เพื่อไทย คิดใหญ่ ปลุก กทม. ให้เป็นมหานครทางเศรษฐกิจ

เพื่อไทย ประกาศนโยบายเพื่อคนกรุงเทพ ประกาศให้เป็นมหานครทางเศรษฐกิจ – ซอฟต์พาวเวอร์ – ความเท่าเทียม พร้อม สร้างเขื่อนรอบ กทม.เพิ่มที่อยู่ สร้างรายได้ กันน้ำท่วม

วันที่ 24 มีนาคม 2566 ที่สเตเดียมวัน พรรคเพื่อไทย จัดงาน “คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคนกรุงเทพ” นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และ ประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย

นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร แกนนำพรรค กรรมการบริหารพรรค นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพานทองแท้ ชินวัตร นางพินทองทา คุณากรวงศ์ รวมถึงว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรคทั้ง 33 เขต

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า วันที่ 20 มีนาคม เป็นวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งคืนความสุขให้เราเป็นวันแรก 8 ปีที่เราทุกข์ทรมาน หมดหนทาง หมดหวังทุกข์โศก ไร้อนาคต ไร้ทิศทาง วันที่ 14 พฤษภาคมจึงเป็นวันชี้ชะตาของเราทุกคน โดยเฉพาะพี่น้องชาว กทม. เพราะ กทม.เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบไปทุกจังหวัด อยากเชิญมาจับมือร่วมกันเปลี่ยนประเทศนัวนที่ 14 พฤษภาคม

เชื่อมั่นในตัว คน กทม. กทม.เป็นอย่างไร ประเทศเป็นอย่างนั้น เพื่อไทยจึงชวนมาคิดใหญ่ทำเป็นเพื่อคนทั้งประเทศ เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานบอกด้วยความุ่งมั่นว่าเราพร้อม เราเป็นต้นตำหรับนโยบาย ถ้าเลือกเพื่อไทย เท่ากับเลือกนโยบายที่ดีที่สุด นโยบายที่กินได้ ให้กับคนไทยทุกคน

ถ้า กทม.ฟื้น ประเทศไทยฟื้น เราจะกระตุกหัวใจคน กทม.ด้วยกระเป๋าตังค์ ดิจิทัลวอลเลต จ่ายให้ชุ่มปอด กระจายรายได้ไปหลายรอบ เราจะออกจากห้องไอซียู ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่น อัดเข้าไปทุกอย่างให้มากกว่า 2 หมื่นให้ได้ เติมเต็มด้วยเงินสด จุดแข็งอีกด้านหนึ่งคือ แคนดิเดตนายกฯ ให้กำลังใจเลือก น.ส.แพทองธาร เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของเรา ตามมาติดๆ ทุกโพลคือ เศรษฐา ทวีสิน

เรามีผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถความเข้าใจ เข้าถึงประชาชนทุกเขตเลือกตั้ง ส.ส.กทม.ไม่ใช่ได้มาแบบง่ายดาย เรามี ส.ส.กทม. 9 คนในสภา ทำงานหนักที่สุด กทม.แตก ประเทศแตก ประยุทธ 310 กทม.จะได้ 20 เสียงขึ้นไป เราตีกทม. มั่นใจพรรคการเมืองจะมาจับมือเลือกกับเรา 376 มาจาก ส.ส.ทั้งหมด เพื่อไทยแลนด์สไลด์ 33 เขต

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยขอคิดใหญ่ ใน 4 ปีนี้ จะเปลี่ยน กทม.จากเมืองหลวงของประเทศไทย เป็นเมืองหลวงของคนไทยทุกคน บีบให้อนาคตของเราที่นี่คับแคบลงเรื่อยๆ คน กทม.ต้อง ภายใต้โครงสร้างที่ล้าสมัย เศรษฐกิจไม่เป็นธรรม ผูกติดด้วยความล้าหลังของระบบราชการและผู้นำที่ไม่มีวิสัยทัศน์

แต่โอกาสสร้างอาชีพของคน กทม.ก็กระจุกตัวที่ กทม. เพื่อมาสร้างชีวิต ในกทม. มีทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกๆ คนมีเรื่องราวของตัวเอง มีอุปสรรคในชีวิตของตัวเอง มีข้อจำกัด มีความฝัน ความแตกต่างเหล่านี้ พรรคเพื่อไทยคิดแล้วคิดอีกที่จะพัฒนาคน กทม.ให้มีโอกาสในชีวิตมากขึ้น มีโอกาสและความหวังมากขึ้น

เพื่อไทยจัดกิจกรรม “คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคนกรุงเทพ” ที่ Studium One

เราต้องสร้างพื้นที่ให้ความหลากหลาย คนรุ่นใหม่คืออนาคตของคน กทม. พรรคเพื่อไทยจึงจำเป็นต้องคิดใหญ่เพื่อคนรุ่นใหม่ คิดใหญ่เพื่อคน กทม. โดยเราจะคิดใหญ่เรื่องรายได้ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ครอบครัวใดรายได้ไม่ถึง 2 หมื่นบาท เราจะเติมให้ถึง 2 หมื่นทันที ค่าแรงจะทำให้ถึง 600 ในปี 2570 เด็กจบใหม่ ข้าราชการ 2.5 หมื่นบาท กทม.ต้องเป็นบล็อกเชนฮับ และฟินเทคเซนเตอร์

นโยบายหนึ่งครอบครัว หนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ ค้นหาเพชร เยาวชนในครอบครัวให้พร้อมแข่งขันได้บนเวทีโลก เพื่อสร้างอนาคต หาเลี้ยงตัวเองได้ เราจะคิดใหญ่เรื่องคุณภาพชีวิต สะดวก และปลอดภัย พร้อมที่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายทันที

เราจะเพิ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้ครบ 50 เขต เราจะแก้ปัญหาฝุ่น pm2.5 วางแผนแก้ไขในระยะยาว อีกหนึ่งปัญหาที่ละเลยไม่ได้คือสภาวะโลกรวน น้ำท่วม กทม.มาจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทุกปี ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ กทม.จะจมน้ำในปี 2575 พรรคเพื่อไทยจะสร้างเกาะ สร้างเขื่อนรอบ กทม. เร่งศึกษาโดยละเอียด ให้ครอบคลุมและประหยัดที่สุด

เราสามารถลดความแออัดของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มจากที่ดินในการสร้างเกาะและเขื่อนได้อย่างมหาศาลสร้างรายได้มหาศาลให้กับ กทม.ของเรา แผนของเราจะใหญ่ขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น เพื่อตอบโจทย์คนทุกรุ่นทุกวัยและทุกภาคส่วน การเจริญเติบโตของ กทม.จะวัดจากความมั่นคงและความมั่งคั่งของ กทม. ความหลากหลายจะคงอยู่ ความเหลื่อมล้ำจะหมดไป กทม.จะใหญ่พอสำหรับทุกคน

ด้านนายเศรษฐา กล่าวว่า ตนมีความภาคภูมิใจที่ได้มาอยู่ตรงนี้ กทม.สำหรับตนไม่ใช่เป็นแค่จังหวัด แต่เป็นมหานครเมืองหลวง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนตัวของตนเป็นบ้านเกิด เป็นที่ที่ตนเติบโต หวังให้ลูกหลานใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เมืองที่อุดมสมบูรณ์ นักลงทุนอยากเข้ามาลงทุน แต่กลับได้รัฐบาลไร้ความสามารถ

เมืองหลวงที่เคยรุ่งโรจน์ก็กลายเป็นสากปะรักหักพัง กทม.ถอยหลังลงคลองไปเรื่อยๆ คนที่ไม่มีทางเลือกยิ่งทำก็ยิ่งจนลงทุกวัน พรรคเพื่อไทยจึงมีความตั้งใจที่จะทำให้กรุงเทพฯ กลับมาเป็นมหานครอันดับโลกอีกครั้ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว ตนขอกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของกรุงเทพฯ 3 มิติด้วยกัน

