
อัพเดต 12.20 น. วันที่ 19 ตุลาคม 2566
ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน 16-19 ตุลาคม 2566 นายกฯเศรษฐา เจรจากับ 12 บริษัทยักษ์ใหญ่ เพื่อดึงดูดให้มาลงทุนในประเทศไทย
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้เข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Coperration-BRF) ครั้งที่ 3 และการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2566 ตามคำเชิญของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในช่วงวันที่ 17-18 ตุลาคม 2566 ระหว่างการประชุมดังกล่าว มีการนัดพบหารือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ 12 ราย
ผลการเจรจากับ 12 บริษัท
1.กลุ่ม CITIC บริษัทได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Fortune’s Global 500 เป็นเวลา 15 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2552 และอยู่ในอันดับที่ 100 ในปี 2566 โดยนายกฯเชิญให้ร่วมลงทุนในไทย โดยเฉพาะการตั้ง Regional Headquarter ขณะที่ CITIC มีธุรกิจครอบคลุมและมีบริษัทในเครือจำนวนมาก และต้องการขยายความร่วมมือและการลงทุนในไทย โดยเฉพาะสาขาที่ไทยสนใจ เช่น พลังงานสะอาด การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม รวมถึงขยายธุรกิจด้านการเงินในไทย โดยเป็นการลงทุนใน PPP Projects ขนาดใหญ่ของไทย
2.CRRC Group โดยหารือกับ Yongcai Sun, Chairman and Executive Director, CRRC Group เป็นรัฐวิสาหกิจจีนที่ผลิตอุปกรณ์ขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสายการผลิตและบริการแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา ออกแบบ การซ่อมแซม และให้บริการทางเทคนิค ซึ่ง CRRC ได้ทุ่มเทเวลาในการสร้างเครือข่ายและขยายธุรกิจไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวาง อาทิ การพัฒนาเมืองสีเขียว และพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
นายกรัฐมนตรีชวนให้มาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงในสาขาที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ BCG Economy พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ร่วมพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมถึงโครงการ landbridge เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เพื่อการขนส่งด้านพลังงาน และสินค้า เพื่อย่นระยะเวลาและประสิทธิภาพการขนส่ง
3.Ping An โดยหารือกับ Xie Yonglin ประธานกรรมการบริหารบริษัท Ping An ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวเป็น 1 ใน 3 ของผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของจีน บูรณาการด้านการเงินและการบริการด้านสุขภาพเข้าด้วยกัน และรวมถึงธุรกิจประกันภัย ซึ่งปี 2565 Ping An อยู่ในอันดับที่ 25 ของการจัดอันดับ Fortune Global 500 (อันดับ 4 หากจัดประเภทบริษัททางการเงินทั่วโลก)
ทั้งนี้ นายกฯเชิญชวนให้มาลงทุนในไทยให้มากขึ้น ในด้าน healthcare การเงิน ขณะที่ Ping An จะขยายการบริการประกันภัยนอกประเทศ จะพิจารณาไทยเป็นประเทศแรก
4.Alibaba Alibaba International Digital Commerce Group โดยหารือกับ Fan Jiang ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Alibaba International Digital commerce Group เป็นบริษัท e-Commerce รายใหญ่ ให้บริการและพัฒนาระบบการค้าออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ระบบ Alibaba Cloud Computing และระบบการชำระเงิน Alipay บริษัททำสถิติการขายหุ้นให้กับนักลงทุนเป็นครั้งแรก (IPO) ด้วยมูลค่าสูงสุดในตลาดหุ้นนิวยอร์กจำนวน 25,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 800,000 ล้านบาท
โดยนายกฯชวนให้มาขยายการลงทุนในไทย ในฐานะที่เป็น strategic partner โดย Alibaba ยินดีสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในด้านดิจิทัล และเสนอให้ตั้ง smart digital hub ในไทย
รวมถึงวางแผนขยายการดำเนินการ travel platform ซึ่งกำลังร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ใช้ระบบ online และเสนอการใช้ใบขับขี่จีนในไทย จะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงบริษัทจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ไทย online help center สำหรับนักท่องเที่ยว
5.XIOMI โดยได้หารือกับ Alain Lam Vice President, CFO โดย Xiaomi เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีนวัตกรรมขั้นสูง สร้างอุตสาหกรรมดิจิทัลที่หลากหลาย โดดเด่นในการผลิตโทรศัพท์มือถือที่ปฏิบัติการบนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Android
ทั้งนี้ มีไทยเป็น Headquarter ในภูมิภาค โดยได้จัดตั้งบริษัท Xiaomi Technology (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อจำหน่ายและทำการตลาดโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย รวมทั้งขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง และตลาดอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือไทย
โดยนายกฯขอให้ขยายการลงทุนการค้าในไทย ขอบคุณการถ่ายทอดเทคโนโลยี R&D สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ จะเป็นโอกาสของบริษัทในการร่วมกันพัฒนาในกรอบความถี่วิทยุและเส้นทาง (Belt and Road Initiative-BRI) หรือ BRI ซึ่งบริษัทกำลังมองหาสถานที่ผลิต หรือโรงงานการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง แม้แต่รถยนต์ EV
ทั้งนี้ XIOMI ยินดีที่จะขยายการผลิตชิ้นส่วน electronics ต่าง ๆ ในไทยสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท และนำสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะการผลิตของแรงงานไทยควบคู่กับการ training เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือและมีทักษะ
