กทม. งัดมาตรการสู้ฝุ่น ข้าราชการ กทม. Work from Home 2-3 ก.พ.นี้

ฝุ่น PM2.5 มลพิษทางอากาศ

กทม. งัดสารพัดมาตรการสู้ PM2.5 สั่งข้าราชการ Work from Home 2 วัน – ยังไม่สั่งปิดโรงเรียน

วันที่ 2 กุมภาพันธ 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเมื่อเย็นวานนี้ 1 ก.พ. 66 ณ เวลา 18.00 น. ค่าฝุ่นสูงขึ้นในระดับสีแดง มากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จำนวน 14 พื้นที่

เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ส่งผลให้ฝุ่นเกิดการสะสมตัวมากขึ้น และจากการคาดการณ์แนวโน้มฝุ่นจะมีค่าสูงต่อเนื่องในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. 2566

ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 และการหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วจึงดำเนินการตามมาตรการดังนี้

Work from Home 2 วัน (2-3 กุมภาพันธ์ 2566)

  1. หน่วยงาน กทม. WFH ยกเว้นส่วนที่ให้บริการประชาชน (บุคลากร กทม. ที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ขอให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา)
  2. ประสานกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้ WFH
  3. ให้ผู้อำนวยการเขตประสานกับเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ให้ความร่วมมือในการ WFH และสรุปรายงานผลความร่วมมือ ภายในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566

มาตรการสาธารณสุข

  1. ศูนย์บริการสาธารณะสุข ทั้ง 69 ศูนย์ และ อสส. ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่  แจกหน้ากากอนามัย ให้คำแนะนำ และเฝ้าระวังอาการ
  2. ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย และลดกิจกรรมภายนอกอาคาร
  3. หากประชาชนมีอาการจากปัญหาในสามารถปรึกษาคลินิกมลพิษทางอากาศ ของกทม. ทั้ง 5 แห่ง คือ
    1. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
    2. โรงพยาบาลตากสิน
    3. โรงพยาบาลสิรินธร
    4. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
    5. โรงพยาบาลกลาง
    6. โรงพยาบาลกลาง

โดยเปิดทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 08.00-15.00 น. – สามารถสอบถามได้ที่ 1646 สายด่วนสุขภาพ

ยังไม่สั่งปิดโรงเรียน

กทม.ไม่ได้สั่งปิดโรงเรียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าครูและบุคลากรในโรงเรียน กทม. ได้เตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ และสามารถช่วยดูแลเด็กได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้ปกครอง ตามมาตรการดังต่อไปนี้

1.ให้นักเรียนสวมหน้ากากตลอดเวลา (นอกอาคารสวมหน้ากาก 2 ชั้น และ 1 ชั้นในอาคาร)
2.ห้ามทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด
3.อยู่บ้านแบบสมัครใจได้ หากที่บ้านมีพื้นที่ปลอดฝุ่น
4.ทำความสะอาดโรงเรียนเพื่อลดฝุ่น

สถานที่ก่อสร้าง

5.ควบคุมการเกิดฝุ่นละอองในสถานที่ก่อสร้างที่อยู่ในกำกับของ กทม. ทุกแห่งอย่างเคร่งครัด
6.ตรวจสอบและขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างเอกชนให้ควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการขนส่งอย่างเคร่งครัด

กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ


7.ให้ผู้อำนวยการเขตทุกเขตประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ งดการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า การเผาขยะ