
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 6 เมื่อวันที่ 1 พ.ค. มีสาระตอนหนึ่งอนุญาตให้จำหน่ายสุราได้ แค่ต้องนำไปดื่มที่บ้าน มีผลตั้งแต่ 3 พ.ค. บรรดาผู้ประกอบการจำหน่ายสุรา และประชาชนทั่วไป เครื่องแแอลกอฮอล์ ต่างขานรับแสดงพอใจ เพราะก่อนหน้านี้ มีคำสั่งห้ามซื้อขายไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม
พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ระบุว่า ในประเด็นดังกล่าว สามารถซื้อสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับจากร้านจำหน่ายได้ แต่ไม่สามารถนั่งดื่มในร้าน เริ่มมีผลวันที่ 3 พฤษภาคม โดยให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดในการออกคำสั่งยกเลิกการห้ามจำหน่าย ขณะที่กรุงเทพฯ เป็นอำนาจของทาง ผู้ว่าฯกทม.
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- พระราชินีทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
- Motor Expo 2023 ยอดทะลุ 5 หมื่นคัน ทุบสถิติในรอบ 10 ปี
วิษณุ อธิบาย-ย้ำงดดื่มแบบ มั่วสุม
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าวไทย อสมท หลังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 6) อนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ แต่ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป เนื่องจากเหล้า สุรา เบียร์ ไวน์ ไม่ใช่เครื่องดื่มต้องห้าม ไม่เหมือนยาเสพติด เป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย อยู่ที่ว่าไปขายที่ไหน ดื่มที่ไหน
“เหตุที่ควบคุมเรื่องสุรา เพราะห่วงเรื่อง Social distancing หวั่นมั่วสุมกันในระยะประชิด ฉะนั้นหากไม่มั่วสุมในระยะประชิด ก็ไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น ร้านที่จำหน่ายสุรายังค้าขายได้ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม สามารถขายสุรา ไวน์ เบียร์ได้ แต่ต้องนำไปดื่มที่อื่น ไม่ใช่ที่ร้าน และไม่ดื่มในที่สาธารณะ” นายวิษณุ กล่าว