
ศบค. พบกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ จาก “โรงงานทำขนม เขตบางขุนเทียน” 17 ราย พบมีมาตรการป้องกันโควิดทุกอย่าง แต่ดำเนินการไม่ครบถ้วน
วันที่ 24 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกรุงเทพมหานครลุยตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่โรงงานทำขนม ย่านพระราม 2 เขตบางขุนเทียน โดยพบกลุ่มคลัสเตอร์ต่อเนื่องตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม 2564
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- เช็กเงื่อนไขกู้ “ออมสิน” ปลดหนี้นอกระบบ คุณสมบัติผู้กู้ต้องมีอะไรบ้าง ?
ล่าสุด แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์การพบผู้ติดเชื้อ ระบุว่า เมื่อวานนี้ (23 มี.ค.) พบกลุ่มคลัสเตอร์ จากโรงงานทำขนมดังกล่าว จำนวน 17 ราย
- ศบค. พบติดโควิดวันนี้ (24 มี.ค.) เพิ่มขึ้น 69 ราย กทม.สูงสุด 43 ราย
- กทม. เร่งตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยงโควิด “หมู่บ้านอมรชัย 4” เขตบางขุนเทียน
- กทม. พบติดโควิดเพิ่ม 28 ราย คลัสเตอร์โรงงานย่านบางขุนเทียน
แบ่งเป็นเพศชาย 3 ราย โดยเป็นชาวเมียนมา 2 ราย และชาวไทยอีก 1 ราย ส่วนเพศหญิงพบ 14 ราย เป็นชาวเมียนมา 12 ราย และชาวไทย 2 ราย
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ทำการสอบสวนโรค และให้ผู้ติดเชื้อจำนวนดังกล่าวเข้าสู่การกักกันตัวจนถึงวันที่ 2 เมษายน รวมจำนวน 10 วัน ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจัยเสี่ยงของคลัสเตอร์ 17 ราย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของคลัสเตอร์ดังกล่าว มีดังนี้
- ทำงานเป็นร้านค้า ทำให้มีคนเข้า-ออก ตลอดเวลา
- ที่พักอาศัยเป็นอาคารพาณิชย์แบ่งห้องเช่า มีผู้พักอาศัยประมาณ 70 คน มาตรการของที่พักอาศัยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ไม่มีการลงทะเบียน การวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าอาคาร ไม่มีจุดบริการเจลล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัยไม่เคร่งครัด
- สถานที่ทำงานเป็นอาคารพาณิชย์ มีพนักงานประมาณ 71 คน เป็นโรงงานทำขนม แบ่งเป็นแผนกมีการประสานงานกัน ไม่มีลิฟต์ ไม่มีพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันได้ แต่มีการสแกนนิ้ว/สแกนหน้า เพื่อเข้างาน มีการวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้างาน มีจุดล้างมือ พนักงานทุกคนสวมใส่หน้ากากผ้าตลอดเวลา มีการทำความสะอาดเป็นเวลา แต่การดำเนินการไม่ครบถ้วน
มาตรการในการควบคุมโรค
แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า หลังตรวจพบกลุ่มคลัสเตอร์ก็ได้มีการจัดมาตรการในการควบคุมโรคดังต่อไปนี้
- ค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ
- เฝ้าระวังติดตามผู้อาศัยร่วมบ้าน และผู้ที่ทำงานร้านเดียวกันให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการแยกกักกัน การติดตามอาการ และการรายงานผลการติดตามผู้สัมผัสอย่างต่อเนื่องเป็น เวลา 14 วัน
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 ถนอม ทองสิมา สำนักอนามัย มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งทำการ Home quarantine จนถึง 2 เมษายน 2564
- ลงสอบสวนโรคเพิ่มเติมที่โรงงานและหอพัก ในวันที่ 22 มีนาคม 2564
- เฝ้าระวังผู้มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคในชุมชน/สถานที่ทำงาน ถึงวันที่ 2 เมษายน 2564
แพทย์หญิงอภิสมัย ยังเน้นย้ำว่า จากกรณีคลัสเตอร์ที่พบทำให้เห็นได้ชัดว่า ยังไม่สามารถลดมาตรการลงได้อีก หรือการผ่อนคลายมาตรการเร็วขึ้นกว่าเดิม