มิติ 1. เราจะเป็นมหานครทางเศรษฐกิจ และนวัตกรรมของเอเชีย ให้ความสำคัญการเจรจาทางการค้า จะเปิดตลาดสในตลาดโลก เราจะทะลายกำแพง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนทั่วโลกอยากลงทุนใน กทม. โดยเฉพาะประเทศไทย เราจะกลายเป็นจุดหมาย เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทใหญ่ สร้างงานสร้างอาชีพ แหล่งลงทุน ต่อยอดนวัตกรรมและความรู้ เราจะทวงคืนศักดิ์ศรีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจให้กลับมาอีกครั้ง

มิติที่ 2 การเป็นมหานครแห่งความหลากหลายทางความคิด อัตลักษณ์ และวัฒนธรรม เพราะการที่เมืองหลวงและมหานครใหญ่ทั่วโลกจะเติบโตได้ ปัจจัยสำคัญต้องเปิดกว้างเปิดรับความแตกต่างของคนที่เข้ามาอยู่ให้เขาได้แสดงออก รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะไม่เพิกเฉยต่อการลิดรอนสิทธิ เพศสภาพ อัตลักษณ์และความคิด คนคิดต่างต้องไม่ถูกทำร้ายและกีดกันการแสดงออกจากเจ้าหน้าที่รัฐ งานศิลปะต้องไม่ถูกตีกรอบด้วยความคิดที่ล้าสมัยในสังคม ต้องเปิดโอกาสเปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้

“เราจะทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นสถานที่จัดงานระดับโลก ผลักดันซอฟท์พาวเวอร์ ให้ประเทศไทยเป็นที่จัดคอนเสิร์ต งานหนัง งานโฆษณา งานศิลปะและงานวัฒนธรรม เปิดโอกาส ให้ต่างชาติได้เห็นฝีมือคนไทยและจะผลักดันความหลากหลายทางเพศ จัดงาน World Pride ให้ได้ภายในปี 2028” เศรษฐากล่าว

มิติสุดท้าย เราจะสร้างการเป็นมหานครแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเท่ากัน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รับผิดชอบ รับฟังเสียงของประชาชน ทำลายระบบเส้นสาย

คน กทม.ล้วนฝากความหวังที่จะทำให้คน กทม.มีความสำคัญ เป็นสูญกลางการบริหาร ความหวังที่จะทำให้ กทม.มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก ความหวังที่จะนำความภูมิใจของคน กทม.กลับคืนมาให้ไทยเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชียอีกครั้ง ขออวยพรให้ได้รับเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ เพื่อไปทำหน้าที่ในสภา ทำให้ ส.ว.250 คนทำตามฉันทามติของประชาชน ให้ความของคน และส่งต่ออนาคตที่ดีกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อว่าที่ผู้สมัครทั้ง 33 เขต ประกอบด้วย

เขตเลือกตั้งที่ 1 นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางรัก,เขตพระนคร,เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย,เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี) , เขตสัมพันธ์วงศ์

เขตเลือกตั้งที่ 2 นางสาวลีลาวดี วัชโรบล ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตสาทร, เขตราชเทวี , เขตปทุมวัน

เขตเลือกตั้งที่ 3 นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เขตบางคอแหลม,เขตยานาวา

เขตเลือกตั้งที่ 4. นายนวธันย์ ธวัธวงศ์เดชากุล ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตคลองเตย ,เขตวัฒนา

เขตเลือกตั้งที่ 5 นายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตห้วยขวาง, เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

เขตเลือกตั้งที่ 6 นายภัทร ภมรมนตรี ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตดินแดง ,เขตพญาไท

เขตเลือกตั้งที่ 7 นายรัฐพงษ์ ระหงส์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางซื่อ, เขตดุสิต (เฉพาะแขวงนครไชยศรี)

เขตเลือกตั้งที่ 8 นายสุรชาติ เทียนทอง ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม), เขตหลักสี่ (ยกเว้นแขวงตลาดบางเขน)

