9 สถิติสำคัญ 15 อาการข้างเคียง ที่พบมากสุด หลังฉีดวัคซีนโควิด

ฉีดวัคซีน
Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP

“อว.” เปิด 9 สถิติสำคัญหลังฉีดวัคซีน” ระบุ 89% ไม่มีรายงานผลข้างเคียง มี10% มีผลข้างเคียง พบ 15 อาการข้างเคียง มากสุดตั้งแต่ 1.ปวดกล้ามเนื้อ 2.ปวดหัว 3.เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 4.ปวด บวม แดง ร้อน 5.มีไข้ นอกนั้นมีคลื่นไส้ ท้องเสีย มีผื่น เผยไทยฉีดวัคซีนครบ 2 ล้านโดสแล้ว

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานว่า กระทรวง อว. และกระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามและประมวลผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก โดยสรุปข้อมูลถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ว่า

ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว จำนวน 2,040,363 โดส โดยมีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม 1,395,130 คน หรือเท่ากับ 2.11% ของประชากร และฉีดครบสองเข็มแล้วถึง 645,233 คน หรือเท่ากับ 0.97% ของประชากร

ทั้งนี้ สำหรับวัคซีนที่ใช้ 94.8% เป็นวัคซีนซิโนแวก และ 5.2% เป็นวัคซีนแอสตราเซนเนก้า

สถิติที่สำคัญของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย จำนวน 2 ล้านโดสแรก มีดังนี้

1.ไทม์ไลน์ที่สำคัญเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

  • 20 ม.ค.64 อย.อนุมัติวัคซีนแอสตราเซนเนก้าแบบมีเงื่อนไขเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
  • 22 ก.พ.64 อย.อนุมัติวัคซีนซิโนแวกแบบมีเงื่อนไขเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
  • 24 ก.พ.64 วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก 317,600 โดส ถึงประเทศไทย
  • 28 ก.พ.64 เริ่มฉีดวัคซีนซิโนแวก
  • 16 มี.ค.64 เริ่มฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนก้า
  • 23 เม.ย.64 ฉีดวัคซีนครบ 1 ล้านโดส
  • 12 พ.ค.64 ฉีดวัคซีนครบ 2 ล้านโดส

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดหนึ่งล้านโดส

ADVERTISMENT
  • หนึ่งล้านโดสแรก ใช้เวลา 54 วัน
  • หนึ่งล้านโดสที่สอง ใช้เวลา 20 วัน

3. จำนวนการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2564

  • ยอดรวม ฉีดแล้ว 2,040,363 โดส
  • ฉีดเข็มแรก 1,395,130 โดส (เท่ากับ 2.11% ของประชากร)
  • ฉีดเข็มที่สอง 645,233 โดส (เท่ากับ 0.97% ของประชากร)

4. ชนิดของวัคซีนที่ใช้

ADVERTISMENT
  • วัคซีนซิโนแวก ฉีดแล้ว 1,934,931 โดส (94.8%) แบ่งเป็น
  • ฉีดเข็มแรก 1,291,556 โดส (63.3%)
  • ฉีดเข็มที่สอง 643,375 โดส (31.5%)
  • วัคซีนแอสตราเซนเนก้า ฉีดแล้ว 105,432 โดส (5.2%) แบ่งเป็น
  • ฉีดเข็มแรก 103,574 โดส (5.1%)
  • ฉีดเข็มที่สอง 1,858 โดส (0.1%)

5. การจัดสรรวัคซีน ได้จัดสรรแล้วทั่วประเทศ จำนวนรวม 2,454,496 โดส แบ่งเป็น

  • วัคซีนซิโนแวก 2,341,066 โดส
  • วัคซีนแอสตราเซนเนก้า 113,430 โดส

6. กลุ่มผู้ได้รับวัคซีน เรียงตามลำดับ

  • บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข/อสม. 974,019 โดส (47.8%)
  • ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 639,687 คน (29.3%)
  • เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 257,927 คน (13.5%)
  • บุคคลที่มีโรคประจำตัว 120,546 คน (6.0%)
  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 48,184 คน (3.4%)

7. จังหวัดที่มีผู้ฉีดวัคซีน จำนวนมากที่สุด 10 จังหวัดแรก

  • 1. กรุงเทพมหานคร
  • 2. สมุทรสาคร
  • 3. ภูเก็ต
  • 4. นนทบุรี
  • 5. ตาก
  • 6. ชลบุรี
  • 7. สุราษฎร์ธานี
  • 8. สมุทรปราการ
  • 9. ปทุมธานี
  • 10. บุรีรัมย์

8. จังหวัดที่มีผู้ฉีดวัคซีนต่อประชากร สัดส่วนสูงที่สุด 10 จังหวัดแรก

  • 1. สมุทรสาคร
  • 2. ภูเก็ต
  • 3. ระนอง
  • 4. ตาก
  • 5. กรุงเทพมหานคร
  • 6. นนทบุรี
  • 7. สุราษฎร์ธานี
  • 8. สมุทรสงคราม
  • 9. พังงา
  • 10. ชลบุรี

9. ความปลอดภัยของวัคซีน

  • 89.19% ของผู้ฉีด ไม่มีรายงานผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน
  • 10.81% ของผู้ฉีด มีผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน ได้แก่
  • ปวดกล้ามเนื้อ (6.65% ของผู้ที่ฉีด)
  • ปวดศีรษะ (4.37%)
  • .เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (3.23%)
  • ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด (3.18%)
  • ไข้ (2.08%)
  • คลื่นไส้ (1.56%)
  • ท้องเสีย (1.23%)
  • ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง (0.91%)
  • ผื่น (0.7%)
  • อาเจียน (0.4%)
  • อาการอื่นๆ (1.34%)
  • มีอาการแพ้รุนแรง 6.5 คนต่อหนึ่งล้านโดส และการชาชนิด Polyneuropathy 0.5 คนต่อหนึ่งล้านโดส
  • ไม่มีผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากวัคซีน

แหล่งข้อมูล กรมควบคุมโรค ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)