
เพียงแค่ 24 ชั่วโมง หลังจากเปลี่ยนพรรค-ปรับเพจ-เปิดเว็บใหม่ จากพรรคก้าวไกล มาเป็นพรรคประชาชน ราว 10.00 น.ของวันที่ 9 สิงหาคม
ตั้งเป้ารับสมัครสมาชิกพรรคให้ทะลุ 100,000 คน และตั้งเป้ารับเงินบริจาคให้ครบ 10,000,000 บาท ให้เร็วที่สุด แต่เพียงไม่กี่ชั่วโมง ยอดเงินบริจาคก็ไหลเป็นเทน้ำเทท่า จนพรรคประชาชน ตั้งเป้าหมายใหม่สู่ 20 ล้านบาท
แต่ใดๆ ก็ตาม เงินของพรรคประชาชน ยังไม่อาจเทียบเท่ากับเงินบริจาคของพรรคก้าวไกล ที่ได้รับก่อนถูกยุบพรรค ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยพรรคก้าวไกล คำนวณจาก (1) เงินบริจาคภาษีเงินได้บุคคลประจำปีที่ประชาชนกรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. (2) ค่าบำรุงพรรคการเมืองที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี (3) (สำหรับเงินจัดสรรในปี 2567) คะแนนเสียงเลือกตั้ง สส.ในปี 2566 และ (4) จำนวนสาขาพรรคการเมือง
ปี 2563 = 358,009.71 ล้านบาท
ปี 2564 = 4,033,346.22 ล้านบาท
ปี 2565 = 30,145,874.86 ล้านบาท
ปี 2566 = 47,454,254.82 ล้านบาท
ปี 2567 = 60,144,034.38 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากตัวเลขการบริจาค เทียบระหว่างปี 2565 กับปี 2566 พรรคก้าวไกล ได้รับเงินอุดหนุนพรรคการเมืองสูงเพิ่มขึ้น 57.42% และเมื่อเทียบกับระหว่างปี 2564 กับปี 2565 มีคนบริจาคเพิ่มขึ้นถึง 117%
ขณะที่ “งบการเงิน”ระบุรายได้ ของพรรคก้าวไกล ที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปีล่าสุด คือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งปรากฏบนเว็บไซต์ของ ได้แสดงสถานะทางบัญชีของพรรคไว้ดังนี้
เงินก้าวไกล หลังหักบัญชี โอนเข้ามูลนิธิคณะก้าวหน้า
อย่างไรก็ตาม หลังจากการถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค พรรคก้าวไกล ต้องปฏิบัติตาม มาตรา 95 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ระบุขั้นตอนการชำระบัญชีกรณียุบพรรคหรือเสินสภาพ ดังนี้
1.ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งบัญชีและงบแสดงฐานะทางการเงิน รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมืองภายใน 30 วันนับแต่วันที่พรรคการเมืองสิ้นสภาพหรือยุบ
และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน ถ้าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 180 วันโดยแจ้งให้ กกต.ทราบ
2.ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่จนกว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จ แต่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพหรือยุบมิได้
3.ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองหรือจำหน่ายทรัพย์สินของพรรคการเมืองเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีได้ ในกรณีที่พรรคการเมืองนั้นไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีให้คณะกรรมการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งให้ทราบ
(กล่าวคือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจในการขายทรัพย์สินของพรรค เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเคลียร์หนี้สินของพรรค หรือ ในกรณีที่พรรคการเมืองที่ถูกยุบไม่มีเงินหรือทรัพย์สินพอที่จะเคลียร์หนี้ หรือ ชำระบัญชีได้ ให้ กกต.สั่งจ่ายเงินกองทุนจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองแทน ตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแจ้งไว้ได้)
4.ในการชำระบัญชีเมื่อได้หักหนี้สินและค่าใช้จ่ายแล้วยังมี “ทรัพย์สินเหลือ” อยู่เท่าใดให้โอนให้แก่องค์การสาธารณกุศลตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ ถ้าในข้อบังคับไม่ได้ระบุไว้ให้ทรัพย์สินที่เหลือนั้นตกเป็นของกองทุน
ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีของพรรคการเมืองด้วยโดยอนุโลม
เมื่อพลิกดู ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ที่ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2565 ที่มี นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
ได้มีการแก้ไขข้อบังคับพรรกค ข้อ 146 ของข้อบังคับพรรคก้าวไกล 2563 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ.2563) ที่ระบุว่า “เมื่อพรรคเลิก และมีการชำระบัญชีโดยหักหนี้สินและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้โอนแก่มูลนิธิพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนคนหนุ่มสาวทั้งสิ้น”
โดยแก้ถ้อยคำ เปลี่ยนจากการ “โอนแก่มูลนิธิพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนคนหนุ่มสาวทั้งสิ้น” มาเป็น “โอนแก่มูลนิธิคณะก้าวหน้าทั้งสิ้น”
ซึ่งประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิคณะก้าวหน้า” ระบุชื่อประธานกรรมการ คือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เป็นประธานกรรมการมูลนิธิคณะก้าวหน้า มีนางสาวกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ เป็น กรรมการและเลขานุการ