Urbanization โควิด 19 กระตุ้นสังคมเมืองขยายตัว

คำว่า “ชนบท” อาจหายไปจากชื่อเรียกพื้นที่ต่างจังหวัดของไทยในเวลาไม่นาน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อทุกภาคส่วน ทำให้หลายพื้นที่จังหวัดของประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาบ้านเมือง ให้มีความก้าวล้ำนำสมัยได้เทียบเท่าเมืองใหญ่ ดังนั้นธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องโฟกัสเฉพาะเมืองใหญ่เสมอไป ดูตลาดเมืองรองบ้างก็ได้
#Urbanization #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

Urbanization หรือการเปลี่ยนแปลงจากชนบทสู่ความเป็นเมือง มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาทั้งแบบกระจุกและกระจายตัว จนเกิดสังคมเมืองใหม่ที่มีบทบาทความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ในจังหวัดสำคัญที่มีความเจริญเทียบเท่ากับจังหวัดกรุงเทพมหานคร เช่น ชลบุรี สงขลา นครราชสีมา เชียงใหม่ นครปฐม สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี นนทบุรี ขอนแก่น และ ภูเก็ต โดยเมืองเหล่านี้ถูกพัฒนาตามทรัพยากรหรือความสำคัญในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมืองรอง หรือ Less visited area ที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักหรือยังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปไม่มากนัก ได้มีการยกระดับสู่ความเป็นเมืองแบบ Urbanization ที่พบว่ามี GDP และรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนสูงใกล้เคียงหรือมากกว่ากรุงเทพมหานครด้วย

ถึงจะมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าหรือราวปี 2050 โลกจะมีประชากรคนเมืองเพิ่มขึ้นมากถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของประชากรโลก และด้วยจำนวนประชากรขนาดนี้ย่อมนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเขตชนบทเป็นเมือง ดังจะเห็นได้จากหลายพื้นที่ในประเทศไทยมีการพัฒนาทุ่งนาที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นที่อยู่อาศัยกันมาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

ดังตัวอย่างที่ให้ได้ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น พื้นที่เขตบางใหญ่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ไทรน้อย สายคลอง 1-15 เส้นรังสิต-นครนายก ที่นับวันจำนวนความหนาแน่นของประชากรยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้เมืองต้องขยายตัวตามหรือเกิดเมืองใหม่ตามการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้คน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การขยายตัวของเมืองยังคงเป็นไปแบบแออัดและกระจุกตัว หากแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดได้ไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง กลายเป็นการขยายตัวของเมือง ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากสังคมใหญ่เป็นสังคมเล็กลง

ทิศทางการขยายตัวของเมืองชนบทช่วงโควิด 19

โดยการขยายตัวของเมืองในชนบทท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น มุ่งเน้นด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ด้านที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตทำงานที่หลีกเลี่ยงความแออัดในสังคมเมือง เน้นระยะห่าง ให้มีความปลอดภัยด้านสุขภาพและความเป็นอยู่มากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดการกระจายตัวของเมืองหลักไปสู่เมืองต่างๆ ใกล้เคียง ทำให้มีการกระจายทรัพยากรในแต่ละประเทศในภูมิภาคของเมืองใหม่ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี (Technology) ด้วยมีบทบาทในการดำรงชีวิตมากขึ้น จากการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ผ่านการประชุมทางไกล การใช้ระบบ E-Commerce ในการค้าขายระหว่างภาคธุรกิจและภาคการบริโภคจะมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเศรษฐกิจระดับจังหวัดนั้นมีการเติบโตสูง และประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ดีขึ้นพอๆ กับการเข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร โดยมีการสำรวจประเมินค่า GDP รายจังหวัดในปี 2019 พบว่า

ภาคเหนือ

อันดับ 1 คือ เชียงใหม่ 231,726 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 11,333 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ กำแพงเพชร 110,248 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 11,888 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ นครสวรรค์ 107,178 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,165 บาท/เดือน

ตะวันออกเฉียงเหนือ

อันดับ 1 คือ นครราชสีมา 274,898 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,192 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ ขอนแก่น 204,122 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,797 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ อุบลราชธานี 120,494 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 5,879 บาท/เดือน

ภาคตะวันออก

อันดับ 1 คือ ระยอง 984,980 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 91,306 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ ชลบุรี 236,636 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 27,563 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ ลพบุรี 111,921 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 12,003 บาท/เดือน

