
เปิดขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมอย่างละเอียด สำหรับผู้ที่จะขออนุญาตปลูกกัญชง ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ขออนุญาตได้ตั้งแต่พรุ่งนี้ (29 ม.ค.) เป็นต้นไป
วันที่ 28 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ลงนามในกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันพรุ่งนี้ (29 ม.ค.) ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
- กรมอุตุฯ เปิดชื่อพายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) พายุลูกที่ 14
- กรมอุตุฯ จับตาพายุหมุนเขตร้อน มีหย่อมความกดอากาศก่อตัวใหม่อีก 1 ลูก
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 1 ตุลาคม ย้อนหลัง 10 ปี
- อย. ปลดล็อกกัญชง ให้ ปชช.เข้าถึงการปลูก-นำเข้าส่งออก มีผล 29 ม.ค.64
-
“กัญชง” คืออะไร? ทำความรู้จักก่อนปลดล็อกพรุ่งนี้ (29 ม.ค.)
ภญ. สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ภายใต้กฎกระทรวงฉบับนี้สามารถขออนุญาตส่งออกกัญชงได้ และภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ สามารถนำเข้าเมล็ดพันธุ์เพื่อนำมาปลูกได้อีกเช่นกัน
โดยผู้ที่ต้องการขออนุญาตให้ยื่นคำขอ ณ สถานที่ปลูกที่ตั้งอยู่ หากอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ส่วนผู้ขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชง ให้ยื่นคำขอที่ อย.
ใครที่สามารถขออนุญาตปลูกกัญชงได้บ้าง?
- เกษตรกร
- วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์
- ประชาชนทั่วไป
- นิติบุคคลสัญชาติไทย
- หน่วยงานรัฐ-เอกชน
ทั้งนี้ ครัวเรือนที่มีวัฒนธรรมในการใช้กัญชงเป็นสิ่งทอแบบดั้งเดิมสามารถปลูกกัญชงในครัวเรือนได้ โดยปลูกได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ โดยต้องมีใบอนุญาตในการปลูก และปลูกสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต เพื่อส่งเสริมการปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงของไทย
ขั้นตอนการขออนุญาตปลูก “กัญชง”
กรณีผู้ขอนำเข้า (เมล็ดพันธ์ุกัญชง)
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอรับอนุญาต (แบบกัญชง 3)
- แผนการนำเข้า แผนการใช้ประโยชน์
- ใบรับรองของผู้ผลิตในต่างประเทศ
- เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ
จากนั้นนำเอกสารไปยื่นคำขอรับอนุญาต ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอแล้วจะเสนอคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณา ก่อนออกใบอนุญาตต่อไป
กรณีผู้ขอผลิต (โดยการปลูก)
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอรับอนุญาต (แบบกัญชง 1)
- แผนการผลิต แผนการใช้ประโยชน์
- แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ปลูกและเส้นทางการเข้าถึง
- หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง
- แบบแปลนอาคารโรงเรือน และภาพถ่าย
- เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่น ๆ
จากนั้นนำเอกสารไปยื่นคำขอรับอนุญาต
- กรณีสถานที่ปลูกตั้งอยู่กรุงเทพฯ ให้นำเอกสารไปยื่น ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
- กรณีสถานที่ปลูกตั้งอยู่ต่างจังหวัด ให้ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและสถานที่เรียบร้อยแล้ว จะเสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตต่อไป