
สภาอุตสาหกรรมฯ เปิดแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้ไทย ดึง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) หนีดิสรัปต์ต้องพัฒนาทั้งอุตสาหกรรม เร่งศูนย์กลาง EV ก่อนเสียตลาดให้อินโดนีเซีย เพิ่มมูลค่าให้ภาคการเกษตร ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพ ไม่ทิ้งผลักดัน SMEs เส้นเลือดฝอยของระบบเศรษฐกิจ
วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) กล่าวในงานสัมมนา “สู่โอกาสใหม่ Stronger Thailand” จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายทุกด้าน ในภาคอุตสาหกรรมเองจะพบกับ 4 เหตุการณ์ที่เรียกว่า “VUCA” คือ
- สินมั่นคงฯ : คปภ.เกาะติดกระบวนการฟื้นฟูกิจการ-ส่งสัญญาณเตือน ปชช.
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- ญี่ปุ่นสู้ศึก EV จีน-ลุยส่งออก โตโยต้ายอดพุ่ง “BYD-เทสลา” แรง
1.ความผันผวน (Volatility) เกิดดิจิทัลดิสรัปต์ที่ทุกอุตสาหกรรมโดนทั้งหมด ภาคอุตสาหกรรมต้องหนีตายและจำเป็นต้องปรับตัว (Tranfromation) เป็น 4.0 จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.0-2.5 เท่านั้น
2.ความไม่แน่นอน (Uncertainty) เกิดเทรดวอร์สงครามการค้าระหว่างจีนและอเมริกา ทำให้มีสินค้าบางตัวที่ถูกกีดกันทางการค้า เกิดทั้งผลบวกและลบ เกืดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศใหม่ทั้ง ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย
3.ความซับซ้อน (Complexity) เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 มีเพียงภาคการส่งออกเท่านั้นที่รอด ซึ่งนั่นมาจากภาคอุตสาหกรรม ทำให้ GDP ปี’64 โต 1.6% จากที่ติดลบ 6% ในปี 2563
4.ความคลุมเครือ (Ambiguity) เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบวัตถุดิบทำให้เกิดซัพพลายดิสรัปต์ ทั้งชิป ปุ๋ยเคมี อาหาร จึงคาดการณ์ได้ว่าสิ้นปี 2565 นี้ทั่วโลกจะขาดแคลนอาหารแน่นอน
ในส่วนของ ส.อ.ท. เองมีวิชั่นสำคัญคือ สร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทยเพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม ด้วยการดึงสมาชิกทั่วประเทศ 14,000 บริษัท รวม SMEs รวมเป็นทีมเดียวกัน เชื่อมโยงการทำงานกับภาครัฐ ทำการกับเอกชนด้วยกันเอง เชื่อมโยงกับต่างประเทศ และแน่นอนว่าทั้งหมดจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันที่ชัดเจน
“เรามี 45 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ 76 สภาอุตสาหกรรม มี 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) มีนโยบาย BCG มีเรื่อง Climate Change ทั้งหมดนี้เราจะมุ่งไปเป้าเดียวกันให้มันคือทางรอดของภาคอุตสาหกรรม เราจะดึงโครงการ SAI (การส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ :Smart Agriculture Industry) หรือ SAI In The City มาเป็นตัวขับเคลื่อน”
สำหรับ S-Curve อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ คืออุตสาหกรรมเดิมซึ่งไทยเองมีกำลังการผลิตถึง 3 ล้านคัน/ปี มีซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง แต่เมื่อยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาเป็นเทรนด์โลก ไทยจำเป็นต้องเร่งให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของ EV ก่อนที่จะเสียโอกาสและตลาดให้กับอินโดนีเซีย เพราะมีวัตถุดิบมีแร่นิกเกิล ซึ่งเป็นส่วนสำหรับในการผลิตแบตเตอรี่ ดังนั้นแล้วไทยเองเมื่อมีโอกาสมีดีมานด์ (ยอดจอง) ที่สูงถึง 10,000 คัน/ปี มากกว่าอินโดนีเซียที่มียอดจองเพียง 1,000 คัน/ปีเท่านั้น ดังนั้นไทยต้องเร่งให้เร็ว
นอกจากนี้ ไทยต้องไม่หยุดการพัฒนาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แม้ไทยจะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของโลก แต่ไทยเองผลิตหลัก ๆ คือฮาร์ดดิส ซึ่งปัจจุบันชิ้นส่วนมันไปไกลเป็นขั้นสูงหมดแล้ว ไทยต้องไม่เสียโอกาสและช้าไปคู่แข่ง
รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน จำเป็นต้องได้นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีการจับจ่ายใช้สอยที่สูงขึ้นซึ่งอาจต้องใช้เรื่องของอุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพมาเป็นตัวดึงดูด จะทำให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตแบบมีคุณภาพได้มาก
ขณะที่อุตสาหกรรมการเกษตร จำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม ไปสู่อาหารแห่งอนาคต ใช้เรื่องของ BCG มาเป็นตัวนำเช่น การใช้ฟ้าทะลายโจรมาผลิตเป็นยา ขยายไปสู่เครื่องสำอาง อาหารเพื่อสุขภาพ ใช้งานวิจัยเข้ามาช่วย เช่น การดึงเอาเส้นใยกัญชงกัญชาขยายต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ การดึงเอาเปลือกมังคุดที่สะกัดเป็นสารตั้งต้นเพื่อทำเป็นยา หรือการนำเอาสารที่สกัดตากเห็ดมาผลิตเป็นเครื่องหนัง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การแพทย์ ชีวภาพ หุ่นยนต์ การบิน ดิจิทัล มีแนวโน้มการลงทุนที่สูงขึ้น ทั้งหมดนี้ คือแนวทางที่จะทำให้เศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมไทยเข้มแข็ง และต้องผลักดันให้ความช่วยเหลือรายเล็ก SMEs ไปด้วย
- ชัชชาติ-ส.อ.ท. ปั้นชุมชนคลองเตยต้นแบบ BCG-คลองหัวลำโพงเวนิสตะวันออก
- ส.อ.ท. จัดใหญ่ FTI Expo 2022 คิกออฟเปิดเมืองเชียงใหม่ 29 มิ.ย.-3 ก.ค.นี้