อุ้มโรงกลั่นด่วน ต้นทุนน้ำมันยูโร 5 พุ่ง แต่ต้องตรึงราคาเดิม 1 ม.ค.2567

เกรียงไกร เธียรนุกุล

ต้นทุนน้ำมันยูโร 5 พุ่ง แต่ต้องตรึงราคาเดิม ต้นเหตุ ‘เกรียงไกร เธียรนุกุล’ ส.อ.ท.สุดทนร้องรัฐอุ้มโรงกลั่น นาทีสุดท้ายก่อนบังคับใช้ 1 ม.ค.2567

วันที่ 29 ธันวาคม 2566 ในวันที่ 1 มกราคม 2567 จะเป็นวันแรกที่การจำหน่ายน้ำมันยูโร 5 เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งในขณะนี้ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือด่วน (28 ธันวาคม 2566) ถึง รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)

เพื่อขอให้ภาครัฐพิจารณาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงกลั่นที่ต้องลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันยูโร5 ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 50,000 บาทในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา แต่ต้องมาจำหน่ายในระดับราคาเดิมโดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลยูโร 5 ซึ่งถูกตรึงราคาไว้ที่ลิตรละ 30 บาท

“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “เกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้เซ็นหนังสือในวันที่ 28 ธันวาคม 2567 เพื่อยื่นต่อกระทรวงพลังงาน

ที่มาที่ไปของการร้องเรียน

เนื่องมาจากการพัฒนาและปรับปรุงเรื่องการใช้ำมันที่มีเกีดที่สุงขึ้น เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งได้เริ่มทำกลับมาทำกันอย่างจริงจังเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จากสาเหตุสำคัญต้นืางที่ทำให้เกิด PM2.5 มาจาก การเผาภาคการเกษตรมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 54% ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 17% ค่าขนส่งอยู่ที่ 13% การผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 8% อื่นๆอีก 8%

แต่พอเข้ามาที่เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า สัดส่วนของภาคการขนส่งพุ่งขึ้นจาก 13% เป็น 72% ในขณะที่สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมและภาคอื่นๆยังคงเดิม

ADVERTISMENT

ซึ่งแนวทางในการช่วยเหลือของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา คือ การขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการผู้ให้บริการในการจำหน่ายน้ำมันเครื่องช่วยเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้กับประชาชนทั่วไป ในราคาพิเศษ ซึ่งมีรถมาใช้บริการมากกว่า 200,000 คันในช่วงที่ผ่านมา

แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ซึ่งเราพบว่าการแก้ที่ต้นเหตุคือการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการผลิตน้ำมันจากต้นทางโดยการปรับเปลี่ยนมาตรฐานจากยูโร4 เป็นยูโร 5 เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในส่วนนี้จะทำให้ลดมลพิษและการปล่อย PM 2.5 ได้มาก เกือบครึ่งหนึ่งถ้าเทียบกับเครื่อง ถึงแม้ว่าเราจะพบว่าจำนวนเครื่องยนต์ที่สามารถใช้ euro 5 ในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากก็ตาม ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ยูโร4

ADVERTISMENT

ฉะนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันจึงได้มีการลงทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันในมาตรฐานยูโร 5 ได้ ก็พร้อมกันทำตามนโยบาย ซึ่งทั้ง 5-6 ลงกันได้มีการลงทุนไปประมาณ 50,000 ล้านบาท และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการจำหน่ายน้ำมันยูโร5 ในวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นของขวัญปีใหม่ ตามไทม์ไลน์

ปัญหา คือ ราคา

แน่นอนว่าด้วยการพัฒนามาตรฐานใหม่ที่มีการลงทุนใหม่ทั้งหมดทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้น การปรับราคาน้ำมันตามมาตรฐานหนักใหม่จึงต้องควรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่มีการปฏิบัติทั่วไป จุดนี้จึงอนากให้ท่านรัฐมนตรีดูแลให้เป็นไปตามระยะเวลาในการเริ่มบังคับใช้ เพราะทางโรงกลั่นทุกโรงพร้อมแล้วที่จะจำหน่ายน้ำมันยูโร 5

