ย้อนอดีต 6 เม.ย. 2475 พระราชพิธีเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ ก่อนย่ำรุ่งประชาธิปไตย 24 มิถุนา

ย้อนอดีต 6 เม.ย. 2475

การแสดงพระองค์ต่อสาธารณะในพระราชพิธีเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 เนื่องในวโรกาสพระนครครบ 150 ปี ที่เต็มไปด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้แทนต่างประเทศ ข้าราชการ ขุนนาง ไล่ไปจนราษฎรทั่วไปนั้น มีนัยสำคัญในเชิงความเป็นอย่างยิ่ง

ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การเลือกที่จะจัดรูปแบบพิธีการในวันนั้นให้มีลักษณะแบบจารีต เต็มไปด้วยรูปแบบที่เชื่อมโยงไปสู่ภาพลักษณ์ของกษัตริย์โบราณ นำไปสู่การนำเสนอภาพลักษณ์ของกษัตริย์อย่างใหม่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่รัชกาลที่ 7 ทรงคาดหวังจะให้เป็น ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดำริทางการเมืองของพระองค์ที่พยายามจะปฏิรูประบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบใหม่

และมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า รัชกาลที่ 7 ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในงานฉลองพระนครครบ 150 ปี (โดยจะพระราชทานในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2475 ก่อนวันเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ 1 วัน) ยิ่งเป็นความสอดคล้องที่น่าสังเกตอย่างยิ่ง

ความสอดคล้องกันในเชิงความหมายระหว่าง 1. สถานภาพใหม่ของสถาบันกษัตริย์ในร่างรัฐธรรมนูญของรัชกาลที่ 7 2. ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ใหม่ที่ย้อนกลับไปหาจารีตประเพณีที่สะท้อนผ่านปฐมบรมราชานุสรณ์ และ 3. พระราชพิธีตลอดจนฉลองพระองค์ของรัชกาลที่ 7 ที่เป็นแบบประเพณีในงานวันเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ที่เหมือนกับฉลองพระองค์ของพระบรมรูปรัชกาลที่ 1

ทั้งหมดนำมาสู่การยืนยันข้อสรุปที่ว่า การกระทำทางสังคมใดๆ ของมนุษย์ที่มีการแสดงในลักษณะตอกย้ำ “สาร” ชุดเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ซ้ำกันถึง 3 ครั้ง ใน 3 ช่องทางการนำเสนอ เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการย้ำ “สาร” ผ่านสิ่งที่มีความสำคัญมากบนพื้นที่สาธารณะ ยิ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามนัยสำคัญของการกระทำดังกล่าว

หากคิดเล่นๆ ว่า พระองค์ทรงสามารถผลักดันให้เกิดการพระราชฐานรัฐธรรมนูญขึ้นจริงในงานฉลองพระนคร ผู้เขียนเชื่อแน่ว่า จะเป็นผลงานชิ้นสำคัญในพระชนม์ชีพของรัชกาลที่ 7 เพราะงานดังกล่าว จะเป็นงานฉลองพระนครที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเชิงสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผสมผสานระหว่าง “ระบอบราชาธิราช” กับ “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” พระองค์จะบรรลุถึงเป้าหมายในการยกสถาบันกษัตริย์ให้ลอยออกมาจากแรงปะทะทางการเมืองโดยตรง (แต่กำกับอยู่เบื้องหลังแทน) โดยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นรูปธรรมของเนื้อหา โดยมีพระราชพิธีที่ปรากฏในงานวันเปิดทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์เชิงนามธรรมของอุดมคติกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบใหม่ที่พระองค์ทรงปฏิรูปขึ้น และมีปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นอนุสาวรีย์ที่คอยผลิตซ้ำภาพลักษณ์ดังกล่าวต่อสาธารณชนในพื้นที่สาธารณะ

Advertisment

อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ได้บอกแก่เราว่า สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นจริง พระราชดำริที่จะปฏิรูประบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกประกาศใช้ เพราะถูกเหนี่ยวรั้งจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสูงหลายพระองค์ที่รายล้อมรอบพระองค์อยู่อย่างแน่นหนา และในที่สุด หลังงานฉลองพระนครผ่านไปเพียงประมาณ 3 เดือน ผลร้ายของพลังอนุรักษ์นิยมที่ฉุดรั้งพระองค์ไว้ก็ส่งผลกระทบย้อนกลับมาหาชนชั้นนำสยามเหล่านั้นเองในระดับที่ไม่มีพระองค์ใดคาดคิดมาก่อน

เช้ามืดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะบุคคลซึ่งประกอบไปด้วยทหารและพลเรือนที่ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มหัวก้าวหน้า ก็ได้รวมตัวกันในนาม “คณะราษฎร” เข้าทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย

Advertisment

(ข้อมูลจาก ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ เขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ)

นี่เป็นข้อมูลแค่เบื้องต้น

ฟังเรื่องราวงานฉลองพระนครครบรอบ 150 ปี

งานฉลองครั้งสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อ 6 เมษายน 2475

และอีก 2 เดือนต่อมา ปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

จากนั้นจึงเกิดงานฉลองรัฐธรรมนูญ

มาร่วมเดินชมสถานที่ในประวัติศาสตร์ พร้อมฟังบรรยาย ตลอดการเดินชม กับ
ทริป MIC Walking Trip

ก่อนย่ำรุ่งประชาธิปไตย 24 มิถุนา

นำชมโดย

ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในยุคคณะราษฎร

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566

เวลา 09.00 – 12.00 น.

ราคา 800 บาท/ท่าน

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณหญิง โทร. 092-246-4140

สำรองที่นั่ง Add LINE คลิก หรือ LINE ID : MatichonMIC

หรือ  Facebook MatichonMIC

ช่องทางการชำระเงิน

ธนาคารกสิกรไทย

ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

เลขที่บัญชี 737-2-12587-4