ศึกหนัก! วิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ สะเทือนยักษ์”เยอรมนี” นายกฯเเมร์เคิล เจรจาตั้งรัฐบาลล้มเหลว!

AFP PHOTO / Tobias SCHWARZ

เยอรมนีกำลังเผชิญวิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่ ภายหลังพรรคการเมืองใหญ่ประกาศถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลกับนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 ส่งผลให้เยอรมนีอาจตกอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรืออาจถึงขั้นต้องจัดการเลือกตั้งใหม่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล เตรียมเข้าพบประธานาธิบดีแฟรงก์ วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ เพื่อแจ้งกรณีเจรจาตั้งรัฐบาลกับพรรคกรีนส์และพรรคประชาธิปไตยเสรี (เอฟดีพี) ไม่สำเร็จ

โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น นายคริสเตียน ลินด์เนอร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยเสรี ( เอฟดีพี) ประกาศถอนตัวออกจากการเจรจาร่วมรัฐบาลกับพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนี ( ซีดียู) ของนายกรัฐมนตรีแมร์เคิล และพรรคกรีนส์ โดยให้เหตุผลว่าทางพรรคไม่มีความเชื่อมั่นในการร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองทั้งสองพรรคอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยเหตุผลที่เเท้จริง เเต่หลายฝ่ายมองว่าพรรคเอฟดีพีซึ่งเป็นพรรคกลาง-ขวา และมีสายสัมพันธ์อันดีกับภาคธุรกิจในเยอรมนี ไม่สามารถบรรลุมติเกี่ยวกับผู้อพยพตามแนวทางของพรรคของนางเเมร์เคิลได้

ด้านนายกฯ นางแมร์เคิล กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ในฐานะผู้นำประเทศ เธอจะทำทุกอย่างเพื่อสร้างหลักประกันว่าจะบริหารประเทศต่อไปด้วยดีในช่วงที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก

โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจนกว่านี้ แต่รายงานหลายกระแสระบุว่าพรรคเอฟดีพีซึ่งเป็นพรรคกลาง-ขวา และมีสายสัมพันธ์อันดีกับภาคธุรกิจในเยอรมนี ไม่สามารถบรรลุมติเกี่ยวกับผู้อพยพตามแนวทางของพรรคซีดียูได้

สำหรับการถอนตัวของพรรคเอฟดีพีซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามา 80 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลของนางเเมร์เคิลเหลือเพียงสองทางเลือก คือเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยร่วมกับพรรคกรีนส์ ซึ่งจำนวนที่นั่งของพรรคซีดียูมี 246 ที่นั่ง และพรรคกรีนส์ 67 ที่นั่ง รวมกันเป็น 313 ที่นั่ง จากทั้งหมด 598 ที่นั่งในสภา โดยถือว่ายังน้อยกว่าเกณฑ์เสียงข้างมากขั้นต่ำที่จะต้องได้ 355 ที่นั่ง

อีกทางเลือกหนึ่งคือ นายกฯเเมรืเคิลต้องตัดสินใจเลือกตั้งครั้งใหม่ เพราะพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ได้คะเเนนอันดับ 2 อย่างพรรคสังคมประชาธิปไตย ( เอสพีดี ) ของนายมาร์ติน ชูลซ์ ปฏิเสธเข้าร่วมรัฐบาล ถือเป็นภาวะวิกฤติทางการเมืองครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง

ด้านสำนักข่าวเอเอฟพี ชี้ว่าความล้มเหลวในการจัดตั้งพรรคของนางเเมร์เคิล มีหลายประเด็น เช่นนโยบายรับผู้อพยพ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน เเละการจัดเก็บภาษี

โดยพรรคซีดียูของนางแมร์เคิลและพรรคซีเอสยูที่เป็นพันธมิตร ได้สั่งเลื่อนการรับครอบครัวผู้ได้รับอนุญาตลี้ภัยชั่วคราวไปจนถึงเดือนมีนาคมปีหน้า แต่พรรคกรีนส์ไม่เห็นพ้อง โดยต้องการให้ยกเลิกคำสั่งนี้อย่างเด็ดขาด

ขณะที่ประเด็นโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ที่ผลิตไฟฟ้ากว่าร้อยละ 40 ของประเทศ ทุกพพรคเห็นพ้องว่าต้องลดการปล่อยคาร์บอน เเต่เห็นไม่ตรงกันด้านวิธีการจัดการ ด้านประเด็นเรื่องภาษี พรรคเอฟดีพีต้องการให้ลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฝั่งตะวันออก เเต่พรรคกรีนส์ต้องการให้เก็บภาษีเพื่อไปใช้ลงทุนสาธารณะ