อยุธยาตั้งวอร์รูมเกาะติดน้ำ 24 ชม. ผู้ว่าฯ สั่งเฝ้าระวังพื้นที่ ศก.-นิคมอุตสาหกรรม

น้ำท่วม อยุธยา
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 21 สิงหาคม 2565

ผู้ว่าฯอยุธยาตั้งวอร์รูมตรวจสอบสถานการณ์น้ำ 24 ชม. พร้อมเฝ้าระวัง 3 พื้นที่สำคัญ”เขตพระราชฐานโบราณสถาน-วัดสำคัญ-พื้นที่เขตเศรษฐกิจ-นิคมอุตสาหกรรม”

วันที่ 21 สิงหาคม 2565 นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากปภ.พระนครศรีอยุธยา และนายอำเภอ ว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใต้ถุนบ้าน และพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 อำเภอ 44 ตำบล 192 หมู่บ้าน 3 ชุมชน 5,653 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 2,793 ไร่ ดังนี้

1.อำเภอเสนา ประชาชนได้รับผลกระทบ รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน 3 ชุมชน 2,173 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลหัวเวียง หมู่ 1-11 ตำบลบ้านโพธิ์ หมู่ 1-9,12 ตำบลบางนมโค หมู่ 1-5 ตำบลบ้านกระทุ่ม หมู่ 1-9 ตำบลบ้านแพน หมู่ 1-9 ตำบลรางจรเข้ หมู่ 5- 7 ตำบลเสนา ชุมชน ข,ค,ฆ พื้นที่การเกษตร 43 ไร่

2.อำเภอผักไห่ ประชาชนได้รับผลกระทบ รวม 6 ตำบล 29 หมู่บ้าน 931 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลท่าดินแดง หมู่ 1 – 8 ตำบลบ้านใหญ่ หมู่ 2,4-6 ตำบลผักไห่ หมู่ 2,3,6-7,10 ตำบลตาลาน หมู่ 1,3,6 ตำบลลาดชิด หมู่ 1-6 ตำบลอมฤต หมู่ 3-4,11

อยุธยา น้ำท่วม
สถานการณ์น้ำเพิ่มระดับในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 21 สิงหาคม 2565

3.อำเภอบางบาล ประชาชนได้รับ รวม 10 ตำบล 46 หมู่บ้าน 1,073 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลกบเจา หมู่ 1,7 ตำบลบ้านกุ่ม หมู่ 1-9 ตำบลวัดตะกู หมู่ 1,2,4,7-8 ตำบลน้ำเต้า หมู่ 1,2,4,5,8 ตำบลบางหัก หมู่ 3,2,5-8 ตำบลบ้านคลัง หมู่ 6,7 ตำบลทางช้าง หมู่ 1-6 ตำบลบางหลวง หมู่ 1-5 ตำบลบางหลวงโดด หมู่ 2-4 ตำบลบางชะนี หมู่ 2,5 พื้นที่การเกษตร 804 ไร่

4.อำเภอบางไทร ประชาชนได้รับผลกระทบ รวม 19 ตำบล 66 หมู่บ้าน 1,417 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลบางยี่โท หมู่ 1-5 ตำบลสนามชัย 1-8 ตำบลบ้านเกาะ 1-5 ตำบลบ้านกลึง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแป้ง 1-3 ตำบลหน้าไม้ 1-3 ตำบลโคกช้าง 1-2,4 ตำบลราชคราม 1,3-5 ตำบลแคตก 1-3 ตำบลแคออก 1-4 ตำบลเชียงรากน้อย 1-4 ตำบลบ้านม้า 1-2,5-6 ตำบลโพธิ์แตง 1,2 ตำบลบ้านแป้ง 1-3 ตำบลช้างน้อย 1 ตำบลช่างเหล็ก 1,2 ตำบลห่อหมก 1-4 ตำบลบางพลี 1-4 ตำบลไม้ตรา 1-3,5,6 ตำบลช้างใหญ่ 2,3 พื้นที่การเกษตร 1,946 ไร่

5,อำเภอบางปะหัน ประชาชนได้รับผลกระทบ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน 59 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลตาลเอน หมู่ 1 ตำบลบ้านขล้อ 3-5

น้ำท่วม อยุธยา
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 21 สิงหาคม 2565

น้ำท่วม อยุธยา

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งดังกล่าว เนื่องจากประชาชนมีวิถีชีวิตของบ้านริมแม่น้ำ บ้านใต้ถุนสูง จึงมีเรือทุกบ้าน พร้อมมีไม้กระดานวางเพื่อเดินเข้าบ้าน

นอกจากนี้ ได้ดำเนินการ 1.ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง พื้นที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ ที่เขตพระราชฐาน โบราณสถาน วัดที่สำคัญ และพื้นที่เขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมในบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนหนาแน่น เขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง

2.ตั้งวอร์รูมและติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่

3.ศูนย์ป้องและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 14 นิ้ว จำนวน 7 เครื่อง อัตราการสูบ 28,000 ลิตร/นาที ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา