ไบเดนตราหน้าปูติน “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ยูเครน – เซเลนสกีดีใจผู้นำสหรัฐใช้คำนี้

AP Photo/Carolyn Kaster)

สงครามยืดเยื้อ รัสเซียยังไม่ยอมถอยทั้งที่โดนแซงก์ชั่นหลายระลอก ประธานาธิบดีไบเดนจึงเพิ่มระดับการตราหน้าปูติน ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวยูเครน

วันที่ 13 เมษายน 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นเครื่องจากไอโอวากลับวอชิงตัน โจมตีกองทัพรัสเซีย และประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในศึกยูเครน

“ใช่ ผมเรียกสิ่งนี้ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะมันชัดขึ้น ชัดขึ้นว่า ปูตินแค่พยายามจะล้างความคิดแม้กระทั่งการเป็นคนยูเครน” นายไบเดนกล่าว และว่า เหตุการณ์ปัจจุบันต่างจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้า หลักฐานมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เลวร้ายและน่าสยดสยองที่รัสเซียกระทำต่อยูเครน

ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นายไบเดนให้สัมภาษณ์ กล่าวหานายปูติน ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (AP Photo/Carolyn Kaster)

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการลงโทษผู้นำรัสเซียในฐานความผิดดังกล่าว ไบเดนตอบว่า ขึ้นอยู่กับนักกฏหมายในระดับสากลที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า การกระทำของกองทัพรัสเซียภายใต้คำสั่งของเครมลินนั้น เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จริงตามที่เจ้าหน้าที่ยูเครนเปิดเผยหรือไม่ แต่สำหรับตนดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น

ด้านนายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน แสดงปฏิกิริยายินดีทันทีที่ผู้นำสหรัฐใช้คำดังกล่าวเรียกการบุกรุกของรัสเซียที่มีต่อยูเครน

“นี่เป็นถ้อยคำจริงจากผู้นำตัวจริง การเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นโดยชี้ชัดชื่อแบบนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการยืนหยัดสู้กับความชั่วร้าย เราดีใจที่ได้รับความช่วยดหลือจากสหรัฐอเมริกามาถึงวันนี้ และเรายังต้องการอาวุธหนักมากขึ้นสำหรับป้องกันอาชญากรรมโหดร้ายของรัสเซีย” นายเซเลนสกี ทวีตข้อความ

สำหรับนายเซเลนสกี เป็นผู้นำคนแรกที่ใช้คำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) กล่าวหารัสเซีย ระหว่างลงพื้นที่ดูซากความเสียหายในเมืองบูชา ใกล้กรุงเคียฟ

Ukrainian President Volodymyr Zelenskyy speaks via remote feed during a meeting of the UN Security Council, Tuesday, April 5, 2022, at United Nations headquarters. (AP Photo/John Minchillo)

แต่การแถลงต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. นายเซเลนสกีเปลี่ยนมาใช้คำว่าก่ออาชญากรรมสงครามอย่างโหดร้าย” ที่เทียบได้กับกองกำลังรัฐอิสลาม หรือไอเอส โดยไม่ได้เอ่ยคำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ขณะที่นายไบเดนไม่ได้ใช้คำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาก่อนเช่นกัน โดยโจมตีนายปูติน ว่า ก่ออาชญากรรมสงคราม กระทั่งครั้งนี้เปลี่ยนมาใช้คำว่า genocide เพื่อยกระดับความรุนแรงในการกล่าวโจมตีนายปูติน

หลายฝ่ายมองว่า สหรัฐอาจกำลังมุ่งเปิดประเด็นการลงโทษรัสเซียที่หนักขึ้น หรือ อาจเป็นการที่ผู้นำสหรัฐกำลังใช้ความรู้สึกส่วนตัวอยู่เหนือนโยบายของประเทศหรือไม่ แม้ว่าสิ่งที่ไบเดนกล่าวจะสอดคล้องกับความคิดเห็นของชาวอเมริกันในส่วนใหญ่ก็ตาม

