เดลล์ แนะองค์กรก้าวข้ามอุปสรรคที่จุดตัดของคนและเทคโนโลยี

เดลล์ เทคโนโลยี่ส์ เผยผลสำรวจอุปสรรคการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในองค์กรทั่วโลก พร้อมชู สี่เสาหลักขับเคลื่อนพร้อมกันช่วยองค์กรข้ามอุปสรรค

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหารตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและกลุ่มธุรกิจคอนซูมเมอร์ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์ เทคโนโลยี่ส์ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง Breaking through barriers to digital transformation  at the intersection of people and technology ในงาน Dell Technologies Forum Thailand เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลนำสู่ความขัดแย้งของคนและเทคโนโลยี

ผลสำรวจดังกล่าวตั้งคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรไปสู่ดิจิทัล หรือ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยมุ่งค้นหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนองค์กร พบว่า “คน” เป็นสินทรัพย์สำคัญที่เป็นทั้งแรงขับเคลื่อนและอุปสรรคในการทรานส์ฟอร์ม

จากตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 10,500 รายจากกว่า 40 ประเทศ เชื่อว่าองค์กรของตนประเมินการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมในการวางแผนโปรแกรมการปฏิรูป “ต่ำเกินไป”

องค์กรชั้นนำด้านไอทีของไทยกว่า 58% กล่าวว่า มีความรับรู้และพร้อมจะปฏิรูปการทำงานของพนักงานสู่ระบบดิจิทัล แต่ทันทีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็ว พนักงานหลายคนปรับตัวไม่ทัน

ADVERTISMENT

ผลสำรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้นำด้านไอทีในประเทศไทย หรือ 58% กล่าวว่าองค์กรของตนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการปฏิรูปคนทำงานสู่ระบบดิจิทัล แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานหลายคนกำลังเจอปัญหาท้าทายในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผลเฉลี่ยทั่วโลกบริษัทชั้นนำกว่าสองในสามกลุ่มตัวอย่างกำลังเผชิญปัญหานี้

ผลสำรวจยังเน้นให้เห็นอีกด้วยว่าช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจและคนทำงานต้องการเวลาในการปรับตัว เตรียมใจ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามโครงการใหม่หรือโครงการที่หยิบมาทำซ้ำ แม้ว่าช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจะเห็นถึงความมุ่งมั่นและพยายามที่จะสร้างความก้าวหน้า

ADVERTISMENT

โดยผลวิจัยชี้ว่าให้เห็นแนวโน้มว่าการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะเกิดการ “สะดุด”

จากกลุ่มตัวอย่างประเทศไทย 69% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 72%; ทั่วโลก: 64%) เชื่อว่าการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากคนในองค์กรอาจทำให้การปฏิรูปไม่ประสบผลสำเร็จ กว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยจำนวน 54% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 62%; ทั่วโลก: 53%)  กลัวว่าจะตัวเองจะถูกปิดกั้นจากความก้าวหน้าของโลกดิจิทัล เนื่องจากขาดผู้ที่มีอำนาจ/มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมจะนำโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเรื่องนี้ก็ทำให้โมเดล As-a-Service กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายธุรกิจ

ด้านนายฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหม่ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า องค์กรส่วนใหญ่ ตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปฏิรูปทางดิจิทัล แต่พวกเขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และบุคลากรที่อยู่ในองค์กรก็ไม่ได้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอไป ความขัดแย้งระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์นี้ประกอบกันขึ้นมาจากการแพร่ระบาดของโรค อย่างไรมันก็ทำให้ภาคธุรกิจต้องเข้าสู่การทำให้ธุรกิจตอบสนองต่อวิกฤติได้อย่างรวดเร็วและความขัดแย้งระหว่างคนและเทคโนโลยีจึงทำให้หลายองค์กรเหนื่อยและหมดแรง

“วันนี้ องค์กรธุรกิจที่ปรารถนาความสำเร็จอย่างยั่งยืนต้องถามตัวเองว่าพวกเขาจะสามารถช่วยพนักงานของตนนำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นต่อไปได้อย่างไร”