6.NORINCO เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของจีน
7.Huawei ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เคยไปเจรจากับประธานกรรมการบริหารหัวเว่ย คลาวด์ ไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน เพื่อจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีคลาวค์ร่วมกัน รวมถึงนำเสนอเทคโนโลยี AI สำหรับการเกษตร ที่ปรับเปลี่ยนจากเทคโนโลยีเชิงรับมาเป็นเทคโนโลยีเชิงรุก เพื่อใช้ในการสืบค้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินและสภาพอากาศ เพื่อการวางแผนการเพาะปลูก เก็บข้อมูลผลผลิตที่ผ่านมา รวมถึงใช้ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้เป็น Smart Tourism และการพยากรณ์อากาศที่มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
ขณะที่การพัฒนาบุคลากร ยินดีที่จะส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลในไทยโดยการจัดตั้ง Huawei ASEAN Academy (Thailand) เพื่อสร้างนักพัฒนาไอซีที (ICT Talent) รองรับยุค Thailand 4.0 โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากร 50,000 คน ในระยะเวลา 5 ปี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเข้าสู่ดิจิทัล และยกระดับให้กับอุตสาหกรรมไอซีทีพร้อมทั้งรองรับการเป็นศูนย์กลางของไทยในภูมิภาคในด้าน AI และ Cloud
8.tencent ธุรกิจด้านการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร รวมถึงธุรกิจเกม และธุรกิจความบันเทิง อาทิ Tower of Fantasy, PUBG MOBILE, Dragon Nest II : Evolution และ Goddess of Victory : NIKKE, JOOX, Sanook.com ในประเทศไทย
9.CHEC หารือกับ Mr. Wang Tongzhou Chairman บริษัท CHEC ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างในโครงสร้างสาธารณูปโภคใหญ่ที่สุดของจีน โดยดำเนินกิจการในประเทศไทยมายาวนาน ภายใต้ชื่อจดทะเบียนบริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด ตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งประกอบธุรกิจก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการขนส่ง และการให้บริการคำปรึกษาด้านวิศวกรรม ทั้งนี้ ได้เสนอความร่วมมือของบริษัท 1.ทางหลวงและระบบราง เฟส 3 ของแหลมฉบัง ดำเนินไปด้วยดี มีแผนผนวกท่าเรือ เมือง และนิคมเข้าด้วยกัน 2.โครงการ landbridge
ทั้งนี้ นายกฯยินดีหากจะเข้ามามีส่วนร่วมใน landbridge ซึ่งมีโครงการสร้างและขยายสนามบินด้วย จึงขอให้บริษัทได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของไทย อาทิ กระทรวงคมนาคม
สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของไทย landbridge ท่าเรือ โครงการรถไฟขอให้คุยกับ BOI ในการเข้ามาลงทุน เพื่อขอรับสิทธิพิเศษการลงทุนตามนโยบาย พร้อมกับเชิญให้ regional office ในไทยเพื่อประโยชน์ยิ่งขึ้น
10.Geely นายกฯได้หารือกับ Mr. Daniel li CEO บริษัท Geely ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ EV จากจีน ซึ่งมีแผนจะนำรถ EV Pick up ไปจำหน่ายในไทยในเดือนตุลาคม 2566
ทั้งนี้ นายกฯเห็นว่ายังไม่มีผู้นำตลาดรถกระบะไฟฟ้าภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสดีของบริษัทที่จะเข้ามาทำตลาดในไทยในฐานะผู้นำตลาดรถกระบะไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัทผลิตรถยนต์ EV ทั้งระบบครบวงจร โดยไทยยินดีเสนอสิทธิพิเศษการลงทุนและอำนวยความสะดวก
โดยไทยมีศักยภาพรองรับ และเป็น Detroit of Asia อยากเชิญชวนบริษัท มาผลิตรถ EV ทั้งระบบ ตั้งแต่อะไหล่ เครื่องยนต์ จนถึงการประกอบรถยนต์ เพื่อส่งออก โดยบริษัทตั้งเป้าผลิตรถซีดานปีละ 100,000 คันต่อปี แต่หากรวมรถประเภทอื่นจะถึง 200,000 คันต่อปี
11.EVE Energy โดยนายกฯได้หารือกับ Mr. Liu Jincheng, Chairman Founder, EVE Energy ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนา ผลิต และจำหน่ายแบตเตอรี่ ลำดับที่ 3 ของจีน และติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก (วัดจากอัตราการติดตั้งและการให้บริการ) ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาขยายการลงทุน โดยสนใจใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกสำหรับตลาดอาเซียนและโอเชียเนีย
ทั้งนี้ EVE Energy สนใจไปตั้งโรงงานในไทย เนื่องจากการทำงานและนโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าโครงการผลิตแบตเตอรี่จะยื่นการลงทุนภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน
โดยนายกฯกล่าวว่า ไทยมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนด้าน infrastructure ที่สอดคล้องตาม BRI ไทยกำลังดำเนินโครงการ landbridge ที่จะทำให้การขนส่งสินค้าไปทั่วโลกสะดวกยิ่งขึ้น
12.GDS Holdings Limited นายกฯ หารือ กับ Ms. Jamie Khoo, Chief Operating Officer, GDS ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสูง (High Performance Data Centers) เพื่อช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ บนเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทมีเป้าหมายใช้พลังงานสะอาดในการประกอบกิจการทั้งสิ้นในปี 2573 สำหรับกิจการ Data Center ในจีน
โดย GDS กำลังพิจารณาการลงทุนในไทย เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจการลงทุน ได้แก่ มีไฟฟ้าที่เพียงพอในราคาที่แข่งขันได้ พลังงานสะอาดที่จะใช้ และระบบ security and connectivity ทั้งนี้ นายกฯ ได้ให้ BOI ดูแลเรื่องการลงทุนของบริษัทให้ราบรื่น และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