“หน้ากากอนามัย” ที่ใส่ทุกวัน ใส่ถูกต้องแล้วหรือยัง-หากไม่มีทำอย่างไร

หน้ากากอนามัย.
PHOTO : PIXABAY

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขณะนี้ “หน้ากากอนามัย” ถือเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ทุกคนต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะไปที่ไหน เดินทางใกล้หรือไกล สืบเนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมข้อมูล คำแนะนำ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงวิธีการสวมใส่ การถอด หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด

วิธีใส่อย่างถูกต้อง

  • ทำความสะอาดมือก่อนใส่หน้ากาก
  • หันด้านที่มีสีออกข้างนอก หันด้านสีขาวเข้าตัว
  • จับสายจากด้านข้างแล้วคล้องที่หลังหู
  • กดแกนโลหะด้านบนให้แนบกับหน้า
  • ดึงหน้ากากด้านล่างให้ถึงใต้คาง

วิธีถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ใช้นิ้วเกี่ยวสายคล้องเพื่อทิ้งลงถังขยะ
  • ห้ามสัมผัสหน้ากากโดยตรง
  • หากสัมผัสหน้ากากที่ใช้แล้ว ให้ล้างมือให้สะอาด

ถ้าไม่มีหน้ากากอนามัยทำอย่างไร

  • หาก ไอ จาม ให้ใช้แขนเสื้อหรือผ้าปิดปากแทน ไม่ควรใช้มือเพราะเชื้อโรคจะติดมากับมือ ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสูง
  • พกแอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์ ความเข้มข้นขอ
  • แอลกอฮอล์ที่เหมาะสมคือ 70% หรือไม่ต่ำกว่า 50%
    เช็ดที่จับประตู หรือสิ่งของที่มีคนจับบ่อย ๆ

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ผู้ที่ควรใส่หน้ากากอนามัยควรจะผู้ป่วยที่มีน้ำมูก ไอ หรือจาม และคนที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่น ขับรถแท็กซี่ ทำงานในสนามบิน โรงพยาบาล หรืออยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนมาก ๆ หรือแออัด
  • ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยโดยไม่จำเป็น เพราะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรจนอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