
คอลัมน์ :ชั้น 5 ประชาชาติ ผู้เขียน : ณัฏฐ์พิชญ์ วงษ์สง่า [email protected]
ต้องยอมรับว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ มีความพยายามในการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศด้วยการท่องเที่ยว
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- กรุงไทย-ออมสิน ระเบิดโปรฯ เงินฝาก “ดอกเบี้ยพิเศษ” เช็กเงื่อนไขที่นี่
จากการเปิดแบบมีเงื่อนไขเมื่อปลายปี 2564 วันนี้มาตรการเข้าประเทศกลับมาแทบจะปกติ 100% แล้ว
จากการติดตามแผนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยมาต่อเนื่อง ประเด็นที่น่าดีใจคือ ทุกครั้งที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ กระแสการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นตลอด จากวันละไม่กี่ร้อยคนเมื่อครั้งที่เปิด “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” วันนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาวันละ 2-3 หมื่นคน
สะท้อนว่า ทุกอย่างเดินมาถูกทาง
แต่หากถามว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามานี้เป็นนัยสำคัญที่ส่งสัญญาณว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยพลิกฟื้นกลับมาตั้งตัวกันได้หรือยัง ต้องบอกว่าจำนวนนี้ยังน้อยมาก เมื่อเทียบกับอดีต หรือเทียบกับจำนวนห้องพักที่ลงทุนไว้ก่อนหน้านี้
ในทางกลับกันยังมีหลายประเด็นที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องการฟื้นตัวเป็นหย่อม ๆ ผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก ทั้งโรงแรม บริษัททัวร์ รถขนส่ง รวมถึงสายการบินที่ยัง “เจ็บ” ท่ามกลางกระแสการฟื้นตัวอยู่
โดยจากการสำรวจล่าสุดของสมาคมโรงแรมไทยในเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่าโรงแรมที่เปิดให้บริการนั้นยังมีรายได้ใน “ระดับต่ำ” ซึ่งกว่า 70% ระบุว่ารายได้ยังกลับมาไม่ถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด)
ส่วน “สายการบิน” ต่างกัดฟันแบกรับต้นทุน “น้ำมัน” ที่เพิ่มขึ้นมหาศาล เช่นเดียวรถขนส่ง บริษัทนำทัวร์ ไกด์ที่แทบไม่ได้รับอานิสงส์เลย
ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหลายคน ต่างประเมินว่าผู้ประกอบการเกือบทุกรายที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ต่างอยู่ในสถานะ “หน้าชื่นอกตรม” เพราะไม่มีใครที่ไม่ขาดทุน
ที่สำคัญ ยังยอมรับมาตรฐานการให้บริการก็ลดลงในทุกเซ็กเตอร์ด้วย
สังเกตง่าย ๆ ดูจากคิวเช็กอินที่สนามบินละกันว่ายาวและใช้เวลานานมาก เพราะเปิดเคาน์เตอร์เช็กอินน้อย
เช่นเดียวกับโรงแรม ใครที่เดินทางในช่วงนี้จะเห็นชัดเจนว่าโรงแรมแต่ละแห่งมีผู้ให้บริการจำนวนน้อยมาก และยังไม่ให้บริการได้ทั่วถึงเหมือนในอดีต
ผู้บริหารท่านหนึ่งบอกว่า วันนี้สถานประกอบการจำนวนมากทำใจเรื่องของมาตรฐานการให้บริการ เพราะคนที่กลับมาทำงานไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์ จึงขาด service mind ซึ่งเคยเป็น “จุดแข็ง” ของการให้บริการของคนไทยนั้นขาดได้หายไป
ที่สำคัญกว่านั้น พนักงานที่มาทำงานส่วนใหญ่ยังได้รับค่าจ้างกันเพียงแค่ประมาณ 50-70% ของจำนวนที่เคยรับเมื่อก่อนโควิดเท่านั้น
เรียกว่า นอกจากเจ้าของสถานประกอบการแล้ว คนให้บริการเองก็ “หน้าชื่น-อกตรม” ด้วยเช่นกัน