาคต ซึ่งอาจจะเลือกลงทุนได้ทั้งสองรูปแบบ
1.การลงทุนในทรัพย์สินที่จับต้องได้ สามารถหาประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินนั้นได้อย่างชัดเจน เช่น บ้าน รถยนต์ เพชรพลอยอัญมณี และของมีค่าอื่น ๆ เรียกการลงทุนแบบนี้ว่าว่า การลงทุนแบบ Tangible Investment
2.การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร ตราสารการเงินอื่น ๆ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไรจากส่วนต่างของราคา หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เรียกการลงทุนแบบนี้ว่า การลงทุนแบบ Intangible Investment
รายจ่ายเพื่อการออม
แม้จะเคยได้ยินพ่อแม่บอกพวกเรามาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่ารู้จักเก็บออม เผื่ออนาคตจะได้ไม่ลำบาก ตัวอย่างการออมอย่างง่าย ๆ เช่น ออมเงินในธนาคารได้ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้ทุก 6 เดือน ถ้าออมปีละ 360 บาท หรือ 180 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 30 บาท วันละ 1 บาท)
- ผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 360.90 บาท
- ผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 3,776.24 บาท
- ผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 7,948.59 บาท
- ผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 12,558.61 บาท
จะเห็นว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก ทีนี้ลองมาดูว่าถ้าเพิ่มเงินออมมากขึ้น ด้วยการออมปีละ 3,600 บาท หรือ 1,800 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 300 วันละ 10 บาท)
- ผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 3,609.00 บาท
- ผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 37,762.41 บาท
- ผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 79,485.93 บาท
- ผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 125,586.05 บาท
จะเห็นว่าถ้าออมเงินวันละ 10 บาท สามารถมีเงินหลักแสนได้และถ้าเก็บเงินวันละ 100 บาท จะมีเงินหลักล้านได้หรือไม่ ถ้าออม ปีละ 36,000 บาท หรือ 18,000 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 3,000 วันละ 100 บาท)
- ผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 36,090.00 บาท
- ผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 377.624.08 บาท
- ผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 794,859.25 บาท
- ผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 1,255,860.55 บาท
จะเห็นว่าออมเงินวันละ 100 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ผ่านไป 30 ปี ก็มีเงินล้านได้ สบาย ๆ สมมุติว่าถ้าหาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ระดับ 3–5% เงินออมจะงอกเงยมากแค่ไหน
ถ้าออมเงิน 18,000 บาท ทุก ๆ 6 เดือน ให้ได้ผลตอบแทนที่ 5% ผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 2,447,848.62 บาท จะเห็นว่ายิ่งระยะเวลาในการลงทุนนาน ประกอบกับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จะทำให้เงินออมของเราเพิ่มพูนมากขึ้นตามไปด้วย