ซีเซียม-137 กรมโรงงานฯ ย้อนเส้นทางสาร ยันโรงไฟฟ้าโรงเหล็กทำตามกฎหมาย

ภาพจากข่าวสด

กรมโรงงานอุตสาหกรรม แจงต้นเหตุโรงไฟฟ้าไอน้ำ ต้องรายงานการครอบครองสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 ทุกปี แจ็คพอตปีนี้หายปลายทางสู่โรงหลอมเหล็ก ยังไม่ลงดาบโรงงานใด เนื่องจากทุกแห่งแจ้งรายงานตามกฎหมายโรงงานทุกขั้นตอน คาดผิดกฎหมายปรมาณูเพื่อสันติ

วันที่ 20 มีนาคม 2566 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากกรณีที่มีการตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 ในบริษัท เค.พี.พี. สตีล จำกัด ซึ่งเป็นโรงหลอมเหล็ก ตั้งอยู่พื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี นั้น

ล่าสุดยืนยันว่าซีเซียม-137 น่าจะมีการถูกหลอมไปแล้ว เนื่องจากมีการตรวจพบสารดังกล่าวในฝุ่นแดง

ทั้งนี้ หากย้อนเส้นทางการครอบครองสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 แล้วนั้น ภายใต้ พ.ร.บ.โรงงาน 2562 จะมีอำนาจในการควบคุมดูแลโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดทั่วประเทศ โดย

1.ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องรายงานการใช้สารกัมมันตภาพรังสีทุกประเภททุกปี ในช่วงเดือน เม.ย.ของทุกปี

2.กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีหน้าที่อมุมัติ อนุญาตกากอุตสาหกรรม เมื่อโรงงานมีการทำลายวัตถุใด ๆ เกิดขึ้น จะเรียกว่า “กากอุตสาหกรรม” ซึ่งโรงงานจะต้องมีการแจ้งการขนย้ายเมื่อจะนำออกไปพื้นที่ ทั้งปริมาณ ขนาด เส้นทางการขนย้าย แหล่งปลายทางที่จะนำไปกำจัด เช่น โรงงานรีไซเคิล

จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)

โดยกรณีของซีเซียม-137 นี้ โรงไฟฟ้าไอน้ำ บริษัทต้นเรื่องได้มีการตรวจสอบและรายงานการใช้ การครอบครองซีเซียม-137 ทุกปี จนกระทั่งเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน มีการตรวจสอบ เพื่อจัดเตรียมทำรายงานต่อ กรอ. ในเดือน เม.ย. 2566 ที่จะถึงนี้ จึงพบว่ามีสารซีเซียม-137 หายไป 1 ตัว จากทั้งหมด 10 ตัว

จากนั้นจึงรีบแจ้งต่อ กรอ. และประสานไปยัง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) เพราะอยู่ภายใต้การดูแลของ พ.ร.บ.ปรมาณูเพื่อสันติ และได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี เพื่อตรวจสอบเส้นทางการสูญหาย

“ในส่วนนี้โรงไฟฟ้าเขาแจ้ง รายงานมาตามขั้นตอนกฎหมายของกรมโรงงาน แต่มันผิดกฎหมายปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งทาง ปส. เขาต้องไปตรวจสอบว่าทำไมมันถึงหายออกจากโรงไฟฟ้าได้ เส้นทางมันไปมายังไง”

และพบว่า ได้ถูกไปยังบริษัท เค.พี.พี. สตีล จำกัด ซึ่งเป็นโรงหลอมเหล็ก ตั้งอยู่พื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งทางโรงหลอมก็ยืนยันว่า วัตถุที่รับมานั้นไม่ได้ถูกแจ้งว่าเป็นอะไร มีลักษณะคล้ายแท่งเหล็ก จึงได้ส่งเข้าโรงหลอม ซึ่งขณะที่เข้าตรวจไม่พบแท่งซีเซียม 137 แต่พบสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 ปะปนอยู่ในฝุ่นแดง จึงคาดว่าได้มีการหลอมไปแล้ว

ซีเซียม-137 หาย
ภาพจาก ข่าวสด

ขณะที่ โรงงานหลอมเหล็กดังกล่าว ได้มีการแจ้งการขนยายกากอุตสาหกรรมเพื่อไปรีไซเคิลต่อที่ จ.ระยอง 12.4 ตัน เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบ แต่กากอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่พบสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม-137 ดังนั้นจึงยังคาดว่าฝุ่นแดงที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม-137 ยังคงอยู่ที่โรงหลอมเหล็ก ไม่ใช่ลอตที่ถูกส่งออกไปรีไซเคิลที่ระยอง

ภาพการค้นหาซีเซียม-137
ภาพการค้นหาซีเซียม-137

“โรงไฟฟ้าไอน้ำไม่ผิด เพราะเขามีการรายงานมาที่กรมทุกปี ส่วนโรงหลอมเหล็กเราก็ไม่มีอำนาจไปปิดเขา เพราะเขารับของมาหลอมก็ไม่ทราบว่าคืออะไร ที่ปนมากับเศษเหล็ก และเมื่อเป็นกากอุตสาหกรรมเขาก็แจ้งขออนุญาตเราเพื่อขนย้ายตามกฎหมาย เมื่อ 3 เดือนก่อน เราได้ขอให้ กรมศุลกากร ช่วยตรวจการนำเข้าเศษเหล็ก ซึ่งก็ไม่พบสารกัมมันตภาพรังสีอื่น ๆ และเพื่อไม่ให้มีการหลุดรอดออกมา จากนั้นอาจต้องมีการวางมาตรการที่เข้มงวด ในการให้ทุกโรงหลอมติดตั้งเครื่องตรวจสารกัมมันตภาพรังสีทุกประเภทไว้”

“ส่วนโรงหลอมเหล็กเราก็ไม่มีอำนาจไปปิดเขา เพราะเขารับของมาหลอมก็ไม่ทราบว่าคืออะไร ที่ปนมากับเศษเหล็ก และเมื่อเป็นกากอุตสาหกรรมเขาก็แจ้งขออนุญาตเราเพื่อขนย้ายตามกฎหมายโรงงาน ตอนที่เขาแจ้งเพื่อขอขนย้ายเขาก็ไม่มีเครื่องมือตรวจสอบว่ากากอุตสาหกรรมหรือฝุ่นแดงตัวนี้ มันถูกปนเปื้อนสารซีเซียม 137 ถ้าฝุ่นแดงตัวนี้เราตรวจพบว่ามีสารซีเซียมแน่นอนว่าเราจะไม่อนุญาตเขาขนย้ายแน่นอน ซึ่งต่อจากนี้ทาง ปส. ก็ต้องไปตรวจสอบกองฝุ่นแดงที่ยังอยู่ที่โรงหลอมเหล็ก เพื่อดำเนินการต่อไป


เมื่อ 3 เดือนก่อน เราได้ขอให้ กรมศุลกากร ช่วยตรวจการนำเข้าเศษเหล็ก ซึ่งก็ไม่พบวารกัมมันตภาพรังสีอื่นๆ และเพื่อไม่ให้มีการหลุดรอดออกมา จากนั้อาจต้องมีการวางมาตรการที่เข้มงวด ในการให้ทุกโรงหลอมติดตั้งเครื่องตรวจสารกัมมันตภาพรังสีทุกประเภทไว้”