กรุงเทพและปริมณฑล

อันดับ 1 คือ กรุงเทพมหานคร 5,022,016 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 47,826 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ สมุทรปราการ 717,053 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 28,601 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ สมุทรสาคร 398,104 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 34,277 บาท/เดือน

ภาคตะวันตก

อันดับ 1 คือ ราชบุรี 172,591 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 17,8952 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ กาญจนบุรี 92,294 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 10,131 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ ประจวบคีรีขันธ์ 92,112 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 16,536 บาท/เดือน

ภาคใต้

อันดับ 1 คือ สงขลา 241,838 มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 13,020 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ สุราษฎร์ธานี 211,048 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 16,706 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ ภูเก็ต 209,011 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 32,380 บาท/เดือน

โดย ‘จังหวัดระยอง’ ถูกจัดให้เป็นเขตเมืองต่างจังหวัดที่มี่รายได้ดีที่สุด จาก GDP ที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ หรือนับเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร นั่นคือ 984,980 ล้านบาท แต่ประชากรกลับมีรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงมากกว่ากรุงเทพมหานคร นั่นคือประมาณ 91,306 บาท/เดือน ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า คนจังหวัดระยองมีฐานะความเป็นอยู่จากรายได้ต่อหัวเฉลี่ยสูงมาก แต่ค่าครองชีพกลับต่ำกว่าคนกรุงเทพฯ จาก 4 สาขาอาชีพที่สำคัญ นั่นคือ สาขาเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง, สาขาอุตสาหกรรม, สาขาเศรษฐกิจ พาณิชยกรรมและการคลัง, สาขาการท่องเที่ยวและการบริการ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย คือ 1,045,697 ล้านบาท เป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per Capita) สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย คือ 1,067,449 บาทต่อปี หรือคิดเป็นเดือนละ 88,954 บาท (ข้อมูลปี 2018,สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ทั้งนี้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังคงมีเข้ามาเป็นระลอกคลื่นและยากจะหายไปจากโลกใบนี้ วิถีชีวิตเมืองชนบทกลายเป็นตัวเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตของสังคมเมืองที่ต้องการหนีห่างจากการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่หลายพื้นที่ในต่างจังหวัดก็ยังคงมีความหอมหวานยั่วใจนักลงทุนที่ต้องการหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ จากจำนวนคู่แข่งที่มีน้อยรายในต่างจังหวัด มีต้นทุนในการจัดการด้านที่ดิน หรือค่าเช่า ค่าครองชีพ ต่างๆ ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานคร และยังมีโอกาสเปิดกว้างในการลงทุนและการทำธุรกิจ เมื่อเกิดเเล้วจึงมีความมั่นคง

ในขณะที่เมืองเริ่มขยายฐานออกสู่พื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค เขตเมืองในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงเมืองหลวงของประเทศอีกต่อไปแล้ว เมื่อมีการขยายฐานเมืองเปลี่ยนความเป็นชนบทสู่ความเป็นเมือง

จากปรากฏการณ์ Urbanization ของเมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด ที่สามารถพัฒนาสาธารณูปโภค-บริโภคได้เทียบเทียมกับกรุงเทพมหานคร ในขณะที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้คนเองก็มีการปรับเปลี่ยนไปทำให้สามารถ Remote การทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเข้ามากระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครเหมือนสภาพการณ์ที่เคยเป็นมาในอดีต จนกระทั่งถึงจุดเชื่อมต่อของการเกิดวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ที่ไม่ได้แค่เพียงจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนในเมืองเท่านั้น แต่กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนไปแล้วทั่วโลก และชนบทจะกลายเป็นวิถีทางเลือกใหม่ของผู้คนในยุค New normal ในอนาคตอันใกล้ตามคำนิยามแบบ Urbanization.

แหล่งอ้างอิง
https://www.newsecuritybeat.org/
http://www.okmd.or.th/
https://www.bot.or.th/
https://www.onbnews.today/
https://www.longtunman.com/
https://www.prachachat.net/

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

LPN Wisdom วิเคราะห์อสังหาฯ ฟื้นตัวครึ่งปีหลัง 2563
อุตสาหกรรมไทยกับการฟื้นตัวจากพิษโควิด 19
________________________________________
Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333