หุ้นกู้ครบดีลยืดหนี้พุ่ง 17 บริษัท มูลค่าเกือบหมื่นล้าน เครดิตต่ำผิดนัดชำระสูง

Bond Yield - ผลตอบแทนตราสารหนี้
Italian government bonds on trading screentaken from osb bloomberg trading screen

“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” เผยหุ้นกู้ครบกำหนดปีนี้ 5 เดือนแรกขอยืดหนี้พุ่ง 17 บริษัท มูลค่า 9.8 พันล้านบาท พบโอกาสการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นเมื่ออันดับเครดิตต่ำลง

ธาดา พฤฒิธาดา

วันที่ 26 มิถุนายน 2564 นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า 5 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-พ.ค.64) มีหุ้นกู้ที่มีปัญหาจากการระบาดโควิด-19 จำนวน 17 บริษัท โดยขอยืดหนี้ออกไปทั้งหมด 17 บริษัท มูลค่ารวม 9.8 พันล้านบาท เป็นบริษัทรายใหม่ 4 บริษัท มูลค่า 3.48 พันล้านบาท อยู่ในเซ็กเตอร์ขนส่ง(TRANS) อันดับเครดิต A มูลค่าคงค้าง 1,500 ล้านบาท เซ็กเตอร์ยานยนต์(AUTO) อันดับเครดิต B+ มูลค่าคงค้าง 545 ล้านบาท เซ็กเตอร์เหล็ก(STEEL) อันดับเครดิต Non-Rated มูลค่าคงค้าง 1,140 ล้านบาท และ เซ็กเตอร์ท่องเที่ยว(TOURISM) อันดับเครดิต Non-Rated มูลค่าคงค้าง 300 ล้านบาท

ส่วนบริษัทรายเดิม แต่มีหุ้นกู้รุ่นใหม่ที่ครบกำหนดต้องขอยืดหนี้ จำนวน 5 รุ่น จาก 3 บริษัท มูลค่า 3.91 พันล้านบาท อยู่ในเซ็กเตอร์อสังหาริมทรัพย์(PROP) อันดับเครดิต Non-Rated มูลค่าคงค้าง 3,912 ล้านบาท

และบริษัทรายเดิม และหุ้นกู้รุ่นเดิมขอยืดหนี้อีกครั้ง จำนวน 8 รุ่น มูลค่า 2.45 พันล้านบาท อยู่ในเซ็กเตอร์ท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ อันดับเครดิต Non-Rated มูลค่าคงค้าง 1,769 ล้านบาท และ 684 ล้านบาท(ตามลำดับ)

ขณะที่เมื่อปี 2563 มีหุ้นกู้ที่มีปัญหาจากการระบาดโควิด-19 แยกเป็นบริษัทฟื้นฟูกิจการ 1 บริษัท (บมจ.การบินไทย) อันดับเครดิต A มูลค่า 7.2 หมื่นล้านบาท และขอขยายวันไถ่ถอน 14 บริษัท แบ่งเป็นอันดับเครดิต BBB- จำนวน 2 บริษัท อันดับเครดิต BB+ จำนวน 1 บริษัท และ Non-Rated จำนวน 11 บริษัท รวมมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท

โดยชำระคืนหมดแล้ว 3 บริษัท มูลค่า 957 ล้านบาท ชำระคืนบางส่วน 7 บริษัท 3,738 ล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 14,365 ล้านบาท และยังไม่ชำระคืน 4 บริษัท มูลค่า 2,930 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าหุ้นกู้ที่ยังค้างชำระ 13,557 ล้านบาท

นายธาดา กล่าวต่อว่า ส่วนถ้าดูโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ใน 2 ปีของหุ้นกู้อันดับเครดิตต่างๆ พบว่าสูงขึ้นเมื่ออันดับเครดิตต่ำลง