เสริมความพร้อมขององค์กรในไทย

นายอโณทัย เปิดเผยว่า ผลการเปรียบเทียบเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล เดลล์และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านพฤติกรรมได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจความพอใจในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของผู้เข้ารับการสำรวจตั้งแต่ผู้นำธุรกิจระดับอาวุโส ตลอดจนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีและพนักงานที่กำลังดำเนินการตามโครงการปรับปรุงความทันสมัยให้กับองค์กร พบว่าสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  • Sprint หรือกลุ่มที่ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงสุด คือผู้ที่จะไล่ตามนวัตกรรมและเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว พบว่า คนทำงานในไทยอยู่ในกลุ่มนี้ 30% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 7%; ทั่วโลก: 10%)
  • Steady หรือกลุ่มที่มีความสม่ำเสมอหนักแน่น จะปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตามที่ผู้อื่นเลือกให้ กลุ่มตัวอย่างคนทำงานในไทยกว่า 49% อยู่ในกลุ่มนี้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 41%; ทั่วโลก: 43%)
  • Slow คือกลุ่มที่เอนเอียงไปทางลังเลและสังเกตผู้อื่น กลุ่มตัวอย่างคนทำงานในไทย 19% อยู่ในกลุ่มนี้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 46%; ทั่วโลก: 42%)
  • Still หรือกลุ่มที่ค่อนข้างหยุดนิ่งกับที่  กลุ่มตัวอย่างคนทำงานในไทย 2% อยู่ในกลุ่มนี้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 6%; ทั่วโลก: 5%)

โดยผลการศึกษาเหล่านี้ ส่งสัญญาณบ่งบอกถึงโอกาสสำหรับภาคธุรกิจในการมุ่งเน้นและก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่กุญแจสู่ความสำเร็จคือการสร้างการบรรจบกันของ “คนและเทคโนโลยี” ประกอบด้วยสามส่วนด้วยกัน

  1. การเชื่อมต่อ (Connectivity)
  2. ผลลัพธ์ของงาน
  3. ความเห็นอกเห็นใจ

ซึ่งทั้งสามประเด็นจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากร และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด และเทคโนโลยีที่เอื้อให้คนทำงานทำงานอย่างไม่ลำบากและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งคำถามและตัวเลขของผู้แสดงความคิดเห็นมีความน่าสนใจอย่างมาก จะช่วยให้เห็นภาพความต้องการของ “คนทำงาน” ทั่วโลกมากขึ้น สามารถเข้าไปดูรายงานฉบับเต็มได้ที่ Breaking through at the intersection of people and technology

เดลล์ ชู 4 เสาหลักตอบโจทย์พัฒนา “คน-เทคโนโลยี” ข้ามจุดตัดอุปสรรคการทรานส์ฟอร์ม

จากข้อมูลการศึกษาที่แสดงให้เห็น นายอโณทัย จึงได้เสนอว่า เดลล์ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของวิถีคนในยุคไฮบริด และการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น มี 4 เสาหลักได้แก่

  1. ผู้คน เป็นสิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญเพราะข้อมูลจากงานวิจัยนี้บ่งบอกชัดว่าองค์กรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาการต่อต้านและความไม่เข้ากันทางเทคโนโลยีและวิถีชีวิตไฮบริด
  2. คลาวด์และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสิ่งที่ต้องคิดเพราะสภาพแวดล้อมการทำงานของคนแบบไฮบริดหรือการทำงานจากทุกที่ ทำให้เกิดความหลากหลายของการใช้คลาวด์ หรือมัลติคลาวด์ แต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน การใช้คลาวด์ขององค์กรยังเป็น “มัลติ คอนแทร็ก” ไม่ใช่ “มัลติตคลาวด์” ซึ่งเดลล์มองว่าจะเข้าไปเป็นจัวเชื่อมให้เกิดมัลติคลาวด์อย่างแท้จริง
  3. ข้อมูล แน่นอนว่าเมื่อคนทำงานจากทุกที่ และคลาวด์มีหลากหลาย ส่งผลให้ข้อมูลถูกสร้างขึ้นแบบไม่มีโดนลบ นับวันจะยิ่งต้องการพื้นที่เก็บมากขึ้น ซึ่งเดลล์มี Mega Storage ไว้สำหรับรองรับ ดังนั้นเมื่อข้อมูลและการทำงานเกิดขึ้นทุกที่สิ่งที่ตามมาคือ
  4. ความปลอดภัย ด้วยสภาพแวดล้อมที่กล่าวมาทั้งหมดความปลอดภัยเป็นเรื่องใหญ่ที่จะกังวล

“ทั้ง 4 ส่วนนี้จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน สำหรับในประเทศไทยเราเห็นว่าด้านคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างจะพัฒนาไปเร็วมาก อย่างไรก็ตามจะต้องเสริมส่วนอื่นๆ ให้ทัดเทียมกันด้วย” นายอโณทัย กล่าว