
“หมอยง” เผยยังไม่มีวัคซีนใหม่เกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่มีแนวโน้มพัฒนายารักษาให้ตรงสายพันธุ์ ชี้ต้องใช้อาสาสมัครจำนวนมาก และใช้เงินลงทุนสูง
วันที่ 27 เมษายน 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่าวัคซีน COVID-19 ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่าลดความรุนแรงของโรคได้ ทำให้การพัฒนาวัคซีนต้องใช้เวลานาน และคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด วัคซีนจะให้กับคนที่แข็งแรงปกติ ถ้ามีอาการข้างเคียงที่รุนแรงยอมรับไม่ได้
- ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ยุบ ศบค. 1 ต.ค.นี้ โควิดติดต่อไม่อันตราย
- ส่องคดีแชร์ลวงโลก FOREX 3D มาถึง พิ้งกี้-พี่-แม่ ได้อย่างไร
- ลงทะเบียน คนละครึ่งเฟส 5 รับเงิน 800 บาท เริ่มแล้ว วันนี้ !
ในภาวะฉุกเฉิน โรคระบาดที่มีความรุนแรง การพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็ว เร่งรีบ เพื่อเอาชนะกับการระบาดของโรคที่มีความรุนแรง และมีการใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อโรคสงบ หรือลดความรุนแรงลง การพัฒนาวัคซีนจะคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้น การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนจะต้องใช้อาสาสมัครหลายหมื่นคน ให้และไม่ให้วัคซีน เปรียบเทียบกัน
ตรงข้ามกับการพัฒนายาใช้รักษาผู้ป่วย ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วย ทนทุกข์ทรมานอยู่แล้ว การศึกษาประสิทธิภาพของยาให้จำเพาะกับผู้ป่วย ใช้จำนวนผู้ป่วยไม่มาก ในการเปรียบเทียบ จะเป็นหลักร้อยหรือหลักพันต้น ๆ เท่านั้น การศึกษาทางคลินิกจะลงทุนน้อยกว่ามาก
สำหรับแนวโน้มโรคโควิด-19 ที่จะได้วัคซีนชนิดใหม่ ให้ตรงสายพันธุ์หรือมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีความจำเพาะจึงไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพราะการทำระยะที่ 3 ต้องใช้อาสาสมัครแข็งแรงดี จำนวนมาก เป็นการลงทุนที่สูงมาก และโรคมีแนวโน้มความรุนแรงลดลง จึงมีแนวโน้มที่จะหันไปพัฒนายากันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของเราเอง ตั้งแต่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 มาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่สัญชาติไทยที่ได้ใช้