เปิดสถิติ 10 มหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์มากที่สุดในปี 2566 จาก 171 แห่ง

อาจารย์ ศาสตราจารย์ นักวิชาการ

เปิดสถิติ 10 สถาบันอุดมศึกษาที่มีจำนวนอาจารย์มากที่สุด ปีการศึกษา 2566 จาก 2 แสนกว่าคน ในสถาบันการศึกษา 171 แห่ง สังกัดกระทรวง อว. ม.เกษตรฯ-มหิดล มีมากกว่า 3 พันคน 

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นโยบายด้านการพัฒนากำลังคนให้สอดรับกับความต้องการตลาดแรงงาน และอุตสาหกรรมเป้าหมายถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะกระทรวงที่กำกับสถาบันอุดมศึกษา 171 แห่ง ก็ได้เดินหน้าขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งการเปิดหลักสูตรอัพสกิล รีสกิล, การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน, การปฏิรูปการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

ซึ่ง Higher Education Sandbox เป็นการปลดล็อกทุกข้อจำกัด เพื่อผลิตคนสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายได้เร็วขึ้น ทั้งออกหลักสูตรใหม่ นิสิต นักศึกษาเรียนจบเร็วได้ภายใน 2-3 ปี หรืออนุญาตให้บุคคลจากภายนอกเข้ามาสอนในมหาวิทยาลัยได้โดยไม่ต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ และตรงกับสาขาผู้เรียน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ถือเป็นแผนพัฒนากำลังคนที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ 

สำหรับกำลังคนที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2566 รวม 1,575,762 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พ.ย. 2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวง อว.) แบ่งเป็น

  • ประกาศนียบัตร 201 คน
  • ปวช. 5,272 คน
  • ปวส. 5,868 คน
  • อนุปริญญา 11,313 คน
  • ปริญญาตรี 1,426,445 คน
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8,512 คน
  • ปริญญาโท 90,519 คน
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง 1,329 คน
  • ปริญญาเอก 26,303 คน

ขณะที่ อัตรากำลังคนด้านอุดมศึกษา (อัพเดตเดือน ก.ย. 2566) จำแนกตามตำแหน่งวิชาการ มีจำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 207,193 คน แบ่งเป็นสายวิชาการ 73,087 คน สายสนับสนุน 134,136 คน ดังนี้

  • ศาสตราจารย์ 931 คน
  • รองศาสตราจารย์ 7,588 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 19,563 คน
  • อาจารย์ 41,702 คน 

ทั้งนี้บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนสำคัญอย่างมากในการจะช่วยผลักดันนิสิต นักศึกษา เข้าสู่ตลาดแรงงาน “ประชาชาติธุรกิจ” รวมข้อมูล สถิติ 10 สถาบันที่มีอาจารย์มากที่สุด จากการเผยแพร่ของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ดังนี้ 

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3,758 คน

  • ศาสตราจารย์ 8 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 645 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1,261 คน
  • อาจารย์ 1,844 คน
  • รวม 3,758 คน

อันดับ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล 3,336 คน

  • ศาสตราจารย์ 107 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 873 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1,089 คน 
  • อาจารย์ 1,267 คน
  • รวม 3,336 คน

อันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2,685 คน

  • ศาสตราจารย์ 253 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 755 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 902 คน 
  • อาจารย์ 775 คน 
  • รวม 2,685 คน

อันดับ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2,452 คน

  • ศาสตราจารย์ 60 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 519 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1,014 คน 
  • อาจารย์ 859 คน 
  • รวม 2,452 คน

อันดับ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1,945 คน

  • ศาสตราจารย์ 53 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 458 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 692 คน 
  • อาจารย์ 742 คน 
  • รวม 1,945 คน

อันดับ 6 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1,361 คน

  • ศาสตราจารย์ 6 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 156 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 503 คน 
  • อาจารย์ 696 คน 
  • รวม 1,361 คน

อันดับ 7 มหาวิทยาลัยบูรพา 1,330 คน

  • ศาสตราจารย์ 1 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 432 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 96 คน 
  • อาจารย์ 801 คน 
  • รวม 1,330 คน

อันดับ 8 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 1,131 คน

  • ศาสตราจารย์ 19 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 69 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 75 คน 
  • อาจารย์ 968 คน 
  • รวม 1,131 คน

อันดับ 9 มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1,099 คน

  • ศาสตราจารย์ 3 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 79 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 222 คน 
  • อาจารย์ 795 คน 
  • รวม 1,099 คน

อันดับ 10 มหาวิทยาลัยรังสิต 1,069 คน

  • ศาสตราจารย์ 14 คน 
  • รองศาสตราจารย์ 67 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 212 คน 
  • อาจารย์ 776 คน 
  • รวม 1,069 คน

สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ภายใต้กระทรวง อว. มีทั้งหมด 171 แห่ง แบ่งเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ 26 แห่ง, มหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง, มหาวิทยาลัยรัฐไม่จำกัดรับ 2 แห่ง, มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง, มหาวิทยาลัยเอกชน 42 แห่ง, สถาบันเอกชน 11 แห่ง, วิทยาลัยเอกชน 17 แห่ง, สถานศึกษานอกสังกัด 18 แห่ง เป็นต้น