รัฐบาล “ประยุทธ์” ใช้แบงก์รัฐจ่ายเงินสารพัดมาตรการ หนี้เกือบล้นเพดานฯ 9.3 แสนล้าน

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โบกมือให้สื่อมวลชน หลังออกจากห้องประชุม ครม. 4 พ.ย. 2564 โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ

รัฐบาลประยุทธ์กำลังเผชิญปัญหาการคลัง หนี้ใกล้ล้นเพดานวินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 จำนวน 9.3 แสนล้าน หลังใช้แบงก์รัฐจ่ายก่อนไม่หยุดสารพัดมาตรการ

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเผชิญปัญหาทางการคลัง หลังพบว่ามีการก่อหนี้โดยให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการแทนจนใกล้เต็มเพดานหนี้ที่กำหนดไว้ใน...วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ที่มี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำหนดให้รัฐบาลต้องมียอดหนี้คงค้างรวมกันได้ไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทำให้ปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลจะมีหนี้สะสมไม่เกิน 9.3 แสนล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่ตั้งไว้ 3.1 ล้านล้านบาท

ต่อไปรัฐบาลไม่สามารถให้หน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นมือเป็นไม้ออกเงินดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้แทนก่อนได้หรือหากทำได้ก็เพียงเล็กน้อย เพราะอย่างล่าสุดในการอนุมัติโครงการประกันรายได้ข้าว ซึ่งปกติ ครม.จะอนุมัติและให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) ดำเนินการจ่ายเงินไปก่อนและตามผ่อนทีหลัง แต่ปีนี้ ครม.กลับอนุมัติไปเพียงบางส่วน 13,604 ล้านบาท จากทั้งหมด 89,306 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าหนี้ใกล้เต็มเพดานแล้ว

สอดคล้องกับที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สาเหตุที่แบ่งจ่ายเงินงบประมาณเรื่องประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวงวดนี้ เนื่องจากติด ...วินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 28 ที่กำหนดไม่ให้ใช้วงเงินเกินกรอบที่ตั้งไว้

ทั้งนี้ เมื่อสำรวจพบว่าหนี้สะสมส่วนใหญ่ จะฝังอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เช่น  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) มีหนี้สะสมมากสุดจากโครงการอุดหนุนสินค้าเกษตรถึง 6-7 แสนล้านบาท ธนาคารออมสินมีหนี้กว่า 3 หมื่นล้านบาท เช่น โครงการสินเชื่อช่วยเหลือประชาชน และยังมีในธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์)   

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า สาเหตุที่รัฐบาลมีหนี้สะสมมหาศาล จนใกล้ทะลุเพดานวินัยการเงินการคลัง เป็นผลจากการใช้นโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐดำเนินโครงการต่าง ๆ แทน สะสมมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีต เช่นโครงการจำนำข้าว ซึ่งปัจจุบันเหลือหนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท จนถึงปัจจุบันรัฐบาลก็ยังมีโครงการอุดหนุนสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปีนี้ รัฐบาลตัดลดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ลงเหลือ 3.1 ล้านล้านบาท ทำให้เพดานก่อหนี้ส่วนนี้ลดลงไปด้วย และที่น่าห่วงก็คือหนี้สะสมที่ให้หน่วยงานรัฐทำแทนเหล่านี้  ไม่ได้ถูกนำมารวมเป็นหนี้สาธารณะ   

อย่างไรก็ตาม การมีหนี้สะสมจนใกล้เต็มเพดานวินัยการเงินการคลัง จะไม่กระทบต่อฐานะการเงินของสถาบันการเงินรัฐ เนื่องจากส่วนใหญ่สามารถบริหารสภาพคล่องได้เพียงพอ และมีการรับชำระเงินคืนจากรัฐมาทุกปี อีกทั้งยังจัดมีการทำบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (พีเอสเอ) เพื่อแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของธนาคาร โดยเปิดเผยรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นรายการแยกต่างหาก ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย