
กรมอุตุฯเผยช่วง 30 กันยายน-2 ตุลาคม ฝนจะลดน้อยลง และจะกลับมามีฝนเพิ่มขึ้น-ตกหนักอีกครั้งช่วง 3-5 ตุลาคมนี้ เหตุมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทยตามแนวร่องมรสุม จับตาสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อน ระบุมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังก่อตัวอีก 1 ลูก ทีมกรุ๊ปชี้มีโอกาสเข้าประเทศไทยซ้ำรอยแนวเดิม
วันที่ 29 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (29 ก.ย. 66) ว่า ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ระบุช่วง 30 ก.ย.-2 ต.ค.ฝนจะลดลง
ส่วนคาดหมายอากาศทั่วไปใน 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 กันยายน-5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ว่าในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
คาดช่วง 3-5 ต.ค. ฝนกลับมาเพิ่มขึ้น
ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทยตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

จับตาสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อน
ส่วนช่วง 30 ก.ย.-8 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะสะวิงขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้ ฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม และใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ฝนยังมีต่อเนื่อง ระวังฝนตกสะสม สถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในขณะนี้คาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ทางด้านตะวันออก ของประเทศจีน ยังไม่มีทิศทางเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนของไทยเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAM GROUP ได้ออกมาระบุว่า หลังพายุดีเปรสชั่นที่ลดระดับลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำลูกล่าสุดผ่านไปแล้ว มีโอกาสที่จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกลุ่มใหม่ ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ คาดว่าวันที่ 1 ต.ค. จะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้ฝนตกหนักที่เมืองวิน ดองหอย ดองฮา ประเทศเวียดนาม และมีโอกาสจะเข้าถึงประเทศไทย ในแนวเส้นทางที่ซ้ำเติมกับแนวเดิมอีกด้วย

คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่าง 29 กันยายน-5 ตุลาคม 2566
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-1 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ส่วนในวันที่ 2 ต.ค.-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-1 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส
กรุงเทพฯและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

- กรมอุตุฯ เตือน 17 เขตกทม. เฝ้าระวังฝนถล่ม 29-30 ก.ย. ฝนยังตกหนัก
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
- ดร.เสรีเตือนปีนี้ยังเหลือพายุอีก 19 ลูก ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นปี
- เตือน 10 จังหวัด เตรียมพร้อมยกของขึ้นที่สูง รับมือสถานการณ์น้ำ
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่