ต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นเฉลี่ยกี่บาทต่อลิตร

ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงกลั่นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงกลั่น ซึ่งในกรณีของการจำหน่ายน้ำมันดีเซลที่รัฐบาลมีมาตรการตรึงราคาไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรนั้น เราทราบว่ามีโรคที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกอยู่แล้ว

“ซึ่งทั่วโลกถ้ามีการปรับมาตรฐานเป็นยูโร5 ราคาก็ต้องปรับขึ้น ซึ่งถามว่าผลกระทบจะถึงขั้นขาดทุนหรือไม่ก็อย่างที่อธิบายไปว่าได้มีการลงทุน ใหม่ 5 หมื่นล้าน ให้ผู้ประกอบการทั้งหมดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ในเรื่องของการคืนทุน ก็ต้องแบกรับภาระตรงนั้น”

สิ่งที่โรงกลั่นขอคือขอขึ้นราคาเท่าไหร่หรือมีแนวทางในการคำนวณราคาอย่างไร

ในจดหมายที่นำเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นการให้ข้อมูลตามหลักการแต่ว่ายังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด

“เราบอกเราพร้อมแล้วทำตามนโยบายจะคลิก start วันที่ 1 เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชน แต่ว่าในอีกส่วนหนึ่งของภาครัฐก็ต้องสอดคล้องกันตามสิ่งที่ควรจะเป็น ตามกลไกตลาดปกติ มีเกณฑ์ทั่วโลกใช้อยู่”

ในกรณีที่รัฐบาลยังยืนยันนโยบายตรึงราคาจะต้องมีมาตรการมาอุดหนุนตรงกันหรือไม่อย่างไร

ใช่ในกรณีที่รัฐบาลยังมีมาตรการตรึงราคาก็ต้องหามาตรการมาอุดดหนุน ซึ่งก็คล้ายๆกับกรณีของค่าไฟฟ้า คุณไม่อยากปรับให้ประชาชนรับภาระรัฐบาลก็ต้องเข้ามาชดเชย
โดยตรงไห้กับโรวกลั่ที่ลงทุน

ถ้าซื้อเวลาไม่ตัดสินใจจะมีผลกับปริมาณยูโรไฟล์หรือไม่

ตอนนี้ยังตอบไม่ได้เพราะต้องรอดูนโยบายของภาครัฐและต้องรอดูว่าโรงกลั่นจะทนไหวได้มากแค่ไหน

แต่หากรัฐบาลมีความประสงค์ที่จะช่วยลดฝุ่น PM 2.5 และต้องการที่จะให้ของขวัญกับประชาชนก็ควรจะมีการพิจารณามาตรการเข้ามาช่วยเหลือในตรงนี้ อาจจะต้องพิจารณาว่าจะหาเงินจากที่ไหนมาชดเชยให้กับกลุ่มโรงกลั่นที่ได้ลงทุนไปแล้ว

โรงกลั่นใน ส.อ.ท. ที่กระทบมีกีาโรงมากน้อยเพียงใด

มีประมาณ 6 โรง 5 เจ้า คิดเป็นกำลังการผลิตเกือบ 100% แต่อาจจะมีโรงเล็กๆ อยู่นอกสภา

เหตุผลที่ทำจดหมายด่วน 28 ธ.ค.66

สาเหตุที่เพิ่งมายื่นในวันสุดท้ายก่อน ปีใม่ทั้งที่ประกาศมาสักพักแล้ว เพราะ เพราะเรารอดูในช่วงที่ผ่านมาแต่ยังไม่เห็นท่าที และพอเปิดมาก็ต้องเริ่มจำหน่ายแล้ว มาปรึกษาการว่าควรจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการเพื่อไปนำเรียนไม่ใช่ไม่เดือดร้อน เหมือนเรื่องค่าไฟซึ่งเราก็ไม่อยากพูดแล้วเพราะเป็นปัญหาเดิมๆ ที่ภาคเอกชนขอ เหมือน กรอ.พลังงานที่เราขอมาตลอด