
“จุรินทร์” เปิดประชุมนักบัญชีอาเซียน 10 ประเทศ (ASEAN CPA) ชี้ธุรกรรมต่าง ๆ ต้องโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล ไทยมีผู้ทำบัญชี-ผู้สอบบัญชี รวมแล้วเกือบ 90,000 คน
วันที่ 7 ตุลาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการปาฐกถาและเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงวิชาการสภาวิชาชีพบัญชีฯ “ASEAN CPA Conference : Empowering and Enhancing Sustainability of ASEAN Business” ว่า ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพ และถือเป็นครั้งที่ 3 ที่จัดการประชุมเชิงวิชาการสภาวิชาชีพบัญชีอาเซียนขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยครั้งแรกจัดที่ประเทศอินโดนีเซียในปี 2562 และที่ฟิลิปปินส์ในปี 2564 และปี 2565 นี้จัดที่ประเทศไทย
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
เพื่อเน้นย้ำความสำคัญและบทบาทของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน หรือ ASEAN CPA ในการเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน และสร้างโอกาสให้ CPA และนักบัญชีพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันทั้ง 2 ระดับ
สำหรับประเทศไทย ทั้งผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต ซึ่งโลกเคลื่อนไปข้างหน้าทุกวัน และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกมีข้อกำหนดกฎระเบียบเพิ่มเติมขึ้นในการกำกับดูแลนิติบุคคลหรือธุรกิจ เพื่อทำให้นิติบุคคลและการประกอบธุรกิจ ธุรกรรมต่าง ๆ เป็นด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล มาตรฐานการบัญชีและข้อกำหนดทางภาษีมีส่วนสำคัญได้มีการกำหนดรายละเอียด จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์รอบด้านของนักบัญชีทุกท่านจากทุกภูมิภาคของโลก
ปัจจุบันมีข้อตกลงอาเซียนเกี่ยวกับนักบัญชีที่เรียกว่า ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Accountancy Services: ASEAN MRA เป็นข้อตกลงยอมรับร่วมในการให้บริการด้านบัญชีของอาเซียน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ไทยได้ลงนามร่วมกับอีก 9 ประเทศช่วงปลายปี 2557 มีข้อกำหนดสำคัญคือนักบัญชีที่จะเดินทางข้ามพรมแดนประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศอื่นในกลุ่มสมาชิกอาเซียน สามารถทำได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่
- จบปริญญาตรีด้านบัญชี
- ผ่านการทดสอบนักบัญชีมืออาชีพ หรือนักบัญชีบริหารมืออาชีพของสภาวิชาชีพบัญชี
- มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปี
- ต้องมีการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้รอบรู้ด้านบัญชีหรือในวิชาชีพ
- ต้องไม่มีประวัติฝ่าฝืนจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างร้ายแรง และต้องไปขึ้นทะเบียนที่สำนักงานกลางที่เรียกว่า ASEAN CPA
ปัจจุบันมีนักบัญชีขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 6,290 คน เป็นนักบัญชีไทย 753 คน และไปปฏิบัติตามกฎระเบียบของแต่ละประเทศที่กำหนดไว้ จึงสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานประกอบวิชาชีพการบัญชีในประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้
สำหรับประเทศไทยมีผู้ทำบัญชีกว่า 78,000 คน และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตประมาณ 11,000 คน รวมแล้วเกือบ 90,000 คน ให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ สำหรับวันหนึ่งสนใจไปทำงานนอกประเทศไทย ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน
โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมสนับสนุน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจัดให้มีการอบรมองค์ความรู้รูปแบบต่าง ๆ ในชั้นเรียนที่เรียกว่า In-Class และรูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และหลักสูตรการอบรมภาษาต่างประเทศที่อาจจำเป็นต้องใช้
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า การจัดการประชุมเชิงวิชาการ ASEAN CPA Conference ได้มีการจัดการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ที่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 และเป็นการจัดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 500 คน และรับฟังผ่านช่องทางออนไลน์อีกกว่า 200 คน
ซึ่งนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant: ASEAN CPA) ถือกําเนิดขึ้นจาก ข้อตกลงยอมรับร่วมในการให้บริการด้านบัญชีของ ASEAN (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Accountancy Services: ASEAN MRA) ซึ่งประเทศไทย
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงณิชย์ ได้ลงนามร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2557 และข้อตกลงยอมรับร่วมในการให้บริการด้านบัญชีของ ASEAN (MRA) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดคุณสมบัติของ ASEAN CPA และสนับสนุนการเคลื่อนย้ายนักบัญชีที่มีคุณสมบัติ ให้สามารถไปปฏิบัติงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน