เวลเนส
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ “SCB EIC” ชวนเจาะลึกเทรนด์สุ ขภาพเวลเนสชาวไทย โอกาสในธุรกิ จมาแรง
วันที่ 29 ธันวาคม 2566 ธุรกิจสุขภาพและเวสเนส (Health & Wellness) เป็นธุรกิจที่กำลังมาแรงทั้ งในระดับโลกและในไทยเอง โดยมูลค่าตลาดสุ ขภาพและเวลเนสของไทยมีขนาดใหญ่ มากอยู่ที่ราว 1.5 ล้านล้านบาทในปี 2562 คิดเป็น 8% ของ GDP ไทย
อีกทั้งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจาก 4 เมกะเทรนด์สุขภาพ ได้แก่ การก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ โดยสมบูรณ์ , พฤติกรรมการใส่ใจ สุขภาพมากขึ้ นของผู้บริโภค , อัตราการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้ อรังที่เพิ่มสูงขึ้น และนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจะสร้างโอกาสให้แก่ภาคธุรกิ จในการเกาะกระแสที่กำลังเติบโต
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ได้สำรวจผู้บริโภคชาวไทยในด้ านสุขภาพและเวลเนสพบว่า หลังผ่านวิกฤตโควิด -19 ผู้บริโภคชาวไทยให้ความใส่ใจต่ อสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยความใส่ใจสุขภาพที่มากขึ้ นจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ บริการด้านสุขภาพและเวลเนสเพิ่ มสูงขึ้นตามมาโดยเฉพาะในกลุ่มธุ รกิจสุขภาพและเวลเนสด้านบริ การและการท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละธุรกิจมีฐานลูกค้าหลั กและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ บริโภคที่แตกต่างกันค่อนข้างชั ดเจน
5 กลุ่มธุรกิจสุขภาพและเวลเนสด้ านบริการและการท่องเที่ยวที่ กำลังมาแรง ได้แก่
1.ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ : เป็นธุรกิจที่กลุ่มผู้บริโภคทุ กเพศทุกวัยให้ความสำคัญและพร้ อมที่จะใช้จ่าย เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 70% มีพฤติกรรมเลือกรับประทานอาหาร ทั้งหลีกเลี่ยงรั บประทานอาหารบางประเภท และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่ อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่
อีกทั้งยังมีผู้บริโภคจำนวนมากที่อยู่ ระหว่างลด/ควบคุมน้ำหนัก ทั้งนี้กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพที่ ผู้บริโภคสนใจและหาซื้ออย่างต่ อเนื่องนั้นจะอยู่ในกลุ่มเครื่ องดื่มสุขภาพ กลุ่มอาหารทั่วไปแต่หลีกเลี่ ยงบางประเภท อย่างเช่นอาหารหวาน –มัน –เค็มจัด หรือสารก่อมะเร็ง และกลุ่มอาหาร Organic ทั้งนม ไข่ ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์
ทั้งนี้ ราคา รสชาติ ความสะดวก และความชื่นชอบถือเป็นปัจจัยหลั กที่มีผลต่อการเลือกซื้ ออาหารเพื่อสุขภาพ โดยกลุ่มผู้บริโภค Gen Z จะหาข้อมูลอาหารสุขภาพตามรีวิ วออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่สนใจอาหารเพื่อสุ ขภาพยังมีการซื้ออาหารเสริ มควบคู่ไปด้วยโดยเฉพาะอาหารเสริ มเพื่อเสริมสุขภาพและโภชนาการ
2.ธุรกิจออกกำลังกาย : เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะในธุรกิจอุปกรณ์เสริ มในการออกกำลังกายที่กำลังเป็ นที่นิยมและมีแนวโน้มเติบโตได้ ดีต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจให้บริการออกกำลั งกายอาจเผชิญปัจจัยเสี่ ยงจากพฤติกรรมผู้ออกกำลังกายที่ คุ้นชินกับการออกกำลังกายที่บ้ านเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากช่ วงโควิด -19 ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ มเติมเท่าไหร่นัก
ทั้งนี้ผู้บริโภคกว่า 90% ระบุว่ามีการออกกำลังกาย และส่วนใหญ่นิยมการเดินออกกำลั งกายโดยเฉพาะใน Baby boomer, การวิ่งใน Gen Z, การเข้ายิม/ฟิตเนสในกลุ่ม Gen Y และคลาสโยคะ พิลาทิส ใน Gen X อีกทั้ง มีสถานที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคั ญในการไปออกกำลังกาย
3. ธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านความงาม : เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตั วสดใส โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ กลุ่มผู้หญิงและ LGBTQIA+ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะใช้จ่ ายในผลิตภัณฑ์ด้านความงามสูง โดยผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าเป็นกลุ่ มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจสูงสุด ตามด้วยการดูแลผิวกายและการป้ องกันแสงแดด ซึ่งผู้บริโภคเลือกใช้แบรนด์ทั่ วไปเป็นหลัก
