ทำไมธุรกิจใหญ่ ๆ ยังต้อง “กู้” แล้ว SMEs ควรต้อง “กู้หรือไม่” ?

ธุรกิจ
คอลัมน์ : Smart SMEs
ผู้เขียน : finbiz by ttb

ผู้ประกอบการ SMEs มือใหม่อาจจะเคยสงสัยว่าทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ยังคงต้องกู้สินเชื่อธุรกิจกันอยู่ ทั้งที่มีเงินสดอยู่เต็มกระเป๋า และมีกำไรจากการทำธุรกิจมากมาย ทำไมจึงไม่ใช้เงินสดที่มีในการขยายธุรกิจ ต้องมาขอสินเชื่อเพื่อให้เป็นหนี้กันไปทำไม ?

เหตุผลหลักก็คือ การบริหารสินเชื่อที่ดี ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารธุรกิจ หากสามารถบริหารการเงินได้ดีจะต่อยอดประโยชน์ได้มากกว่าแค่เรื่องตัวเงิน และสามารถสร้างโอกาส รวมถึงความได้เปรียบให้ธุรกิจได้อย่างมาก

ซึ่ง ฟินบิส โดย ทีทีบี (finbiz by ttb) จะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์จากการขอสินเชื่อธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs พิจารณาความเหมาะสมว่า ปัจจุบันธุรกิจของเราเหมาะกับการกู้สินเชื่อธุรกิจหรือไม่

เพราะ “การกู้” ไม่ได้หมายถึงประโยชน์แค่เรื่อง “เงิน” เท่านั้น

1) การกู้ คือ โอกาส “สร้างกำไร” ยกตัวอย่าง ถ้าบริษัทใช้กำไรในการลงทุนด้านธุรกิจต่าง ๆ บริษัทจะเสียเวลาในการสร้างกำไรเพื่อไปลงทุน ในขณะที่กำไรที่สะสมก็จะลดลงเรื่อย ๆ แต่หากใช้การขอสินเชื่อธุรกิจเข้ามาช่วย จะสามารถลดเวลาในการสะสมกำไรลงได้ และยังคงเก็บกำไรไว้เพื่อเสริมสภาพคล่องได้อีกด้วย ในขณะที่การกู้เพื่อมาลงทุนจะช่วยให้บริษัทมีเงินมากพอ และจะมีอำนาจต่อรองเพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น

2) การกู้ ช่วย “ลดภาษี” โดยต้องกู้อย่างมีการวางแผนที่ดี ต้องไม่ใช่ “การกู้เมื่อต้องใช้” แต่ต้องเป็น “การวางแผน กู้เพื่อใช้” วางแผนเพื่อดำเนินการและคิดเผื่อในส่วนของงบการเงิน โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการกู้เงินคือ การใช้อัตราส่วนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นำไปลงเป็นรายจ่ายบริษัททางบัญชี เพราะสามารถช่วยลดภาษีทางธุรกิจลงได้

ADVERTISMENT

3) กู้เพื่อ “สร้างความพร้อม” สำหรับโอกาสในอนาคต เมื่อ “เงินทุน” เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บริษัทพร้อมที่จะตอบรับโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจไม่รู้มาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นในทุก ๆ ปีแต่ละบริษัทต้องวางแผนเผื่อส่วนของการเติบโต เพื่อให้สามารถรองรับโอกาสใหญ่ ๆ

ซึ่งสินเชื่อธุรกิจจะช่วยในส่วนนี้ได้มาก ยกตัวอย่าง ธุรกิจที่มีแนวโน้มผลประกอบการในช่วงขาขึ้น และได้คาดการณ์แล้วว่ายังเติบโตได้อีก พร้อมกับลุ้นโอกาสใหม่ ๆ การที่มีเงินสดหมุนเวียนในระบบที่คล่องตัวอยู่เสมอจะทำให้สามารถตอบรับโอกาสที่เข้ามาใหม่ได้อย่างไม่ลังเล ขจัดข้อจำกัดทางความคิดที่จะนึกถึงโอกาสใหญ่ ๆ ได้ ซึ่งเป็นผลดีในการต่อยอดให้เกิดการเติบโตของธุรกิจ

ADVERTISMENT

4) กู้เพื่อ “การกระจายความเสี่ยง” ในการลงทุน ต้นทุนทางการเงินของบริษัทต้องบริหารความเสี่ยง โดยเพิ่มการลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละจังหวะเวลา ดังนั้นจึงมีบริษัทไม่น้อยที่จะกู้เงินมาเพิ่มเพื่อเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ในบริษัท และนำเงินบางส่วนไปลงทุนต่อยอดกับธุรกิจอื่น เพื่อลดความเสี่ยงที่หากบริษัทหลักสะดุด ก็ยังคงมีแหล่งรายได้อื่น ๆ พยุงไว้ได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ควรคำนึงถึง การกู้เงินอย่างเหมาะสม โดยจะต้องไม่มีสัดส่วนหนี้มากกว่าสินทรัพย์ ไม่เกินความสามารถในการชำระหนี้ และมีการวางแผนวัตถุประสงค์ในการใช้ชัดเจน จะไม่ได้เป็นการกู้มาเพื่อสร้างเครดิต

หรือความน่าเชื่อถือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้สินเชื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ขยายธุรกิจได้เต็มศักยภาพ

เลือกสถาบันทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจ จะ “ได้รับ” มากกว่าสินเชื่อ

การมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและมีที่ปรึกษาทางการเงินที่ดี เป็นสิ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการในการตัดสินใจขอสินเชื่อธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการตัดสินใจว่าจะกู้หรือไม่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอื่น ๆ เช่น การช่วยคำนวณจำนวนเงินที่เหมาะสม จำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ จำนวนเงินในแต่ละงวดที่จะต้องชำระ มูลค่าหลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน รวมถึงอีกหลากหลายมิติทางการเงิน

ดังนั้น สถาบันทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจ เป็นพันธมิตรที่ตระหนักว่าความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน และสามารถให้คำปรึกษาแบบองค์รวม พร้อมสนับสนุน SMEs ให้ได้รับวงเงินที่เหมาะสมและเพียงพอ จะช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและสามารถขยายกิจการได้เมื่อโอกาสมาถึง อันจะสามารถต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน