
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า นางมากาเร็ต แฮร์ริส โฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานความคืบหน้าในการวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของตัวยาหลายชนิดในการต้านโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยระบุว่าตัวยาบางชนิดมีประสิทธิภาพในการบรรเทาความรุนแรงและย่นระยะการรักษาอาการป่วยโควิด-19 แต่ยังคงไม่พบตัวยาที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นผลจากการศึกษาทดลองในโครงการ “Solidarity Trial” ซึ่งเป็นการร่วมมือทางการทดสอบด้านคลีนิกวิทยานานาชาตินำโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อพัฒนาวัคซีนและแสวงหายาต้านเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- พระราชินี ทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
- 3 “ท่าเรือบกอีสาน” รุกคืบอุดรฯเปิดนิคมเชื่อม “รถไฟจีน-ลาว”
นางแฮร์ริสระบุว่ายังคงจะต้องมีการวางแผนวิจัยเพิ่มเติม “เรามีข้อมูลที่เป็นไปได้ในเชิงบวก แต่เราต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ 100% ที่จะยืนยันได้ว่า ยานั้นมีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่า 1 ครั้ง”
ด้านบริษัท Gilead Science Inc เปิดเผยว่า ยาเรมเดสซิเวียร์ (Remdesivir) เป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 สามารถต้านทานและฟื้นตัวจากไวรัสได้ดีขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลทางคลีนิควิทยาที่เปิดเผยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ยาเรมเดสซิเวียร์มีความเป็นไปได้สูงที่สามารถรักษาโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการทดสอบโดยการใช้ตัวยาดังกล่าวร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ ในการวิจัยหลายครั้ง
ขณะที่รายงานผลการทดลองในฮ่องกง มีการทดลองรักษาผู้ป่วย 127 รายโดยใช้ตัวยา 3 ชนิดร่วมกัน ได้แก่ ยาต้านไวรัสเอชไอวี “โลปินาเวียร์-ริโทนาเวียร์” (lopinavir-ritonavir) ยาต้านไวรัสตับอักเสบ “ไรบาวิริน” (ribavirin) และยารักษาอาการเส้นโลหิตตีบ “อินเตอร์ฟีรอน เบต้า” (interferon beta) พบว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยได้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ทำให้ปริมาณของไวรัสในร่างกายผู้ป่วยลดลงได้รวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนยารักษาโรคมาลาเลีย “ไฮดรอกซีคลอโรควิน” (Hydroxychloroquine) ที่ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกาเคยแนะนำบุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 นั้น จากผลการวิจัยที่เปิดเผยในเดือนนี้ ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการรักาาโรคโควิด-19 ได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่า การพัฒนาวัคซียจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการระบาดของโควิด-19 มากกว่าการค้นพบตัวยาหรือวิธีการรักษาโรค แต่การพัฒนาวัคซีนนั้นจะยังคงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 12 เดือน