รองลงมาเป็นเวชสำอางต่างชาติ และเคาน์เตอร์แบรนด์ แต่กลุ่ม Gen Z จะนิยมแบรนด์ไทยที่ โปรโมตในออนไลน์สูงกว่า นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะพร้อมจ่ายมากขึ้ นหากเป็นผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิ ตภัณฑ์ Organic
4. ธุรกิจนวดและสปา : เป็นอีกธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รั บความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น แม้ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ยั งใช้บริการนวดและสปาค่อนข้างน้ อย แต่ผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ ความสำคัญกับการนวดและสปาเพิ่ มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงาน โดยบริการนวดแผนไทยในร้ านนวดขนาดเล็กยังยืนหนึ่ งครองใจผู้บริโภค ด้วยค่าบริการที่ไม่แพงนัก
แถมยังมีบริการที่หลากหลาย ตามด้วยสปาขนาดกลาง-ใหญ่ที่ ออกโปรโมชันอย่างต่อเนื่องเพื่ อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริ การมากขึ้น นอกจากนี้ การบริการนวดและสปารูปแบบใหม่ ๆ เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นแต่ ยังมีผู้ใช้บริการเฉพาะกลุ่มอยู่
5.ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสู งจากกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นทั้ งในระดับโลกและไทย โดยแม้การท่องเที่ยวเชิงสุ ขภาพของนักท่องเที่ยวไทยยังเน้ นการออกมาใช้ชีวิตท่ ามกลางธรรมชาติ ในบรรยากาศที่เงียบสงบ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่ อนคลาย
แต่การท่องเที่ยวเพื่อสุ ขภาพและเวลเนสโดยเฉพาะ หรือการทำกิจกรรมเวลเนส ระหว่างการท่องเที่ยวก็ได้รั บความสนใจจากนักท่องเที่ยวสายสุ ขภาพไม่น้อย ซึ่งบริการที่นักท่องเที่ ยวสายสุขภาพส่วนใหญ่สนใจที่ จะใช้บริการระหว่างท่องเที่ยว ได้แก่ บริการนวดและสปา อาหารเพื่อสุขภาพ และห้องพักที่ใส่ใจสุขภาพของผู้ เข้าพัก เป็นต้น
จากที่ผู้บริโภคแต่ละคนมีเป้ าหมายด้านสุขภาพและเวลเนสที่ แตกต่างกันอย่างชัดเจนตามวิถี การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมเสี่ ยง ธุรกิจด้านสุขภาพและเวลเนสจึ งจำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจเป้ าหมายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม
โดย 3 กลยุทธ์หลักที่จะสามารถดึงดูดผู้ ใช้บริการและเสริมจุดแข็งของธุ รกิจให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1.การนำเสนอแพ็กเกจสินค้า/บริ การสุขภาพและเวลเนสที่ครอบคลุ มในหลากหลายด้าน เนื่องจากผู้ซื้อสินค้า/ใช้บริ การด้านสุขภาพมักจะเป็นกลุ่มรั กสุขภาพและสนใจบริการเวลเนสที่ หลากหลายควบคู่กัน
เช่น ผู้ที่ให้ความสนใจในอาหารเพื่ อสุขภาพมักจะมี ความสนใจการออกกำลังกายควบคู่ ไปด้วย จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ ประกอบการในการขยายขอบเขตไปยั งด้านอื่น ๆ ของธุรกิจเวลเนสเพื่อสร้ างรายได้เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจอาจจะต้องเลือกขยายบริ การที่เหมาะสมกับจุดแข็ งของตนเอง หรือหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีจุ ดแข็งในด้านนั้น ๆ เพื่อไม่สร้างภาระต่อธุรกิ จในระยะข้างหน้า
2.การนำเสนอบริการในรูปแบบ Personalization หรือการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล เนื่องจากผู้ใช้บริการด้านสุ ขภาพและเวลเนสส่วนใหญ่มีความต้ องการเฉพาะบุคคล ( Personalization) ดังนั้น การแสดงถึงความเอาใจใส่ และความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริ โภคในแต่ละกลุ่มจะสามารถดึงดู ดผู้ใช้บริการใหม่และมัดใจผู้ ใช้บริการเดิมได้
อีกทั้ง ธุรกิจยังสามารถออกแบบการบริ การที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ ใช้บริการได้ตรงจุดมากขึ้น
3.การตั้งราคาที่เข้าถึงได้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้บริ โภคส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่ าสินค้า/บริการด้านสุ ขภาพและเวลเนสนั้นจะมีราคาที่ค่ อนข้างสูงกว่าปกติ ซึ่งการสร้างความเข้าใจใหม่ ควบคู่ไปกับการตั้งราคาที่เข้ าถึงได้มากขึ้นถือเป็นโจทย์อั นท้าทายของผู้ประกอบการ