
หลังพระราชกฤษฎีกายุบสภา เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา กระบวนการจัดการเลือกตั้งเริ่มต้นขึ้นทันที คาดว่าการรับสมัคร ส.ส.จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2566 หาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566
คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.
ตามมาตรา 97 กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มี 4 ข้อ
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
1.มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
3.เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา จะเหลือการสังกัดพรรคการเมือง 30 วัน
4.ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
- เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
- เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
- เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
คุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส.มี 18 ข้อ
มาตรา 98 กำหนด “คุณสมบัติต้องห้าม” ไม่ให้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มี 18 ข้อ ซึ่งหากมีข้อใดข้อหนึ่งจะถูกตัดสิทธิ ไม่สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้
1.ติดยาเสพติดให้โทษ
2.เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
3.เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใด ๆ
4.เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4)
5.อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
6.ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
7.เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
8.เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
9.เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
10.เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
11.เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
12.เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
13.เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
14.เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี
15.เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
16.เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
17.อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
18.เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตาม มาตรา 144 หรือ มาตรา 235 วรรค 3
เลือกตั้ง 2566 เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และร่วมขบวนรณรงค์หาเสียงตั้งแต่ก่อนพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งประกาศ เป็นการชิงอำนาจผ่านการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ระหว่างขั้วฝ่ายค้าน-ขั้วรัฐบาล และเผชิญหน้ากันครั้งแรกในสนามเลือกตั้งระหว่างทีมนายทักษิณ ชินวัตร และทีมของ พล.อ.ประยุทธ์และพวกเครือข่าย