วัคซีนจีนคือจุดอ่อน ไม่ได้ด้อยค่า แต่เป็นปมปัญหาล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นทาง

วัคซีนจีนคือจุดอ่อน
Photo by Noel CELIS / AFP

จีนพยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้คนออกมาประท้วงล็อกดาวน์อีก แต่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ปัญหานี้จะยังวนเวียน หากไม่แก้ไขที่วัคซีนต้นทาง

วันที่ 29 พฤศจิกายน บีบีซี โดย เจมส์ กัลลาเกอร์ ผู้สื่อข่าวสายสุขภาพและวิทยาศาสตร์ รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การควบคุมโรคระบาดโควิดในประเทศจีน ที่บานปลายเป็นการประท้วงจนทางการต้องส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงออกมาควบคุมไม่ให้เกิดการลุกฮืออีกในหลายเมือง

จุดเริ่มต้นของวังวนนี้มาจากจุดอ่อนของโครงการวัคซีนป้องกันโควิดของจีน บีบให้ต้องล็อกดาวน์ไม่เลิก ทั้งที่นานาประเทศก้าวข้ามไปแล้ว

จีนพัฒนาวัคซีนเอง ได้แก่ ซิโนฟาร์ม และโคโรนาแวค หรือซิโนแวค ซึ่งไม่ได้ถึงกับไร้ประโยชน์อย่างที่ถูกกล่าวหา เพียงแต่ได้ผลไม่ดีเท่ากับวัคซีนอื่นที่ใช้กันทั่วโลก

Test tubes are seen in front of a displayed Sinopharm logo, May 21, 2021. REUTERS/Dado Ruvic/Illustration

เนื่องจากวัคซีนของจีนใช้โคโรนาไวรัสเชื้อตายฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อต่อสู้กับไวรัส แต่วัคซีน mRNA ของไฟเซอร์และโมเดอร์นาจะสร้างภูมิคุ้มกันและต่อสู้กับส่วนหนามของโปรตีนรอบไวรัส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซลล์ร่างกายติดเชื้อ

เมื่อเทียบกันแล้วเท่ากับว่าวัคซีนจีนมุ่งทำลายทุกส่วน แทนที่จะพุ่งเป้าไปที่จุดสำคัญ ส่งผลให้การป้องกันมีประสิทธิภาพน้อยลง

ข้อมูลจากฮ่องกงที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แลนเซ็ตระบุว่า การได้รับวัคซีนไฟเซอร์/บิออนเทค 2 โดส จะมีผลป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากการติดโควิดได้ร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับวัคซีนซิโนแวค 2 โดส ป้องกันได้ร้อยละ 70

REUTERS/Dado Ruvic/Illustration/File Photo

ดังนั้น เมื่อใช้วัคซีนประสิทธิภาพด้อยกว่าก็จะต้องฉีดวัคซีนให้กับประชากรจำนวนมากกว่าเพื่อให้ได้ผลเท่ากัน

ถึงวันนี้จีนยังไม่อนุมัติ mRNA

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติจีน ที่กรุงปักกิ่ง แถลงเมื่อวันอังคารที่ 29 พ.ย. ว่าจะเร่งฉีดวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มแรก พร้อมเดินหน้าฉีดวัคซีนให้ประชาชนกลุ่มอายุ 60-79 ปี ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ปัจจุบันกลุ่มผู้ที่มีอายุสูงกว่า 80 ปีที่ฉีดวัคซีนครบโดส มีเพียง 65.8% และจีนเองยังไม่อนุมัติการใช้วัคซีนชนิด mRNA แม้มีผลชัดเจนแล้วว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

In this photo provided Nov 23, 2022,Employees at Foxconn Technology Group the world’s biggest Apple iPhone factory were beaten and detained. (AP)

หลายคนเกรงว่า หากจีนยกเลิกมาตรการเป็นศูนย์ทั้งที่ยังไม่มีการฉีดวัคซีนที่ให้ภูมิคุ้มกันเต็มที่ ระบบสาธารณสุขจีนจะต้องรองรับคนไข้ไม่พอ และมีผู็เสียชีวิตนับล้านคน

แต่ขณะเดียวกัน การคงนโยบายซีโร่โควิด ยิ่งทำให้ประชาชนลุกฮือประท้วงต่อต้านการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด และจำกัดอิสรภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้อพาร์ตเมนต์ที่ซินจียง มีคนตายอยู่ในอาคารนับสิบราย เพราะกฎคุมเข้มโควิดกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าไปช่วย ยิ่งกระตุ้นให้ผู้คนไม่พอใจทางการมากขึ้น

โอมิครอนระบาดในจีนต่อเนื่อง

เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน จีนสั่งล็อกดาวน์เมืองอู่ฮั่น แหล่งระบาดโควิด-19 เป็นที่แรก และสั่งล็อกดาวน์เหอเป่ย์ทั้งมณฑลในเวลาต่อมา กระทั่งปัจจุบัน ที่อื่นในโลกไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์กันแล้ว แต่จีนยังคงมาตรการนี้อยู่

วัคซีนจีนคือจุดอ่อน
Residents undergo swab testing at a residential area under lockdown due to Covid-19 coronavirus restrictions in Beijing on November 29, 2022. (Photo by Noel CELIS / AFP)

ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดเพื่อซื้อเวลา ระหว่างพัฒนาวัคซีนและฉีดวัคซีนให้ประชาชน เมื่อเริ่มมีภูมิคุ้มกันแล้ว ข้อจำกัดก็ผ่อนคลายและใช้ชีวิตตามปกติ แต่จีนกลับเลือกใช้ยุทธศาสตร์ “โควิดเป็นศูนย์” และยังใช้การล็อกดาวน์ต่อไป

จีนแถลงตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. อยู่ที่ 38,421 คน ค่อย ๆ ลดลงจากตัวเลขสถิติเมื่อสุดสัปดาห์

ส่วนยอดผู้เสียชีวิตรวม อยู่ที่ราว 5,000 รายต่อประชากร 1,400 ล้านคน ถือว่าน้อยและสถานการณ์ดีกว่าประเทศอังกฤษที่มีผู้เสียชีวิตถึง 170,000 รายต่อประชากรทั้งประเทศ 67 ล้านคน

แต่การยับยั้งไวรัสวิธีนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ได้จากการติดเชื้อมีน้อยลงด้วย จีนจึงยังรับมือไม่ได้และเผชิญปัญหาใหญ่รออยู่ เพราะไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน ซึ่งระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิมที่เคยระบาดเมื่อ 3 ปีที่แล้วเข้ามาในจีนอย่างต่อเนื่อง

Chinese policemen form a line to stop protesters marching in Beijing, Sunday, Nov. 27, 2022. (AP Photo/Ng Han Guan)

ยิ่งล็อกดาวน์ยิ่งสร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้

การได้รับวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยชีวิตได้ แต่หยุดการแพร่กระจายของไวรัสไม่ได้ในโลกที่มีประชากร 8,000 ล้านคน ถ้าจีนไม่ล็อกดาวน์ตั้งแต่แรก ก็จะเสี่ยงต่อการระบาดหนักในช่วงแรก ๆ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์เนเจอร์ เมดิซีน เมื่อเดือน มี.ค. ระบุว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์จะทำให้มีอัตราครองเตียงมากขึ้น 15 เท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 1.5 ล้านคน

การที่จีนล็อกดาวน์อย่างไม่มีกำหนดและแก้ปัญหาสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศไม่ได้ แสดงให้เห็นว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์ไม่ได้ผล จนองค์การอนามัยโลกกล่าวว่านโยบายนี้ไม่ยั่งยืนและควรเปลี่ยนนโยบายได้แล้ว

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เปลี่ยนจากโควิดเป็นศูนย์มาเป็นอยู่กับไวรัส เช่น นิวซีแลนด์และออสเตรเลียต่อสู้กับไวรัสอย่างหนักมาตั้งแต่เริ่มระบาดโดยใช้วัคซีนเป็นอาวุธต่อสู้กับโควิด แต่จีนยังย่ำอยู่กับที่และมีแนวโน้มถอยหลัง

……