บุคคลใดที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

เกณฑ์ทหาร

เกณฑ์ทหาร จับใบดำ-ใบแดง คืออะไร บุคคลใดที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

วันที่ 14 เมษายน 2566 กองทัพบกได้ทำการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (เกณฑ์ทหาร) ประจำปี 2566 โดยการตรวจเลือกทหารกองประจำการมีขึ้นระหว่างวันที่ 1-20 เมษายน 2566

ก่อนที่จะรับจดหมายถึงที่บ้าน ควรทราบรายละเอียดต่าง ๆ สำหรับการสมัครคัดเลือก หรือ รับการผ่อนผัน และบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

การเกณฑ์ทหารคืออะไร

การเกณฑ์ทหารเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นหน้าที่ ของชายไทย ส่วนในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะชาย ที่มีสัญชาติเป็นไทย ตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน

พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดขั้นตอน เกี่ยวกับการรับราชการทหารไว้ตั้งแต่การลงบัญชีทหารกองเกิน การรับหมายเรียก การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ การเรียกพล การระดมพล และการปลด โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงกลาโหม

บุคคลใดบ้างที่ต้องเกณฑ์ทหาร

1. เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

ADVERTISMENT

2. เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วย กฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ

3.เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และ ขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือ พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือ คนใช้ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)

4.ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย

5.บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า 18 ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด

เกณฑ์ทหารอายุเท่าไร

  • อายุ 17 ปี บริบูรณ์ (ย่าง 18 ปี) ชายไทยแสดงตนขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ. นั้น
  • อายุ 20 ปี บริบูรณ์ (ย่าง 21 ปี) รับหมายเรียก เพื่อไปแสดงตนที่อำเภอท้องถิ่นที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตนใน พ.ศ. นั้น
  • เข้ารับการตรวจคัดเลือก (เกณฑ์ทหาร) ตามวัน และเวลาที่กำหนดในหมายเรียก
  • เข้ารับการเรียกพลทหารกองหนุน เข้ารับฝึกวิชาทหาร ตามที่กำหนด
เกณฑ์ทหาร
แฟ้มภาพ

การตรวจเลือกหรือการเกณฑ์ทหาร

บุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้นต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่เจ็ดสิบหก เซนติเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรสี่สิบเซนติเมตรขึ้นไป ถ้าขนาดสูงหรือขนาด รอบตัวอย่างใดอย่างหนึ่งต่ำกว่ากำหนดนี้ ให้ถือว่าเป็นคนไม่ได้ขนาดจะส่งเข้ากองประจำการไม่ได้

การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือ ที่รู้จักกันดีคือการเกณฑ์ทหารนั้น ตามปกติกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ในเดือนเมษายน (วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 11 เมษายนของทุกปี) ดังนั้นทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดในหมายเรียก

ทั้งนี้ โดยนำหลักฐานต่างๆ ได้แก่ ใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.9), หมายเรียก (แบบ สด.35.), บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร หรือหลักฐานทางการศึกษา ไปแสดงด้วย หากทหารกองเกินผู้ใดไม่ไปถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และในวันตรวจเลือกนั้น ผู้เข้ารับการตรวจเลือกทุกคน จะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.43) หรือที่รู้จักกันคือ ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

  • บุคคลที่มีร่างการพิการ ทุพพลภาพ
  • บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ
  • พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ชั้นเปรียญ นักบวชนิกาบมหายาน
  • บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารในยามปกติ
  • สามเณร ภิกษุ นักบวชพุทธศาสนานิกายมหายน ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
  • นักบวชศาสนาอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
  • นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร กระทรวงกลาโหม
  • บุคคลที่ผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหาร (เรียน รด.) ครบตามหลักสูตรที่กำหนด
  • นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
  • นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
  • ครูในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้

ข้อมูล : การเกณฑ์ทหารในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497