“ออสเตรเลีย” เตรียมแบน “หัวเว่ย” ไม่ให้เข้าร่วมเครือข่ายสื่อสาร 5G หวั่นด้านความมั่นคง

REUTERS/Tyrone Siu

รอยเตอร์สรายงานว่า ออสเตรเลียเตรียมแบนหัวเว่ยไม่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม 5G ของออสเตรเลีย หลังจากที่หน่วยข่าวกรองเปิดเผยว่ารัฐบาลจีนอาจควบคุมหัวเว่ย และเกรงว่าจะถูกส่งมอบข้อมูลสำคัญไปยังจีน

หน่วยสืบราชการของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ตั้งข้อสังเกตุมาหลายปีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหัวเว่ยเเละรัฐบาลจีน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการสืบราชการลับ เเต่ยังไม่มีหลักฐานที่เเน่ชัด

หัวเว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก เเละเป็นผู้ผลิตจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนหมายเลข 3 ได้ให้คำมั่นต่อ แคนเบอร์รา เมืองหลวงของเครือรัฐออสเตรเลีย ในการควบคุมดูเเลพัฒนาระบบโทรคมนาคม 5G

โดยในปี 2012 ออสเตรเลียสั่งห้ามไม่ให้บริษัทเป็นซัพพลายเออร์ให้กับโครงข่ายบรอดแบรนด์ทั่วประเทศ โดยหัวเว่ยก็ได้ออกมาโต้ข่าวว่าไม่ได้กระทำการอะไรที่ขัดต่อความมั่นคง

ซึ่งในประเทศนิวซีแลนด์ เยอรมัน ได้ออกมาประกาศว่า พวกเขามีมาตรการป้องกันที่เพียงพอเพื่อไม่ให้หัวเว่ยสร้างกลไกหรือแอบติดตามข้อมูลผู้ใช้งาน แต่หน่วยงานข่าวกรองออสเตรเลียได้บอกผู้บัญญัติกฎหมายว่าการกำกับดูแลไม่ช่วยลดความวิตกกังวลของพวกเขา

หนึ่งในแหล่งข่าวที่ปฏิเสธออกนามของรัฐบาลเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้คุยกับสื่อ กล่าวว่า หัวเว่ยเป็นบริษัทของจีน เเละภายใต้กฎหมายคอมมิวนิสต์ พวกเขาต้องทำงานให้หน่วยงานข่าวกรองหากได้รับการร้องขอ

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังถูกปิดกั้นออกจากตลาดของสหรัฐ เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคง โดยการเตรียมระงับหัวเว่ยนั้นเกิดขึ้นจากในออสเตรเลียเกิดความตึงเครียด เนื่องจากอำนาจเเละความทะเยอทะยานที่กำลังเติบโตของจีนในขณะนี้

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับต่ำ ปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ปักกิ่งเเซกเเทรงธุรกิจของแคนเบอร์รา ซึ่งจีนได้โต้กลับด้วยการชะลอการนำเข้าของจากออสเตรเลีย

สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มักมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต อีเมล แต่ในออสเตรเลีย เเละประเทศอื่นๆ มีกฎหมายที่เข้มงวดในการเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ ซึ่งหน่วยงานข่าวกรองของออสเตรเลียกลัวว่าถ้าผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือพึ่งพาอุปกรณ์ของหัวเว่ย บริษัทของจีนสามารถพัฒนาวิธีการรวบรวมข้อมูลหรือแม้เเต่ทำลายทางไซเบอร์ได้


John Lord ประธาน บริษัท Huawei Australia กล่าวว่ากฎหมายดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้กับการดำเนินงานนอกประเทศจีน