
สมาคมแป้งมันสำปะหลังร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ห่วงสถานการณ์ผลผลิต-ส่งออกมันสำปะหลังไทย จากผลกระทบโรคใบด่างระบาด ล่าสุดมูลค่าอุตสาหกรรมลดกว่า 50,000 ล้านบาท หวังให้ภาครัฐช่วยหาทางแก้ไขด่วนก่อน
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นายชุมพล ขจรเฉลิมศักดิ์ นายกสมาคมแป้งมันสำปะหลัง เปิดเผยว่า สมาคมและมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลังไทยที่แพร่ระบาดตั้งแต่ปี 2561 ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลังไปจนถึงปริมาณส่งออกทั้งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์แป้งมันลดน้อยลงอย่าง โดยพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังไทยปัจจุบันมีอยู่กว่า 9 ล้านไร่ เจอผลกระทบใบด่างระบาดไปแล้วกว่า 3 ล้านไร่ และหากไม่เร่งแก้ไขพื้นที่เพาะปลูกมันจะลดลงต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังกระทบยอดส่งออกมันสำปะหลังไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยยอดส่งออกมันสำปะหลังไทยในปี 2566 ปริมาณลดลง 30% คิดเป็นมูลค่าลดลงถึง 16.62% หรือ 127,407 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 2565 ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้ามันสำปะหลังลดลงมากถึง 20-30% หรือทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมลดลงไปแล้วประมาณ 50,000 ล้านบาท และอาจลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ด้วย
โดยมันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 700,000 ครัวเรือน และก่อให้เกิดการจ้างงานในอุดสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่า 20 ปี โดยที่ผ่านมามีมูลค่าส่งออกสูงถึง 150,000 บาทต่อปี และการใช้ภายในอีกประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี มูลค่ารวมทั้งอุตสาหกรรมมันสำปะหลังประมาณ 200,000 ล้านบาท และยังมีมูลค่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากกว่า 300,000 ล้านบาท
นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และปัจจุบันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย ต้องประสบกับภาวะวิกฤตขาดแคลนผลผลิต ไม่เพียงพอต่อความต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีการผลิตที่ผ่านมา ผลผลิตมันสำปะหลังของไทยมีปริมาณลดลงจากในอดีตที่ได้ผลิตมากกว่า 30-33 ล้านตันต่อปี เหลือเพียงประมาณ 24-26 ล้านตันต่อปี อีกทั้งคุณภาพผลผลิตที่ลดลงด้วย ทำให้ตันทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นอย่างมาก
“หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน และทำให้สินค้ามันสำปะหลังไทยไม่สามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกต่อไป”
สาเหตุผลผลิตลด
ผลผลิตมันสำปะหลังที่ลดลงนั้น มีสาเหตุสำคัญจากการระบาดของโรคใบด่างมันลำปะหลังที่เป็นโรคอุบัติใหม่พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2561 โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus สายพันธุ์ Sri Lankan (SLCMV/มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรด และการนำต้นพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ เกิดภาวะขาดแคลนต้นพันธุ์สะอาดปลอดโรค มีการใช้พันธุ์อ่อนแอต่อโรคและที่เป็นโรคอยู่แล้วไปปลูกขยายต่อ แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมการระบาดได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ซึ่งภาคเอกชนประเมินว่าพบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทยแล้วไม่น้อยกว่า 3 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศประมาณ 9 ล้านไร่ หรือประมาณ 30% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด หากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไม่ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ภาคเอกชนเชื่อว่าภายในระยะเวลาอันสั้น โรคใบด่างมันสำปะหลังจะระบาดไปในพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ สร้างความเสียหายและเกิดหายนะต่ออุตสาหกรรมอย่างใหญ่หลวง
ทั้งนี้ 2 องค์กรได้ตระหนักถึงภัยอันตราย ได้จัดทำปรับปรุงพันธุ์ต้นทานและการใช้วิธีการควบคุมโรคพืชรวมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถคัดลือกพันรุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังชุดแรก 3 พันธุ์ และได้รับพระราชทานซื่อพันธุ์จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ พันธุ์อิทธิ 1 พันธุ์อิทธิ 2 และพันธุ์อิทธิ 3
รวมทั้งยังมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ลูกผสมต้านทานโรค เพื่อให้มีผลผลิตดีขึ้น แม้จะไม่สูงเท่ากับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 แต่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์เพื่อนำไปปลูกทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เพื่อช่วยยับยั้งการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้พันธุ์ต้านทานให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศไทยภายในเวลา 5 ปี เพื่อให้ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยทั้งระบบคงขีดความสามารถการแข่งขันที่ยั่งยืน ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งหามาตรการช่วยเหลือโดยจัดหาพันธุ์ที่ทนทานเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสะปะหลังกันต่อไป
ลักษณะของโรคใบด่าง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease, CMD) เกิดจากเชื้อ Cassava Mosaic Virus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง โดยทำให้ใบด่าง ต้นแคระแกรน และผลผลิตลดลง
พบการระบาคเข้าสู่เอเชียใต้ในประเทศศรีลังกาและอินเดีย และมีเพียงสายพันธุ์ SLCMV (Sri Lankan Cassava Mosaic Virus) ได้แพร่เข้าสู่ประเทศกัมพูชา
ด้านจังหวัดรัตนคืรี เมื่อปี 2559 และประเทศเวียดนาม จังหวัดเตนินห์ ชายแคนเวียดนาม กัมพูชา ในปี 2560 และแพร่เข้าสู่ประเทศไทยทางบริเวณจังหวัดชายแดน ไทย-กัมพูชา ด้านจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และปราจีนบุรี เมื่อปี 2561
มูลนิธิตระหนักถึงอันตรายของโรคใบด่างมันสำปะหลังนี้ ตั้งแต่ปี 2559 จึงได้ร่วมกันเผยแพร่ถึงอันตราย และผลกระทบที่จะเกิดต่อการผลิตมันสำปะหลังของประเทศและย้ำถึงการแก้ไขการระบาคของโรคใบด่างในแอฟริกาและเอเชียใต้ว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังนี้ไม่มียารักษา ไม่มีมาตรการใดแก้ไขได้นอกจากต้องใช้พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างที่เหมาะสมมา
เปลี่ยนให้เกษตรกรปลูกทั่วประเทศ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นจากการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก มูลนิธิได้ทำโครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์ต้านทาน CMD ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2560 และได้รับความร่วมมือจากศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (Centro Internacional de Agricultura Tropical, CIAT) และสถาบันเกษตรเขตร้อนนานาชาติ (International Institute of Tropical Agriculture, IITA) และได้นำสายพันธุ์ต้านทาน CMD จาก ITA เข้ามารวม 5 สายพันธุ์ ในปี 2561 เพื่อทดลองปลูก
โดยผ่านการตรวงควบคุมโรคพืชของกรมวิชาการเกษตร ผลการทคสอบในช่วงปี 2561-2566 ได้คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคใบด่างระดับสูง (ตารางที่ 1 และ 2) และเหมาะแก่การปลูกในประเทศไทย จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ TME B419, IITA-TMS-IBA980581 และ ITA-TMS-IBA920057 และ โครงการได้มอบต้นพันธุ์ของทั้ง 3 สายพันธุ์ จำนวน 17,000 ลำให้แก่มูลนิธิ ในเดือนมีนาคม 2566