ทั้งนี้ แม้การแสดงจุดยืนทั้งอาชญากรสงคราม” ก่อนหน้า และการยกระดับเป็นคำว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แม้จะไม่ได้มีผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถือเป็นการแสดงจุดยืนของผู้นำสหรัฐ

ที่มาคำว่า genocide

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ genocide (เจโนไซด์) ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดต่อมนุษยชาติ เพราะเป็นการกำจัดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้หมดสิ้นไป ดังที่นาซีพยายามขจัดประชากรเชื้อสายยิวให้หมดสิ้นไปในช่วงทศวรษที่ 1940

Russian President Vladimir Putin, right, and Belarusian President Alexander Lukashenko  (Mikhail Klimentyev, Sputnik, Kremlin Pool Photo via AP)

ดร.ราฟาเอล เลมคิน นักกฎหมายชาวโปแลนด์เชื้อสาวยิว เป็นผู้บัญญัติคำว่า genocide โดยนำเอาคำภาษากรีก genos ซึ่งแปลว่าเชื้อชาติ หรือ เผ่าพันธุ์ มารวมกับคำภาษาละติน cide ซึ่งแปลว่า การฆ่า พร้อมผลักดันให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ถือเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ

กระทั่งปี 1948 เกิดอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ .. 1951

มาตรา 2 ของอนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่าหมายถึงการกระทำใด ดังต่อไปนี้ซึ่งกระทำโดยเจตนาที่จะทำลายกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ทั้งหมดหรือบางส่วน

Forensic workers carry the corpse of a civilian killed during the war against Russia after collecting it from a mass grave in Kyiv, Ukraine, Friday, April 8, 2022. (AP Photo/Rodrigo Abd)

ได้แก่ การสังหารสมาชิกของกลุ่มก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายหรือจิตใจต่อสมาชิกของกลุ่มจงใจทำลายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่ม โดยมุ่งเป้าเพื่อทำลายล้างทางกายภาพทั้งหมดหรือบางส่วนกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดภายในกลุ่มบังคับโยกย้ายลูกของคนในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง

อนุสัญญาฉบับนี้ยังกำหนดหน้าที่ของรัฐที่ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าต้องป้องกันและลงโทษการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายคนระบุว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มีคำนิยามที่แคบมาก จนทำให้การสังหารหมู่แทบจะไม่เข้าเกณฑ์ที่บัญญัติเอาไว้เลย

Policemen work on the identification process following the killing of civilians in Bucha, before sending the bodies to the morgue, on the outskirts of Kyiv, Ukraine, Wednesday, April 6, 2022. (AP Photo/Rodrigo Abd)

อย่างไรถึงเรียกว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

บางคนระบุว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในศตวรรษที่แล้ว นั่นคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของนาซี หรือ ฮอโลคอสต์ แต่บางคนชี้ว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง หากยึดตามคำนิยามของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในปี 1948 ได้แก่

การสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียโดยชาวเติร์กในจักรวรรดิออตโตมันที่ตุรกี ระหว่างปี 1915-1920 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ชาวเติร์กปฏิเสธ

การสังหารหมู่ชาวยิวโดยนาซี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 6 ล้านคน

การสังหารหมู่ในรวันดา ปี 1994 กลุ่มหัวรุนแรงเชื้อสายฮูตู มุ่งเป้าฆ่าล้างชาวทุตซี ชนกลุ่มน้อยในประเทศ รวมถึงศัตรูทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าคนเหล่านั้นจะมีชาติพันธุ์อะไร จนสังหารผู้คนไปราว 800,000 ราย ภายในเวลา 100 วัน

The hand of a corpse buried along with other bodies is seen in a mass grave in Bucha, in the outskirts of Kyiv, Ukraine, Sunday, April 3, 2022. (AP Photo/Rodrigo Abd)