ศบค. ผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้(30พ.ค.) พุ่งอีก 4,528 ราย ยอดตายทะลุ 1,012 คน

กทม.-ฉีดวัคซีน covid-19
เครดิตภาพ : กทม.

ศบค. และ EOC กระทรวงสาธารณสุข เผยยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้ (30 พ.ค.) เพิ่มขึ้นอีก 4,528 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 24 คน หายป่วยกลับบ้าน 2,933 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสมทะลุเกินพันรายแล้ว

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาล และศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข้อมูลเบื้องต้น สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า วันนี้พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 4,528 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,626 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,902 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,933 ราย ผู้ป่วยสะสม 125,444 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) และเสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย

สำหรับยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดจนถึงวันนี้มีจำนวน 154,307 ราย โดยในระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 918 รายแล้ว ขณะที่ผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั้งหมด 1,012 ราย

ขณะที่ กรมควบคุมโรครายงานว่า ;วันนี้มีผู้ป่วยยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 48,051 ราย อาการหนัก 1,209  ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 389 ราย

และระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 29 พฤษภาคม 2564 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 3,548,330 โดสตระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานและผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นเป็นสำคัญ ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทฯ

สำหรับผู้เสียชีวิตวันนี้จำนวน 24 รายนั้น อยู่ในกทม. 14 ราย นนทบุรี 3 ราย ชลบุรี 2 ราย และเชียงใหม่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช จังหวัดละ 1 ราย

ส่วนอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1. ยังเป็น สหรัฐอเมริกา จำนวน 34,035,318 ราย 2. อินเดีย จำนวน 27,893,472 ราย 3. บราซิล จำนวน 16,471,600 ราย 4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,657,572 ราย 5. ตุรกี จำนวน 5,235,978 ราย ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 83 จำนวน 154,307 ราย

ศบค.ยังได้สรุปสถานการณ์การระบาดตามเหตุการณ์ แบ่งตามกลุ่มเขตของ กทม. ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ค.2564 ดังนี้

คลัสเตอร์ ที่มีผู้ป่วยภายใน 14 วัน

1. กรุงเทพกลาง เขตดินแดง เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตราชเทวี เขตสัมพันธวงศ์ เขตห้วยขวาง
2. กรุงเทพตะวันออก เขตคลองสามวา เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตหนองจอก
3. กรุงเทพใต้ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตวัฒนา เขตสวนหลวง
4. กรุงเทพเหนือ เขตบางซื่อ
5. กรุงธนใต้ เขตทุ่งครุ เขตบางแค
6. กรุงธนเหนือ เขตบางกอกน้อย

คลัสเตอร์ ที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วัน

1. กรุงเทพกลาง ไม่พบการระบาดที่เป็น Cluster
2. กรุงเทพตะวันออก เขตประเวศ
3. กรุงเทพใต้ เขตสาทร
4. กรุงเทพเหนือ เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตหลักสี่
5. กรุงธนใต้ ไม่พบการระบาดที่เป็น Cluster
6. กรุงธนเหนือ เขตบางพลัด

นอกจากนี้ยังมีการสรุป 30 แคมป์ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูงใน กทม. (แยกตามกลุ่มเขต) จากการสุ่มตรวจหาเชื้อ 50 เขต รวม 409 แคมป์ นอกจากนี้ยังมีการ 30 แคมป์ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูงใน กทม. (แยกตามกลุ่มเขต) จากการสุ่มตรวจหาเชื้อ 50 เขต รวม 409 แคมป์

รวมถึงยังเฝ้าระวัง 4 คลัสเตอร์ใหม่ กทม. ได้แก่ เขตดินแดง แคมป์ก่อสร้าง เขตวัฒนา แคมป์ก่อสร้าง เขตปทุมวัน แคมป์ก่อสร้าง และเขตคลองสามวา : ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลก-30 พ.ค. 64