นักลงทุนงง สัญญาณเศรษฐกิจแย้งกัน ก่อนประธานเฟด โชว์สปีช

A pedestrian walks past the New York Stock Exchange in New York City, Thursday, Aug. 18, 2022. Major indexes were held back by mostly choppy trading following a weeklong run of gains. (AP Photo/J. David Ake)

สถานการณ์เศรษฐกิจมีทั้งข่าวดีข่าวซึม โดยเฉพาะที่สหรัฐ สัญญาณเศรษฐกิจแย้งกัน จึงทำให้การซื้อขายในตลาดหุ้นเอเชียส่งท้ายสัปดาห์แยกไปคนละทิศ

วันที่ 19 สิงหาคม 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานว่า ตลาดหุ้นในเอเชียปิดส่งท้ายสัปดาห์ด้วยตัวเลขทั้งบวกและลบปนเปกัน จากการที่นักลงทุนคาดการณ์ไม่ถูกและคาดการณ์ต่างกันไป ตัวเลขสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน ก่อนที่ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด จะส่งซิกนโยบายเศรษฐกิจ

Federal Reserve Board Chairman Jerome Powell REUTERS/Elizabeth Frantz

นายพาวเวลล์จะกล่าวบรรยายบนเวทีนโยบายเศรษฐกิจ แจ๊กสัน โฮล ที่แคนซัส ซิตี รัฐไวโอมิง สหรัฐ สัปดาห์หน้า วันที่ 26 ส.ค. ขณะที่ผู้คนจับตาว่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยสยบเงินเฟ้อรอบใหม่จะออกมาดุดันหรือผ่อนคลาย

ตลาดเซี่ยงไฮ้ปิดลดลง 0.1% ดัชนี Kospi ตลาดโซลปิดลดลง 0.5%  ส่วนนิกเคอิ กรุงโตเกียว ลดลง 0.1% และฮ่องกงพุ่งขึ้น 0.4% ส่วนตลาดหุ้นไทย สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ ปิดตัวเลขบวก ตามตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐ เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 18 ส.ค. ที่ดีดกลับมาด้วยผลประกอบการธุรกิจห้างร้านรายใหญ่ออกมาดี และอัตราคนว่างงานลดลง

Asian stock markets were mixed Friday . (AP Photo/Eugene Hoshiko)

จ้างงานดี-หวั่นใจเฟด

กระทรวงแรงงานสหรัฐแถลงตัวเลขการจ้างงาน ว่าสูงขึ้น 528,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ส่วนอัตราการว่างงานในสหรัฐอยู่ที่ 3.5% นับว่าลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่ราคาน้ำมันแม้ลดลงแต่ยังสูงกว่าระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

จากตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า เฟด และบรรดาธนาคารกลาง ทั้งในยุโรปและเอเชียอาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หวังคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูงในรอบหลายทศวรรษ

เอ็ดเวิร์ด โมยา จากบริษัท Oanda กล่าวว่า จากตัวเลขของสหรัฐ อาจเปิดประตูให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบดุดันอีกครั้ง

ขณะที่ยอดการค้าปลีกในสหรัฐ ยังคงทรงตัวในเดือนก.ค. เมื่อมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.8% ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1%  เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น แต่ยังนับว่าสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 7.1%

เงินเฟ้อสหรัฐ
(AP Photo/Marta Lavandier)

ชาวอเมริกันใช้จ่ายแต่ระวัง

เมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่ผ่านมา ยอดค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้น 10.3% ในเดือนกรกฎาคม หากไม่รวมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกรกฎาคม ส่วนยอดขายวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ทำสวนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

เจฟฟรีย์ โรช หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ LPL Financial กล่าวว่า “เมื่อราคาน้ำมันลดลง ผู้บริโภคมีเงินในกระเป๋ามากขึ้นสำหรับซื้อของอื่น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์และอิเล็กทรอนิกส์”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายมากกับสิ่งที่ไม่จำเป็น โดยยอดขายที่ห้างสรรพสินค้าลดลง 0.5% และ ร้านขายเสื้อผ้าลดลง 0.6%

Photo by Robyn Beck / AFP

อัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาหลักสำหรับหลายครอบครัว แม้ว่าราคาน้ำมันเบนซินจะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายอื่นๆ กลับสูงขึ้น ค่าแรงยังคงเท่าเดิม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนการจำนองและการกู้ยืมเงินที่พุ่งสูงขึ้น

จากรายงานยอดค้าปลีก ครอบคลุมประมาณ 1 ใน 3 ในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคทั้งหมด ชาวอเมริกันเปลี่ยนการซื้อจากสินค้าที่จับต้องได้ หันมาใช้จ่ายเรื่องการเดินทาง การเข้าพักในโรงแรม และการเดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้น

ผลกระทบของการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัย การขายบ้านที่เคยถูกครอบครองก่อนหน้านี้ได้ชะลอตัวลงเป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นและราคาขายที่สูงทำให้ผู้ซื้อน้อยลง

FILE –  (AP Photo/Matt Rourke, File)

ร้านค้าปลีกขายดีขึ้น-แต่…!

เมื่อจับกระแสธุรกิจเอกชน พบว่า วอลมาร์ท – Walmart ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ มีรายได้และผลกำไรรายไตรมาสได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ (ยอดขายเพิ่ม 8.4% เป็นมูลค่า 152,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง) แต่มีข้อความแนบมาด้วยว่า ลูกค้าส่วนใหญ่มุ่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาถูก

(AP Photo/Charles Krupa, File)

ด้านโฮลฟู้ดส์ –  Whole Foods ได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้เป็นที่ทราบว่า ลูกค้าของบริษัทเป็นกลุ่มมีรายได้น้อย แต่กลับพบว่าไตรมาสที่สอง 75% จากสินค้าที่ขายได้นั้นมาจากกลุ่มที่มีรายได้พอสมควรคือครัวเรือนละอย่างน้อย 1 แสนดอลลาร์ นอกจากนี้ยังพบว่า ในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อยกว่า จะซื้อของที่มีราคาถูกลงจากในร้าน เช่น เนื้อสไลด์แล้วไปทำฮอทดอกเอง เพื่อประหยัดเงิน

ส่วนร้าน ทาร์เก็ต – Target  เผยตัวเลขผลประกอบการไตรมาสสอง ว่ากำไรลดลงเกือบ 90% สวนทางกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้าล้างสต๊อกที่มีความต้องการ สูงในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ เจมี่ ซิงเกิลตัน ประธาน Signet Jewelers บริษัทค้าปลีกอัญมณีรายใหญ่ของสหรัฐ เจ้าของแบรนด์ Zales and Jared เผยว่า ชาวอเมริกันเลือกมากขึ้นที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะหันไปซื้อของกินของใช้มากขึ้น

FILE – A Target store in Highlands Ranch, Colo.  (AP Photo/David Zalubowski, File)

หวังเลิกกำแพงภาษีสินค้าจีน

นายแมตธิว เชย์ ประธานและซีอีโอ สหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติ หรือ NRF สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การค้าปลีกของสหรัฐในเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น ได้แรงผลักดันมาจากราคาพลังงานที่ลดลง และเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว

นายเชย์กล่าวว่า ผู้บริโภคปรับตัวในสถานการณ์ที่ข้าวของแพง ด้วยการจัดลำดับสินค้าที่มีความจำเป็นต้องซื้อไว้ก่อน เช่น อาหาร หรือสินค้าของเด็กที่ต้องใช้เมื่อเปิดภาคเรียนใหม่ที่โรงเรียน ดังนั้นกลุ่มค้าปลีกต้องทำงานหนักเพื่อรองรับผลกระทบจากราคาข้าวของที่แพงขึ้น และช่วยผผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

“อย่างไรก็ตาม หากผลักดันมาตรการอย่างการยกเลิกกำแพงภาษีต่อสินค้าจีน การปฏิรูประบบตรวจคนเข้าเมือง และการลงทุนเพื่อฟื้นห่วงโซอุปทาน  ให้มีผล จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของชาวอเมริกันได้” ประธาน NRF กล่าว

……

เงินเฟ้อสะเทือน “เชนฟาสต์ฟู้ด” พฤติกรรมลูกค้าอเมริกันเปลี่ยนแรง
เงินเฟ้อสหรัฐ แผ่วลงที่ 8.5% ข่าวดีขาลง หรือแค่พักร้อนชั่วคราว