พาณิชย์เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือติดตามสถานการณ์ผลผลิตและการส่งออกข้าวไทย หวั่นจะเกิดการขาดแคลนจากสภาวะปัญหา โควิด-19 หลังหารือยืนยัน ปริมาณข้าวเพียงพอและราคาข้าวถุงจะไม่มีการปรับขึ้นอย่างแน่นอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือและติดตามสถานการณ์การค้าข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกับตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า เพื่อติดตามสถานการณ์และหารือถึงสถานการณ์ผลผลิตข้าวภายในประเทศ เพื่อให้เกิดดุลยภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณและความต้องการบริโภคภายใน และการส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
จากการหารือเบื้องต้นพบว่า ปริมาณผลผลิตข้าวไทยในฤดูการผลิต 2562/63 คาดการณ์ว่าปริมาณข้าวจะออกสู่ตลาดอยู่ที่ 18.8 ล้านตัน ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกข้าวไปต่างประเทศของปี 2563 คาดการณ์ว่าอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน ส่วนปริมาณความต้องการบริโภคภายในประเทศทั้งปีคาดการณ์อยู่ที่ 8 ล้านตัน ขณะที่สถานการณ์ราคาข้าวเปลือก พบว่า ข้าวเปลือกสด ราคาตลาดณ ปัจจุบันอยู่ที่ 9,500 บาทต่อตัน ขณะที่ข้าว เปลือกแห้งที่ความชื้น 15% ราคาตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 10,200 ถึง 11,000 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ เพื่อบริหารจัดการให้ปริมาณข้าวภายในประเทศให้มีเพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบัน กรมการค้าต่างประเทศร่วมกับผู้ส่งออกข้าวจะจัดทำแผนการส่งออกข้าวร่วมกัน โดยจะกำหนดเป้าหมายให้ การส่งออกข้าวแต่ละไตรมาส ควรจะมีปริมาณการส่งออกเท่าไหร่เพื่อให้ไม่กระทบต่อปริมาณค่าภายในประเทศโดยมีเป้าหมายไม่ต้องการให้การส่งออกข้าวแต่ละช่วงเวลาเกิดการกระจุกตัวและกระทบปริมาณข้าวภายใน รวมทั้งการจัดทำแผนการส่งออกโดยเน้น”ตลาดนำการผลิต” ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกับทุกหน่วยงานร่วมกันจัดทำแผนการตลาดขึ้น
” เป้าหมายของการทำตลาดยังจะคงรักษาตลาดเดิมและเปิดตลาดใหม่หากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติจะเร่งผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะตลาดอิรัก เป็นต้น พร้อมกันนี้ก็จะส่งเสริมการนำข้าวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารขนม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยนำเรื่องของนวัตกรรมเข้ามาส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อผลักดันให้สินค้าออกไปสู่ตลาดให้มากขึ้น”
นอกจากนี้ ยังสั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือ ทูตพาณิชย์ทั่วโลก ติดตามสถานการณ์ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในตลาดโลกซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ให้รายงานกลับมาถึงสถานการณ์และผลกระทบเข้ามาเพื่อที่จะนำมาหารือและปรับปรุงแนวทางในการแข่งขันและขยายการส่งออกข้าวไทยไปในอนาคต อย่างไรก็ดีนอกจากประชุมหารือร่วมกันติดตามถึงสถานการณ์ผลผลิตและสถานการณ์เข้าภายในประเทศและการส่งออกทั้งนี้ผู้ประกอบการข้าวถุงยางได้เข้าร่วมโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชนปรับลดราคาข้าวถุงลง 8 – 30 %เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต
ข้าวถุงที่ลดราคาอย่าง เช่น ข้าวมาบุญครองข้าวหอมมะลิ 100% ลดราคาจาก 299 บาทเหลือ 199 บาท ลด 100 บาทถือว่าลดประมาณ 33% รายถัดไปที่ลดเยอะข้าวเสาไห้ ตราเบญจรงค์ ลดจาก 128 บาทเหลือ 89 บาท ลดประมาณ 30% ถัดมาเข้าหอมมะลิตราปิ่นเงิน ลดราคาจาก 229 บาทเหลือ 169 บาท ลด 26.2% ข้าวหอมมะลิตราแสนดี ลดราคาจาก 197 เหลือ 179 ข้าวหอมมะลิตามบิ๊กซี 199 เหลือ 169 ข้าวเสาไห้ตราเบญจรงค์ 128 เหลือ 89 ข้าวพันธุ์ดีจาก 95 เหลือ 79 ข้าวปิ่นเงินหอมมะลิลดจาก 182 บาทเหลือ 159 บาท เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 15 ราย อย่างไรก็ดี
ล่าสุดข้าวตราฉัตรจากข้าวสารบรรจุถุงมีตราสัญลักษณ์โครงการ “พาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน” จำนวน 200,000 ถุง ลดราคาจากเดิมที่เคยขาย 150 บาทเหลือ 115 บาท ลดถึง 35 บาทต่อถุง และยังมีผู้ประกอบการข้าวถุงสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมซึ่งจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป
ด้านนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า จากเป้าหมายที่ผู้ส่งออกคาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวไทยในปี 2563 จะอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน และเพื่อให้ปริมาณการส่งออกข้าวสมดุลกับปริมาณความต้องการข้าวภายในประเทศ เบื้องต้น มองว่าการส่งออกข้าวแต่ละไตรมาสควรจะส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ ไตรมาส 2 ส่งออกข้าวอยู่ที่ปริมาณ 2 ล้านตัน และไตรมาส 3 และ 4 เฉลี่ยการส่งออกแต่ละไตรมาสอยู่ที่ 2 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ ปริมาณการส่งออกทั้งปี เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ สำหรับการส่งออกข้าว ไตรมาส 1 ของปี 2563 เฉลี่ยการส่งออกอยู่ที่ 1.8 ล้านตัน ส่วนสถานการณ์ข้าวในตลาดโลกขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะ การส่งออกข้าวของประเทศเวียดนามในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกข้าวในราคาถูกแต่เมื่อเจอปัญหาเรื่องของโควิด-19 ปัจจุบันทำให้เวียดนามชะลอการส่งออกลง รวมไปถึงอินเดียปัจจุบันพบว่าอินเดียมีปัญหาในเรื่องของสถานการณ์การขนส่ง เนื่องจากอินเดียประกาศปิดประเทศ 30 วันทำให้การขนส่งทางน้ำมีปัญหา ดังนั้น จะทำให้ปริมาณการส่งออกของอินเดียชะลอตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า หันมาให้ความสนใจในการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมากขึ้น
ดังนั้น เรื่องของการส่งออกข้าวไปต่างประเทศจึงต้องมีการวางแผนและระมัดระวังเพื่อไม่ให้ผลกระทบ ต่อปริมาณความต้องการเข้าภายในประเทศดังนั้นการกำหนดปริมาณการส่งออกในแต่ละไตรมาสจะช่วยให้ปริมาณข้าวทั้งด้านการส่งออกและด้านการบริโภคมีความสมดุลกันและยืนยันว่าจะไม่ให้เข้าภายในประเทศเกิดการขาดแคลน
ส่วนในเรื่องของการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลกปัจจุบันยังมองว่าข้าวไทยยังสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้แม้ จะต้องยอมรับว่าราคาข้าวไทยสูงเป็นประวัติการณ์ เช่น ข้าวหอมมะลิปัจจุบันเฉลี่ยขายอยู่ที่ 1,100 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ข้าวขาว ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 560-570 เหรียญสหรัฐต่อตันซึ่งสูงกว่าคู่แข่งอยู่ที่ประมาณ 50 – 80 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถึงอย่างไร ก็ยังมองว่าข้าวไทยยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากขณะนี้เวียดนามได้กำหนดปริมาณการส่งออกข้าวไปต่างประเทศต่อเดือนเฉลี่ยห้ามไม่ให้เกิน 4 แสนตันต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับอานิสงส์ มีคำสั่งซื้อเข้ามา เพิ่มขึ้น
นายระพีพัชญ์ ธนถาวรกิตติ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวถุงในปัจจุบันยังคงตรึงราคาขายยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแม้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคมที่ผ่านมาราคาตลาดจะมีการปรับราคาขึ้นเฉลี่ย 10-20 % จากปริมาณราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี จากสภาวะปัญหาในปัจจุบันสมาชิกของสมาคมยังยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นราคาข้าวถุงในขณะนี้อย่างแน่นอน
นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรถือว่า ได้รับราคาจากการขายข้าว ที่สูงขึ้นซึ่งเป็นการขายข้าวในราคาดีในรอบ 10 ปีจากอดีตที่ขายข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 – 7,000 บาทต่อตันปัจจุบันราคาข้าวอยู่ที่ 9,500-9,800 บาทต่อตัน สำหรับการดำเนินนโยบายประกันรายได้ของรัฐบาลมองว่าเป็นสิ่งที่ดีและต้องการให้เดินหน้าต่อไปเนื่องจากทำให้เกษตรกรยังคงได้รายได้ จากเงินส่วนต่างที่เกิดขึ้น ซึ่งมองว่ายังคงต้องการให้ภาพรัฐบาลเดินหน้าต่อไป