เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง แพทย์เผย เหมือนระเบิดเวลาในตัวผู้ป่วย

หลอดเลือดใหญ่โป่งพอง

สาธารณสุข แจงอาการ “หลอดเลือดแดงใหญ่ โป่งพอง-แตก” ร้ายแรงสุด “ไม่มีอาการ” เหมือนระเบิดเวลาในตัวผู้ป่วย

วันที่ 26 มีนาคม 2564 รศ.(พิเศษ) ทวี โชติพิทยสุนนท์ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ แถลงข่าวชี้แจงถึงกรณีมีผู้ป่วยเกิดอาการเส้นเลือดในท้องโป่งพอง แตก จนทำให้เสียชีวิต หลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยยืนยันว่า การเสียชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน

จากนั้น รศ.(พิเศษ) ทวี ได้อธิบายถึงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ระบุว่า หัวใจจะมีเส้นเลือดแดงใหญ่ เป็นท่อหลักซึ่งมีขนาดใหญ่มาก และจะแตกแขนงไปเลี้ยงสมอง เลี้ยงแขนขา โดยจะพาดไปที่ช่องท้อง ช่องอก และไปแตกแขนงอยู่ที่ขาทั้งสองข้าง

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ถือเป็นความผิดปกติที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิด ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มผู้มีอายุมาก พอมีอายุมากขึ้น เนื้อเยื่อก็มีการเสื่อมสลายไป ความแข็งแรงจะลดลง
  • เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคความดันสูง
  • มีความเสี่ยงจากไขมันในเลือดสูง คนที่สูบบุหรี่
  • มีอยู่ส่วนน้อยที่เป็นความพิการตั้งแต่กำเนิด

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า โรคนี้ เหมือนระเบิดเวลาที่ซ่อนอยู่ในตัวผู้ป่วย ปัญหาใหญ่ที่สุดของโรคนี้คือ ไม่มีอาการ เพราะหากมีการแสดงอาการสักหน่อย จะสามารถรู้และไปตรวจโรคเพื่อรักษาได้ทัน

การรักษา

การรักษาของโรค คือ หากพบว่า เป็นเพียงก้อนเล็ก ๆ ก็ให้เฝ้าระวังต่อไป และก็ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ส่วนหากพบว่าเป็นก้อนใหญ่ ต้องผ่าทันที เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะรอดจากโรคนี้มี แต่ไม่มาก เพราะเหมือนเส้นเลือดใหญ่ที่เป็นท่อหลักมันแตก และความดันสูงมาก เลือดจะไหลออกอย่างรวดเร็ว

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน

รศ. (พิเศษ) ทวี ได้ย้ำในเรื่องของผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน ระบุว่า การอาการใด ๆ เกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีน ถือว่าเป็นอาการไม่ถึงประสงค์ทั้งนั้น แต่จะเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ทางแพทย์จะเป็นคนพิจารณาอีกครั้ง

ส่วนอาการข้างเคียงที่เกิดหลังจากฉีดวัคซีน มี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ ชนิดรุนแรง และชนิดไม่รุนแรง

นพ. (พิเศษ) ทวี ยกตัวอย่างวัคซีน “ซิโนแวก” จากการศึกษาวิจัยในระยะที่ 3 พบว่า ผลข้างเคียงชนิดที่ไม่รุนแรง เกิดขึ้น 20-30% ของคนที่ฉีดวัคซีน

ในขณะที่ ผลข้างเคียงรุนแรง พบประมาณ 0.7% ซึ่งในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนหลอกของซิโนแวกเนี่ย พบผลข้างเคียงรุนแรง 0.8% เพราะฉะนั้นไม่ต่างกัน แสดงว่า วัคซีนที่ประเทศไทยนำมาใช้ มีความปลอดภัย