เขตเลือกตั้งที่ 9 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง) , เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม), เขตหลักสี่ (เฉพาะแขวงตลาดบางเขน)

เขตเลือกตั้งที่ 10 นายสุธนพจน์ กิจธนาพิทักษ์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตดอนเมือง

เขตเลือกตั้งที่ 11 นายเอกภาพ หงสกุล ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)

เขตเลือกตั้งที่ 12 นายญาณกิตติ์ ห่วงทรัพย์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง) , เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน), เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจระเข้บัว)

เขตเลือกตั้งที่ 13 นางสาวสกาวใจ พูนสวัสดิ์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจระเข้บัว) , เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)

เขตเลือกตั้งที่ 14 นายพงศกร รัตนเรืองวัฒนา ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตบางกะปิ
,เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

เขตเลือกตั้งที่ 15 นายพลภูมิ วิภัตภูมิประเทศ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตคันนายาว
, เขตบึงกุ่ม (เฉพาะแขวงคลองกุ่ม)

เขตเลือกตั้งที่ 16 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตคลองสามวา (ยกเว้นแขวงสามวาตะวันออกและแขวงทรายกองดินใต้)

เขตเลือกตั้งที่ 17 นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตหนองจอก (ยกเว้นแขวงโคกแฝด แขวงลำผักชีและแขวงลำต้อยติ่ง), เขตคลองสามวา (เฉพาะแขวงสามวาตะวันออกและแขวงกองทรายดินใต้)

เขตเลือกตั้งที่ 18 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงโคกแฝด แขวงลำผักชีและแขวงลำต้อยติ่ง), เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) , เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว)

เขตเลือกตั้งที่ 19 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ), เขตสะพานสูง (ยกเว้นแขวงทับช้าง)

เขตเลือกตั้งที่ 20 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวานิชย์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว)

เขตเลือกตั้งที่ 21 นายอรรฆรัตน์ นิติพน ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน) , เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง)

เขตเลือกตั้งที่ 22 นายธกร เลาหพงศ์ชนะ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตสวนหลวง, เขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน)

เขตเลือกตั้งที่ 23 นายกวีวงศ์ อยู่วิจิตร ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตพระโขนง, เขตบางนา

เขตเลือกตั้งที่ 24 นายศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตคลองสาน,เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจีและแขวงบางยี่เรือ) ,เขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางประกอก)

เขตเลือกตั้งที่ 25 นายกิตติพล รวยฟูพันธ์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตทุ่งครุ, เขตราษฎร์บูรณะ (ยกเว้นแขวงบางประกอก)

เขตเลือกตั้งที่ 26 นายศรัณยสัณฑ์ วีรกุลสุนทร ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน) ,เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม)

เขตเลือกตั้งที่ 27 นางสาวกมลพัฒน์ ปุงบางกระดี่ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตบางขุนเทียน (ยกเว้นแขวงท่าข้าม) , เขตบางบอน (เฉพาะแขวงบางบอนใต้และแขวงคลองบางบอน)

เขตเลือกตั้งที่ 28 นายวัน อยู่บำรุง ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม), เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้และแขวงคลองบางบอน) , เขตจอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน)

เขตเลือกตั้งที่ 29 นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแคเหนือและแขวงบางไผ่), เขตหนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)

เขตเลือกตั้งที่ 30 นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตบางแค (ยกเว้นแขวงบางแคเหนือและแขวงบางไผ่), เขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วนและแขวงคลองขวาง)

เขตเลือกตั้งที่ 31 นายจิรวัฒน์ อรัญยกานนท์ ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง), เขตทวีวัฒนา

เขตเลือกตั้งที่ 32 นายอารุม ตุ้มน้อย ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางกอกใหญ่,เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วนและแวงคลองขวาง), เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจีและแขวงบางยี่เรือ), เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง), เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช)


เขตเลือกตั้งที่ 33 นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล ผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตบางพลัด, เขตบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงศิริราช)