
ชวนมาทำความรู้จัก “Transkriptor” AI ถอดเสียงที่รองรับมากกว่า 100 ภาษา เพิ่ม productivity การทำงาน แก้ปัญหาการถอดเทปแบบเดิม ๆ
วันที่ 7 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า “การถอดเทป” เปรียบเสมือนยาขมที่หลายคนต้องเผชิญตั้งแต่ใช้ชีวิตในวัยเรียนมาจนถึงวัยทำงาน เพราะเทปสั้น ๆ เพียงไม่กี่นาที อาจจะต้องใช้เวลาร่วมชั่วโมงในการถอดเนื้อความให้สมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือหรือตัวช่วยที่ทำให้การถอดเทปสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “Transkriptor” AI ช่วยถอดเสียงที่รองรับการใช้งานมากกว่า 100 ภาษา
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
“Transkriptor” คืออะไร?
Transkriptor คือตัวช่วยแปลงเสียงเป็นข้อความที่ประมวลผลผ่านการทำงานของ AI จากสตาร์ตอัพในสหรัฐ รองรับมากกว่า 100 ภาษา รวมถึงภาษาถิ่นของบางประเทศด้วย สามารถแปลงเสียงได้จากไฟล์ที่มีอยู่แล้ว หรืออัดเสียงด้วย Transkiptor และให้ AI ประมวลผลหลังจากอัดเสร็จได้เช่นกัน โดยระยะเวลาที่ใช้ในการแปลงเสียงเป็นข้อความขึ้นอยู่กับความยาวของไฟล์เสียงหรือวิดีโอต้นทาง
นอกจากนี้ Transkriptor ยังมีฟีเจอร์ส่งบอท (bot-robot) เข้าร่วมการประชุมแบบออนไลน์ เพื่อเป็นผู้ช่วยในการถอดเทปแบบเรียลไทม์และนำเนื้อหาการประชุมมาสรุปในภายหลัง รวมถึงมีฟีเจอร์ AI Chatbot ที่ช่วยสรุปเนื้อหาหรือหาข้อมูลจากไฟล์เสียงในเบื้องต้นเมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งที่ต้องการเข้าไป
โดยผู้ใช้สามารถใช้งาน Transkriptor ได้บนเว็บไซต์ app.transkriptor.com (ใช้งานบน Chrome เพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด), ติดตั้งเป็น Chrome Extension หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบน App Store และ Google Play Store ก็ได้เช่นกัน

ความน่าสนใจของ “Transkriptor”
หลังจากผู้สื่อข่าวได้ทดลองใช้ Transkriptor มาสักระยะหนึ่ง จึงสรุปความน่าสนใจของแอปดังกล่าวมาเป็น 3 ข้อ ดังนี้
1. User Interface (UI) ใช้งานง่าย
User Interface ของ Transkriptor ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย มีลักษณะเป็นแดชบอร์ดแบ่งสัดส่วนของฟีเจอร์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยผู้ใช้สามารถเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด หากเป็นการใช้งานฟีเจอร์ที่ซับซ้อนกว่าปกติ เช่น การส่งบอทเข้าไปเป็นผู้ช่วยถอดเสียงในการประชุมแบบออนไลน์ เป็นต้น
2. ทำงานกับไฟล์เสียงได้หลากหลายรูปแบบ
Transkriptor ถูกออกแบบระบบให้รองรับการแปลงไฟล์เสียงหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ที่อัดจากอุปกรณ์อื่น, ไฟล์ที่อัดบน Transkriptor แบบเรียลไทม์ และไฟล์วิดีโอบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่สามารถแปลงเสียงเป็นข้อความได้โดยใช้ลิงก์หรือ URL ของวิดีโอนั้น ๆ
3. นำข้อความไปใช้งานต่อได้ง่าย
ข้อความที่ได้หลังแปลงเสียงจะมีการแบ่งสัดส่วนของผู้พูดแต่ละคนในกรณีที่เป็นการถอดเทปบทสัมภาษณ์หรืองานสัมมนาที่มีการสื่อสารเกิดขึ้นตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถแก้ไขข้อความที่ผ่านการประมวลผลได้ทันที หรือจะดาวน์โหลดเป็นไฟล์ .doc มาใช้งานต่อบนโปรแกรม Microsoft Word หรือเป็นไฟล์ .srt เพื่อนำไปทำ subtitle ในวิดีโอต่อก็ได้เช่นกัน
ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน “Transkriptor”
Transkriptor มีบริการทดลองใช้ฟรี แต่สามารถแปลงเสียงเป็นข้อความได้เพียง 5 นาทีแรกของไฟล์เสียงหรือวิดีโอเท่านั้น หากต้องการใช้งาน Transkriptor อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องสมัครเป็นสมาชิกรายเดือนสำหรับบุคคลทั่วไปจาก 2 แพ็กเกจ ดังนี้
1. แพ็กเกจแบบ Lite ค่าบริการเดือนละ 9.99 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 350 บาท) หรือปีละ 59.95 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,200 บาท) สามารถแปลงไฟล์เสียงได้สูงสุด 300 นาทีต่อเดือน
2. แพ็กเกจแบบ Premium ค่าบริการเดือนละ 24.99 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 875 บาท) หรือปีละ 149.95 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5,500 บาท) สามารถแปลงไฟล์เสียงได้สูงสุด 2,400 นาทีต่อเดือน
นอกจากนี้ Transkriptor ยังมีแพ็กเกจสำหรับภาคธุรกิจด้วย โดยผู้ใช้สามารถเลือกแพ็กเกจได้ตามจำนวนสมาชิกในทีม เช่น แพ็กเกจสำหรับ 5 คน จะมีค่าบริการปีละ 900 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 33,000 บาท) สามารถแปลงไฟล์เสียงได้สูงสุด 3,000 นาที/เดือน/สมาชิก เป็นต้น